svasdssvasds

เด็กติดโควิดมากขึ้น ผู้ใหญ่ต้องเตรียมความพร้อมด้านไหน ยังไง

เด็กติดโควิดมากขึ้น ผู้ใหญ่ต้องเตรียมความพร้อมด้านไหน ยังไง

กระทรวงสาธารณสุขประกาศว่า ยังพบการระบาดเป็นกลุ่มก้อน เช่น ในสถานประกอบการ ตลาด แคมป์คนงาน โรงเรียน ตอนนี้เราต้องตระหนักและจริงจังกับแผนรับมือผู้ติดเชื้อที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังปีใหม่ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เพราะถ้าเด็กติดโควิด โอกาสแพร่เชื้อต่อสูงมาก

ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดที่ยังต้องลุ้นว่า วันนี้ พรุ่งนี้จะมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอีกแค่ไหน โดยเฉพาะเด็กๆ ที่มีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนโหมดเป็น เด็กติดโควิด จำนวนมากในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า

ลองจินตนาการถึงแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในแง่บวกและแง่ลบกันก่อน แล้วมาดูว่า รัฐบาลกำหนดแนวทางรับมืออย่างไร ใช้ได้กับสิ่งที่จินตนาการไว้หรือไม่

ตรวจ - พิจารณา - รักษา เด็กติดโควิด

ถ้าดูจาก แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล ฉบับปรับปรุง วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การรักษา COVID-19 ในผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี ระบุว่า ผู้ติดเชื้อเข้าข่าย (probable case) ผู้ที่มีผลตรวจ ATK ต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ให้ผลบวก รวมผู้ติดเชื้อยืนยันทั้งผู้ที่มีอาการและไม่แสดงอาการ ให้ใช้ยาในการรักษาจำเพาะ โดยมีระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลเหมือนผู้ใหญ่ ดังนี้

Source : Pexels

1. ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ไม่มีอาการ แนะนำให้ดูแลรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์

2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยง แนะนำให้ดูแลรักษาตามอาการ พิจารณาให้ Favipiravir เป็นเวลา 5 วัน

3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยง หรือมีอาการปอดอักเสบเล็กน้อย แต่ยังไม่เข้าเกณฑ์ข้อ 4

- ปัจจัยเสี่ยง/โรคร่วมสำคัญ ได้แก่ อายุน้อยกว่า 1 ปี และภาวะเสี่ยงอื่นๆ เหมือนเกณฑ์ในผู้ใหญ่

- แนะนำให้ Favipiravir เป็นเวลา 5 วัน อาจให้นานกว่านี้ได้หากอาการยังมาก โดยแพทย์พิจารณาตามความเหมาะสม

อ่านเพิ่มเกี่ยวกับสถานการณ์เด็กติดโควิด

เด็กติดโควิดมากขึ้น ผู้ใหญ่ต้องเตรียมความพร้อมด้านไหน ยังไง

4. ผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการปอดอักเสบ หายใจเร็วกว่าอัตราการหายใจตามกำหนดอายุ ดังนี้

  • 60 ครั้ง/นาที ในเด็กอายุ < 2 เดือน
  • 50 ครั้ง/นาที ในเด็กอายุ 2-12 เดือน
  • 40 ครั้ง/นาที ในเด็กอายุ 1-5 ปี
  • 30 ครั้ง/นาที ในเด็กอายุ > 5 ปี

- แนะนำให้ Favipiravir เป็นเวลา 5-10 วัน

- พิจารณาให้ Remdesivir หากเป็นมาไม่เกิน 10 วัน และมีปอดอักเสบที่ต้องการการรักษาด้วยออกซิเจน หรือมีอาการรุนแรง

- แนะนำให้ Corticosteroid ดังตารางที่ 1 (รายละเอียดอยู่ในลิงก์ ตารางที่ 1 ขนาดยารักษา COVID-19 ที่แนะนําในผู้ใหญ่และเด็ก)

Home Isolation สำหรับเด็กติดโควิดที่เป็นผู้ป่วยสีเขียว

เตรียมความพร้อมรองรับผู้ป่วย

การเตรียมความพร้อมเรื่องยา เวชภัณฑ์ ฯลฯ

  1. สนับสนุนการเตรียมยาน้ำ Favipiravir โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
    • Clip VDO แนวทางการเตรียมน้ำยา Favipiravir
    • การสนับสนุนยาน้ำ Favipiravir (ในระยะแรก)
    • ให้ความรู้ด้านการดูแลผู้ป่วยเด็กกับเครือข่าย Home Isolation (HI) & Community Isolation (CI)
  2. ประสานการจัดเตรียมเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา เช่น Mask สำหรับผู้ป่วยเด็ก
  3. Community Isolation สำหรับผู้ป่วยเด็กที่ต้องมีผู้ปกครองดูแล (อย่างน้อยโซนละ 1 แห่ง และจัดระบบส่งต่อโรงพยาบาลเมื่อมีอาการรุนแรง)
  4. จัดเตรียมเตียงระดับ 3 (สีแดง) สำหรับผู้ป่วยเด็กที่มีอาการรุนแรง

Community Isolation (CI) สำหรับเด็กก็มีนะ

ถ้าผู้ป่วยเด็กอยู่ที่บ้านไม่ได้เพราะไม่มีพื้นที่แยกกักตัว สถานที่ที่หน่วยงานภาครัฐเตรียมไว้ให้เข้าพักรักษาตัว คือ Community Isolation @เกียกกาย ณ ศูนย์สร้างสุขทุกวัย เกียกกาย โดย สถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชินี

โรงพยาบาลสนามราชานุกูล

แนวทางการทำงาน Cl : สถาบันสุขภาพเด็ก

จัดทีมแพทย์

  • 1st Consultant : Caregiver
  • ทีมดูแล : Caremanager

กรณีมีอาการทางคลินิกเปลี่ยนแปลง แย่ลง

  • Activate Caregiver & Caremanager
  • ทีมแพทย์พิจารณาการส่งตัวเข้าโรงพยาบาล (อาการคงที่ - ศูนย์นำส่ง, อาการไม่คงที่ - รถพยาบาลไปรับ)

เอกสาร

  • เอกสารข้อมูลผู้ป่วย, ประวัติ โรคประจำตัว ฯลฯ
  • การยินยอม (Consent) เพื่อการรักษา / เพื่อทำหัตถการ

การติดตามอาการรายวัน

  • Routine care : program weSAFE
  • ฉุกเฉิน : LINE, โทรศัพท์

เกณฑ์ที่รับเข้ารักษา (Criteria Admit) ใน CI

  • เด็กอายุมากกว่า 8 ปี ช่วยเหลือตัวเองได้ ทำกิจวัตรในชีวิตประจำวันได้
  • ไม่มีผู้ปกครองดูแล
  • ไม่มีอาการ (เขียว) หรือมีอาการที่ควบคุมได้ (step down)
  • ไม่มีโรคประจำตัว หรือ ใช้ยาประจำ
  • ไม่เป็นโรคอ้วน

CI เพื่อเด็กพิเศษและครอบครัว

แผนรองรับสถานการณ์โอไมครอน ยังรวมถึงการดูแลเด็กพิเศษที่ติดโควิดและครอบครัวร่วมด้วย

  • กลุ่มเด็กพิเศษ ประเภทที่ 5, 6 และ 7 (พิการทางสติปัญญา พิการทางออทิสติก และพิการทางการเรียนรู้) อายุระหว่าง 2 - 25 ปี
  • เป็นสมาชิกในครอบครัวคนพิการ
  • มีอาการอยู่ในระดับเขียว

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดย กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
  • กรุงเทพมหานคร
  • สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย
  • กรมการแพทย์

สำหรับผู้ป่วยเด็กที่สงสัยกลุ่มอาการอักเสบหลายระบบ

แนวทางการรักษาผู้ป่วยเด็กที่สงสัยกลุ่มอาการอักเสบหลายระบบที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 (Multisystem Inflammatory Syndrome in Children (MIS-C) แนะนำให้อ่านรายละเอียดจากคำแนะนำของ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ที่ลิงก์ www.thaipediatrics.org

ถ้าดูสถานการณ์โควิด-19 ในเด็กอายุ 0-18 ปี ในประเทศไทย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน - 24 พฤศจิกายน 2564 มีเด็กติดโควิดสะสมยืนยัน 310,648 ราย ส่วนยอดผู้เสียชีวิตสะสม 59 ราย

โรงพยาบาลสนามราชานุกูลเพื่อเด็กพิเศษและครอบครัว

การดูแลสุขภาพจิตใน HI และ CI

ดูแลสุขภาพกายแล้ว ต้องดูแลสุขภาพจิตร่วมด้วย เพราะการที่ครอบครัวไหนมีเด็กติดโควิด ย่อมสร้างความกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง เพราะหากป่วยไข้ในช่วงเวลานี้ ไม่ว่าจะทางกายหรือใจก็สามารถส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในระยะยาวได้ทั้งสิ้น 

  • ประเมินความเครียดผู้ปกครองด้วยแบบประเมิน ST-5
  • ประเมินความเครียดของเด็กพิเศษผ่านการประเมินพฤติกรรม อารมณ์
  • การประเมินความพร้อมของครอบครัวในการดูแลเด็กพิเศษ
  • กิจกรรมการดูแลสุขภาพจิต : รายครอบครัว
  • สุขภาพจิตศึกษา : Stress management
  • สติพื้นฐาน : เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
  • สติใคร่ครวญ : การปรับตัวกับสถานการณ์โควิด สิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้น การรับมือกับสิ่งเลวร้าย
  • สติเป็นวิถี : การเตรี่ยมตัวกลับสู่ชุมชน
  • สรุปสิ่งดีๆ ก่อนจำหน่าย

คำแนะนำส่งท้ายสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิดในเด็กและครอบครัว

เด็กติดโควิดมากขึ้น ผู้ใหญ่ต้องเตรียมความพร้อมด้านไหน ยังไง

  • สอนให้เด็กล้างมือให้สะอาด สวมหน้ากากให้ถูกวิธี
  • ให้เด็กกินอาหารปรุงสุก นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ให้เด็กเล่นในบ้าน เว้นระยะห่าง ใกล้ชิดคนอื่นให้น้อยที่สุด
  • งดพาเด็กออกไปที่สาธารณะโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ควรดูแลอย่างใกล้ชิด
  • หากมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในบ้าน ให้แยกของใช้ส่วนตัว แยกพื้นที่จากคนในครอบครัว แยกรับประทานอาหาร
  • พ่อแม่ผู้ปกครองที่กลับมาจากการทำงาน ควรอาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที
  • ผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กไม่ควรออกไปนอกบ้าน ถ้าจำเป็นต้องออกไป เมื่อกลับมาถึงบ้านต้องอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า ก่อนมาเล่นกับเด็ก

...............................

ที่มา

related