ทำความรู้จักเจ้าชายแห่งซาอุฯ เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน เจ้าชายผู้ร่ำรวยตัวจริงแห่งซาอุฯ พร้อมเปิดกรุคดีกล่าวหาชื่อดังของการสั่งลอบสังหารนักข่าวที่วิจารณ์ราชวงศ์
เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารซาอุฯ ได้เชิญพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเยือนซาอุฯเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ Springnews ชวนย้อนดูผลงานที่ผ่านมาของเจ้าชายว่าทำไมถึงมีชื่อเสียงโด่งดัง
มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบียพระองค์นี้มีพระชนมายุเพียง 36 พรรษา ประสูติเมื่อวันที่ 31 ส.ค.1985 เป็นพระโอรสองค์โตของเจ้าชายซัลมาน บิน อับดุล อาซิซ อัล ซาอุด และฟาห์ดาห์ บินท์ ฟาลาห์ บิน ซัลตาน ชายาองค์ที่ 3
ก่อนหน้านี้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาพิเศษของพระบิดา และทรงดำรงตำแหน่งผู้ว่าการกรุงริยาดเมื่อปี 2009 จนกระทั่งก้าวเข้าสู่อำนาจเต็มตัวเป็นมกุฎราชกุมารเมื่อปี 2013
จนกระทั่งปี 2015 หลังกษัติรย์อับดุลลาห์ บิน อาซิซ สิ้นพระชนม์ ทำให้เจ้าชายซัลมานขึ้นครองราชย์แทนทันที
เส้นทางชีวิตเจ้าชายซาอุฯ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด ปลด สตีฟ บรูซ กุนซือแล้ว หลังจากร่วมงาน เจ้าของใหม่ 13 วัน
เทียบความรวยเจ้าของสโมสรฟุตบอล หลังโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ซื้อนิวคาสเซิล
โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน เจ้าของนิวคาสเซิลคนใหม่ คือใคร รวยแค่ไหน
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ไม่มีพรรคการเมือง หากมีเรื่องผิดกฎหมายใหญ่ร้ายแรง กษัตริย์สามารถเป็นผู้มีพระราชอำนาจสูงสุดในการบังคับให้รับโทษตามกฎหมายตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
เจ้าชายได้รับคะแนนเสียงจากในประเทศของตนเองอย่างล้นหลาม มีการรายงานจากเจ้าหน้าที่ภายในประเทศว่า มีผู้สนับสนุนพระองค์ให้คะแนนความนิยมถึง 94.4% แต่ทั้งหมดนั้นคือมุมมองของภายในประเทศว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางทีดีขึ้น ในทางกลับกันในมุมของต่างประเทศและหลายๆชาติกลับมองเห็นตรงกันข้าม หรือที่โลกตะวันตกเรียกกันว่า MBS เพราะคดีอื้อฉาวของพระองค์ ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้สั่งลอบสังหารนักข่าวของวอชิงตันโพสต์ เมื่อปี 2018 และสำหรับไทยเองที่มีการพูดถึงมากที่สุดคือเรื่องของแรงงานไทยขโมยอัญมนีล้ำค่าจากวังของเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด อัล ซะอูด (Faisal bin Fahd Al Saud) พระราชโอรสองค์โตในสมเด็จพระราชาธิบดีฟาฮัดแห่งซาอุดิอาระเบีย จึงทำให้ความสัมพันธ์ไทย-ซาอุฯ ขาดสะบั้นลง
เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารซาอุฯ ผู้ที่สหรัฐฯคว่ำบาตรว่าเป็นบุคคลที่ไม่อยากยุ่งด้วย แต่ยังคงไว้ซึ่งการรักษาสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ย้อนกลับไปปี 2018 เรื่องราวของคดีดังที่สำนักข่าวทั่วโลกทำการตีแผ่และสืบสวนออกมาเรื่องการหายตัวไปอย่างลึกลับของนักข่าวชายคนหนึ่ง คือ นายจามาล คาชอกกี (Jamal Khashoggi) นักข่าวของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์
นักข่าววัย 59 ปีรายนี้เคยเป็นที่ปรึกษาให้กับรัฐบาลซาอุดิอาระเบียและใกล้ชิดกับราชวงศ์เสมอมา แต่เขาไม่เคยได้รับความโปรดปรานแม้แต่น้อยและต้องลี้ภัยในสหรัฐฯเมื่อปี 2017
คาชอกกี นักวิจารณ์ประจำซาอุดีอาระเบีย หายสาบสูญไปจากสถานกงสุลในอิสตันบูล ประเทศตุรกี โดยเมื่อวันที่ 28 ก.ย. เขาเดินทางเพื่อไปรับเอกสารรับรองว่าเขาหย่าขาดจากภรรยาแล้ว แต่เขาได้รับแจ้งให้กลับมาใหม่
นายคาชอกกีกลับไปที่นั่นอีกในวันที่ 2 ต.ค. เมื่อเวลา 13.14น. ตามเวลาท้องถิ่น เขาไปถึงก่อนเวลานัด 13.30 น.เขานำโทรศัพท์มือถือสองเครื่องของเขาให้กับฮาทีเจอ เจงกิซ (Hatice Cengiz) คู่หมั้นชาวตุรกีของเขา และ บอกเธอว่า ถ้าเขาไม่กลับออกมา ให้โทรหาที่ปรึกษาของประธานาธิบดีเรเจป ทายยิป แอร์โดอัน ของตุรกี ภรรยาของเขารอด้านนอกนานกว่า 11 ชั่วโมง แต่เขาไม่ออกมา เธอจึงตัดสินใจเดินเข้าไปในช่วงเช้าของวันที่ 3 แต่ก็ไม่พบร่องรอยของเขาอีกเลย
รายงานข่าวกรองของสหรัฐฯ กล่าวหา โดยอ้างว่า โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารซาอุฯ คือผู้อนุมัติให้สังหารนายจามาล คาซอกกี แต่พระองค์ทรงปฏิเสธไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆทั้งสิ้นกับเหตุการณ์ดังกล่าว
ย้อนกลับไปยังเหตุการณ์การลอบสังหารนายจามาล คาซอกกี (Jamal Khashoggi) นักข่าวของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ แหล่งข่าวระบุว่า รายงานข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ หรือ CIA สรุปคดีดังกล่าวมาให้ โดยอ้างว่า มกุฎราชกุมารซาอุฯ ได้ทรงอนุมัติ และ อาจทรงสั่งการให้สังหารนายคาชอกกี ผู้เขียนบทความวิจารณ์ราชวงศ์ซาอุฯอย่างรุนแรงลงในหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์
VOA ประเทศไทยรายงานว่า การเปิดเผยรายงานฉบับนี้คือส่วนหนึ่งของการปรับความสัมพันธ์กับรัฐบาลซาอุฯ ภายใต้รัฐบาลสหรัฐฯชุดใหม่ให้กลับมาอยู่ในแนวทางเดิม หลังจากมีประวัติด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลซาอุฯ และการแทรกแซงสงครามในเยเมน ถูกเมินเฉยจากรัฐบาลอเมริกันชุดก่อนมาหลายปี
จามาล คาชอกกี หายตัวไปอย่างมีเงื่อนงำเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2018 ระหว่างที่เดินทางเข้าไปสถานกงสุลซาอุฯ ที่นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี โดยภายหลังเจ้าหน้าที่ตุรกี เปิดเผยรายงาน ที่อ้างว่านักข่าววัย 59 ปีผู้มักวิจารณ์ราชวงศ์ซาอุฯ ผู้นี้ถูกแขวนคอและถูกหั่นศพเป็นชิ้นๆภายในสถานกงสุลซาอุฯแต่ไม่มีใครพบชิ้นส่วนร่างกายของเขา
ในคอลัมน์แรกของคาชอกกีที่เขียนให้กับวอชิงตันโพสต์ เขาระบุว่า เขากลัวถูกจับเนื่องจากการที่มกุฎราชกุมารแห่งซาอุฯทรงปราบปรามผู้ที่แข็งข้อ นับตั้งแต่พระองค์ทรงขึ้นมาเป็นองค์รัชทายาทลำดับแรก ในการสืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน เขาเขียนคอลัมน์นี้เมื่อตอนเขาลี้ภัยในสหรัฐฯเมื่อปี 2017
รายงานจากเจ้าหน้าที่ตุรกีอ้างว่า เขาถูกสายลับซาอุฯสังหารที่สถานกงสุลและถูกจัดการศพ แต่ตุรกีไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือในการพิสูจน์ข้อสันนิษฐานนี้ นอกจากนี้หนังสือพิมพ์ซาบาห์ของตุรกีที่สนับสนุนโดยรัฐบาลรายงานว่า มีทีมสายลับของวาอุฯต้องสงสัย 15 คนที่เดินทางเข้าและออกนครอิสตันบูลในวันที่นายคาชอกกีหายตัวไป
ส่วนเรื่องของการสืบสวนและไทม์ไลน์นั้นจะเป็นอย่างไร มีรายละเอียดอะไรบ้าง ลองไปอ่านต่อได้ที่ https://www.bbc.com/thai/international-45840702
ที่มาข้อมูล
https://www.bbc.com/thai/international-45840702