นักวิจัยชาวฮังการีรางานผลทดลองว่า สุนัขก็เหมือนเจ้าของ มันสามารถแยกได้ว่าใครพูดภาษาแม่หรือพูดภาษาต่างประเทศ และตัวที่มีจมูกยาวมักเข้าใจได้รวดเร็วกว่าสุนัขตัวอื่น
รายงานฉบับนี้อาจไม่ได้หวือหวามากสำหรับผู้เลี้ยงสุนัขที่เข้าใจพฤติกรรมของพวกมันได้อย่างดี ว่ามันสามารถตอบสนองการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับสัตว์ได้ และเป็นถือเป็นสัตว์ที่มีนิสัยซื่อสัตย์ รักเจ้าของ เพราะเราคือโลกทั้งใบของเขา แต่งานวิจัยชิ้นนี้เป็นตัวบ่งชี้ถึงความชัดเจนในความสามารถของสุนัขว่า จริงๆแล้วสุนัขสามารถแยกการสื่อสารออกว่าใครพูดภาษาแม่และใครพูดภาษาอื่นๆ (ภาษาต่างประเทศ) เหมือนกับมนุษย์เราที่แยกแยะออกนั่นแหละ ว่าใครพูดภาษาไทย ใครพูดภาษาอังกฤษหรือใครพูดภาษาจีน
ผลการแสกนสมองจากสุนัข 18 ตัว แสดงให้เห็นว่าสมองของลูกสุนัขบางส่วนมีความสว่างแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าสุนัขได้ยินภาษาที่คุ้นเคยหรือภาษาอื่น รายงานนี้ถูกตีพิมพ์ลงใน Neurolmage
Laura Cuaya นักวิจัยดุษฎีบัณฑิตของ Neuroethology of Communication Lab แห่งมหาวิทยาลัย Eötvös Loránd ในเมืองบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี กล่าวว่า “สุนัขจะรู้สึกดีขณะที่อยู่สภาพแวดล้อมที่รายล้อมไปด้วยมนุษย์”
“เราพบว่าพวกมันรู้มากกว่าที่คาดไว้เยอะมากเกี่ยวกับภาษาของมนุษย์ แน่นอนว่า ความสามารถในการเป็นผู้เรียนทางสังคมที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้พวกมันได้เปรียบในฐานะสายพันธุ์ที่เข้าใจมนุษย์มากที่สุด”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทาสแมวระวังตัวให้ดี ก๊วนเหมียวเริ่มปฏิบัติการเผาบ้านมนุษย์แล้วนะ
กุญแจดอกสำคัญทำตลาดออนไลน์ธุรกิจอาหารน้องหมา แมว สไตล์ Buzz SEO สำคัญมาก !
นกแอร์ เปิดเที่ยวบินพิเศษพร้อมสัตว์เลี้ยง ดอนเมือง-เชียงใหม่
สุนัข แมว ติดโควิด19 แพร่เชื้อต่อได้ไหม รักษาอย่างไร อันตรายแค่ไหน?
ดูเหมือนว่าสุนัขจะรู้จักภาษาแม่ของเจ้าของของมันโดยพิจารณาจากเสียงโดยรวม เนื่องจากการทดลองไม่ได้ใช้คำที่สุนัขน่าจะคุ้นเคยเลย Cuaya กล่าว
“เราพบว่าสมองของสุนัขสามารถตรวจจับคำพูดและแยกแยะภาษาได้โดยไม่ต้องฝึกหรืออบรมอย่างชัดเจน ฉันคิดว่าสิ่งนี้มันสะท้อนให้เห็นว่าสุนัขสามารถปรับตัวเข้าหามนุษย์ได้ง่ายขนาดไหน”
Cuaya ได้รับแรงบันดาลใจให้ทำวิจัยเรื่องนี้เมื่อตอนเธอกับสุนัขคู่ใจอย่าง kun-kun ของเธอต้องย้ายที่อยู่จากเม็กซิโกไปฮังการี ก่อนหน้านี้ Cuaya เคยพูดกับ kun-kun เป็นภาษาสเปนเท่านั้นและเธอแค่สงสัยว่า คนในบูดาเฟสต์พูดภาษาอื่นหรือไม่
เพื่อดูว่าสุนัขมีความสามารถโดยธรรมชาติในการแยกความแตกต่างระหว่างภาษาที่มนุษย์พูดได้หรือไม่ นักวิจัยจึงหันไปหากลุ่มสุนัขเลี้ยงที่มีอายุตั้งแต่ 3 -11 ปี โดยมีโกลเดนรีทีฟเวอร์ 5 ตัว บอร์เดอร์ คอลลี่ 6 ตัว ออสเตรเลียนเชพเพิร์ด 2 ตัว ลาบราดูเดิ้ล 1 ตัว ค็อกเกอร์ สแปเนียล 1 ตัว และพันธุ์ผสม 3 ตัว ซึ่งได้รับการฝึกฝนให้ทำตามคำสั่งได้เพื่อให้มันอยู่นิ่งระหว่างอยู่ในเครื่องแสกน MRI ภาษาแม่ของสุนัข 16 ตัวคือภาษาฮังการีและอีก 2 ตัวคือภาษาสเปน
ในการทดลอง Cuaya และเพื่อนร่วมงานของเธอมีภาษาแม่ทั้งภาษาฮังการีและภาสเปน พวกเขาได้อ่านประโยคจากบทที่ 21 ของนอทานเรื่อง “เจ้าชายน้อย” ในขณะที่สุนัขอยู่ในเครื่องแสกน โดยที่พวกมันรวมถึงผู้อ่านก็ไม่เคยได้อ่านหรือรู้จักเรื่องราวนี้มาก่อน
เมื่อ Cuaya และเพื่อนร่วมงานของเธอเปรียบเทียบการแสกน fMRI จากการอ่านนิทาน 2 ภาษา นักวิจัยพบรูปแบบกิจกรรมที่แตกต่างกันใน 2 ส่วนของสมองที่มีความเกี่ยวข้องทั้งในมนุษย์และในสุนัข ในการถอดรหัสความหมายของคำพูดและเนื้อหาที่ก่อให้เกิดอารมณ์ร่วม
เธอสงสัยว่าสุนัขที่มีอายุมากกว่ามีผลลัพธ์ที่ต่างออกไป เพราะว่าพวกเขามีเวลาฟังภาษาแม่ของเจ้าของมากกว่า แต่เธอก็ยังหาคำตอบไม่ได้ว่าทำไมสุนัขที่มีจมูกยาวสามารถแยกแยะภาษาคนได้ดีกว่าหมาตัวอื่นๆ
เจ้าของควรได้อะไรจากการศึกษานี้?
“อย่างที่เจ้าของหลายคนทราบกันอยู่แล้วว่า สุนัขเป็นสัตว์สังคมที่สนใจทุกสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวของพวกมัน ผลลัพธ์ของเราแสดงให้เห็นว่าสุนัขเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมทางสังคมของพวกมัน แม้ว่าเราจะไม่ได้สอนพวกมันโดยตรงก็ตาม ดังนั้นเพียงแค่ให้สุนัขของคุณมีส่วนร่วมในครอบครัวของคุณต่อไปก็จะเป็นโอกาสที่จะให้พวกเขาได้เรียนรู้มากขึ้น”
การค้นพบนี้สร้างความประหลาดใจให้กับ Dr.Katherine Houpt ศาสตราจารย์กิตติคุณ James Law ในสาขาเวชศาสตร์พฤติกรรมที่วิทยาลัยสัตวแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยคอร์เนล (Cornell)
“ฉันไม่รู้ว่าพวกเขาจะตอบสนองภาษาต่างๆแตกต่างกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฉันมักคิดเสมอว่าการใช้เสียงสูงต่ำจะมีความหมายมากกว่าคำพูด สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าพวกเขารู้แม้ว่าคุณไม่ได้พูดภาษาที่พวกเขาได้เรียนรู้มา การเรียนรู้ความแตกต่างระหว่างภาษาอาจมีความสำคัญต่อสุนัขเฝ้าบ้าน [ตอนที่มันตื่นตัว] สุนัขมักจะสงสัยคนที่พูดภาษาอื่นๆ”
“สำหรับฉัน สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือสุนัขโตและสุนัขจมูกยาวจะเข้าใจภาษาได้ดีกว่า” มีข้อมูลเสริมจากงานวิจัยครั้งนี้ว่า สำหรับสุนัขที่มีจมูกยาวอาจเป็นรูปร่างและขนาดหัวของมัน ที่มีความคล้ายคลึงในหมู่สุนัขเลี้ยงแกะซึ่งสามารถเข้าใจสิ่งที่คนเลี้ยงแกะหรือเจ้านายของมันพูดได้อย่างรวดเร็ว
สรุปง่ายๆก็คือ สุนัขเรียนรู้ภาษาและแยกแยะได้จากการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมันในสภาพแวดล้อมที่มันอยู่ เช่น มันอยู่ในการดูแลเลี้ยงดูโดยคนไทยมันก็จะเข้าใจว่าภาษาแม่ของคุณคือภาษาไทย แต่ถ้าใครมาพูดภาษาอังกฤษมันก็แยกได้ว่าอันนี้ไม่ใช่ภาษาไทยหรือภาษาแม่ที่มันเรียนรู้มา และมันจะระมัดระวังมากขึ้นจากภาษาที่ไม่คุ้นเคย ถ้ามันอยู่ในสภาพแวดล้อมของภาษาแบบไหนมันก็จะเข้าใจภาษานั้นๆได้ดีนั่นเอง
ที่มาข้อมูล
https://www.livescience.com/dogs-differentiate-human-languages