พ้นช่วงวันหยุดปีใหม่มาหมาดๆ มีแนวโน้มสูงมากว่าโควิด-19 จะระบาดในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย แต่การรับมือโควิดระลอกนี้ ภาคสาธารณสุขเห็นอะไร Omicron น่ากลัวมั้ย กลุ่มอาการของผู้ป่วยแบบใดที่ให้กักตัวที่บ้าน กักตัวในชุมชน หรือต้องส่งแอดมิท มาดูกัน
ต้องบอกก่อนเลย อย่ามองข้ามโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron ว่าเป็นเชื้อที่มีฤทธิ์อ่อน ติดแล้วอาการไม่หนัก สร้างภูมิได้ เพราะในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อินเดีย เกาหลีใต้ เริ่มมีเคสเสียชีวิตจาก Omicron แล้ว
อัปเดตสถานการณ์โควิด-19 และการแพร่ระบาดของ Omicron ในไทย
สำหรับสถานการณ์โควิดวันนี้ ทางกระทรวงสาธารณสุขแถลงข่าวผ่านเพจเฟซบุ๊กในประเด็น อัปเดตสถานการณ์โรคโควิด-19 และสายพันธุ์โอมิครอน โดย นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นำสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นประเด็นสำคัญมาบอก ดังนี้
Omicron จะเริ่มส่งผลให้จำนวนการติดเชื้อในภาพรวมมากขึ้น ยังไม่ส่งผลต่อจำนวนการเสียชีวิต
การติดเชื้อโควิด-19 วันนี้ ยังเป็นสายพันธุ์ Delta ส่วนใหญ่ (70-80%) ดังนั้น ต้องระวังกลุ่ม 608 ให้มาก เพราะยังมีโอกาสป่วยหนักและเสียชีวิต
การตรวจสายพันธุ์จะเริ่มใช้ระบบเฝ้าระวังปกติตามเกณฑ์ เพื่อประเมินสถานการณ์ ไม่ตรวจทุกราย
มีข้อมูลการศึกษาว่า ผู้ติดเชื้อบางส่วน ที่ติดเชื้อสายพันธุ์ Omicron จะมีภูมิคุ้มกันที่สามารถลบล้างฤทธิ์ (Neutralization) เชื้อสายพันธุ์ Delta ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีน
อาการแบบไหน รัฐให้แยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation)
เกณฑ์ในการพิจารณาผู้ป่วยโควิดในการ แยกกักตัวที่บ้าน (ฉบับวันที่ 30 ธันวาคม 2564) มีดังนี้
ในกรณีที่ไม่สามารถแยกกักตัวที่บ้านได้ ผู้ติดเชื้อทุกช่วงอายุสามารถ แยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) ได้ โดย
อัปเดตรอบด้านเกี่ยวกับสถานการณ์โควิดในประเทศไทย
การแยกกักตัวแบบ Home Isolation & Community Isolation ให้ดำเนินการตามนี้
สำหรับการรับผู้ป่วยโควิด-19 เข้ารักษาในโรงพยาบาล มีเกณฑ์ 5 ข้อ
1. เมื่อมีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส
2. หายใจเร็วกว่า 25 ครั้ง ต่อนาที
3. Oxygen Saturation <94%
4. มีโรคประจำตัวซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง หรือจำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
5. ตามดุลยพินิจของแพทย์
ความจริงวันนี้เกี่ยวกับผู้ป่วยโควิด
"เรากำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ไวรัสแพร่ได้เร็ว อาการไม่รุนแรง เพราะฉะนั้น กระบวนการรับมือเรื่องนี้อาจแตกต่างจากเดิมเล็กน้อย" นพ.ศุกภิจกล่าว
สรุปสถานการณ์โควิด-19 และข้อเสนอแนะ
ลองทบทวนดูว่า 2 ปีที่ผ่านมา คุณได้เรียนรู้อะไรจากสถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้นซ้ำๆ และวันนี้ จริงจังกับการป้องกันไม่ให้ตัวเอง ครอบครัว และเพื่อนร่วมโลกติดโควิด-19 มากพอหรือยัง?
.......................
ที่มา