คลายข้อสงสัยจากรายการโหนกระแส (23 ธ.ค. 64) ที่ ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา และ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา มาพูดคุยเกี่ยวกับโอไมครอนและวัคซีนโควิด SPRiNG จึงนำข้อมูลที่รับฟังในรายการมารวบประเด็นและสัมภาษณ์ ศ.นพ.ธีระวัฒน์เพิ่ม เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง
หลังจากดูรายการ โหนกระแส (23 ธ.ค. 64) ที่มี ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มาร่วมพูดคุยถึงความรุนแรงของเชื้อโอไมครอนและการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง ได้ความว่า
ความน่ากลัวของโอไมครอน
ร่างกายของเราสามารถสร้างภูมิคุ้มกันไวรัสโควิดได้ 2 ทาง นั่นคือ
ระบบภูมิคุ้มกันของร่ายกายมี 2 ระดับ
โอไมครอน แพร่กระจายในอากาศได้ (Airborne) ดูจากเคสที่เกิดขึ้นในฮ่องกงนักท่องเที่ยวชาวแคนาดากับแอฟริกันอยู่ห้องตรงข้ามกัน ไม่เคยคุยกัน แต่ชาวแคนาดาติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดียวกับชาวแอฟริกัน 100% อนุมานได้ว่า โอไมครอนแพร่กระจายในอากาศได้
“เปรียบโอไมครอนเหมือนกำแพง เชื้อกระโดดข้ามได้สูงมาก ภูมิคุ้มกันที่เรามีส่วนหนึ่งจะช่วยป้องกันเรา แต่เชื้อไม่ได้รุนแรงน้อยลง”
“ตอนนี้มีผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศ 100 กว่าเคส และจะแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วเพราะโอไมครอนจะกระจายไวกว่าเดลต้า คาดว่าหลังปีใหม่นี้ จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่อาจอยู่ในระดับร้อยหรือพันคนต่อวัน” ดร.อนันต์กล่าวในรายการ
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา เห็นด้วยกับสิ่งที่ ดร.อนันต์กล่าว เพราะความอันตรายของเชื้อพิสูจน์ให้เห็นแล้วในแอฟริกาใต้ แม้คนส่วนมากติดเชื้อตามธรรมชาติก็ยังติดเชื้อโอไมครอนอีกมหาศาล
ขณะที่ประเทศอังกฤษมีผู้รับวัคซีนจำนวนมาก แต่ก็มีผู้ติดเชื้อโอไมครอนประมาณ 71-73% ในด้านวินัยของคนไทยไม่แตกต่างจากอังกฤษมากนัก เป็นไปได้ว่า ภายในระยะเวลา 3 สัปดาห์ เราอาจได้เห็นผู้ป่วยรายใหม่อีกมากและอาจจะมากกว่าตอนเดลต้าระบาดถึง 3 เท่า
"กลุ่มเสี่ยงมากคือ คนที่มีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยหนัก หากติดเชื้อโอไมครอนหรือเชื้อหลุดเข้าไปในโรงพยาบาล อาจส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ"
"ไม่ว่าโควิดพันธุ์อะไร ต้องสวมหน้ากากและต้องตรวจ ATK แต่ ATK มีความแม่นยำ 50% ขึ้นอยู่กับความแม่นยำของแต่ละยี่ห้อด้วย ถ้าไวรัสไม่เยอะจริงบางยี่ห้อก็ตรวจไม่เจอ ในกรณีนี้ อาจจะหลุดหรือเจอแค่หางแถวไวรัส"
"ในต่างประเทศมีคนหนุ่มสาวที่ฉีดครบ 2 เข็มเริ่มมีอาการหนัก มีคนเป็นปอดบวมรุนแรง เราจึงต้องติดตามสถานการณ์วันต่อวัน และต้องติดตามในแต่ละพื้นที่ด้วย”
"วัคซีนโควิดทุกยี่ห้อที่ใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เกิดผลกระทบได้ แม้จะไม่มาก เราจึงวิจัยเรื่องการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง พบว่าใช้เวลากระตุ้นภูมิน้อยกว่า เช่น 1/10 ของโมเดอร์นา 1/3 ของไฟเซอร์ 1/5 ของแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีนที่เราฉีดเข้าชั้นผิวหนังจะเลี่ยงการอักเสบ ผ่อนหนักเป็นเบาได้ด้วย”
ศ.นพ.ธีระวัฒน์บอกเพิ่มอีกว่า การทดลองฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังสามารถกระตุ้นภูมิได้ใกล้เคียงกับคนที่ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ และยกตัวอย่าง The Senizens สถานพยาบาลของเอกชนว่า พยาบาล 1 คน สามารถฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังให้ผู้รับวัคซีนได้ถึงวันละ 400 คน
"ถามว่าเราจะขอฉีดแบบนี้ได้มั้ย กระทรวงฯ ไม่สั่ง ประชาชนก็ไม่มีทางเลือก"
Q&A กับหมอธีระวัฒน์
SPRiNG : ให้คุณหมอช่วยเปรียบเทียบเหตุและผลของการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
หมอธีระวัฒน์ : ไม่ใช่ผู้ที่ฉีดวัคซีนทุกคนจะได้รับผลกระทบ แต่เนื่องจากมีผู้ป่วยหลายรายได้รับผลกระทบเมื่อฉีดวัคซีนเข้ากล้าม บางรายมีอาการหนัก บางรายมีอาการอักเสบในอวัยวะหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นสมอง เส้นประสาท กล้ามเนื้อหัวใจ บางรายเสียชีวิต นี่เป็นปรากฏการณ์อย่างที่หนึ่ง ปรากฏการณ์อย่างที่สองคือ ผู้ที่มีโรคซึ่งสงบไปนานหรือรักษาและควบคุมโรคได้ เมื่อรับวัคซีน ส่งผลให้โรคนั้นๆ เกิดอาการรุนแรงขึ้นมาใหม่ เช่น พาร์กินสัน บางรายช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
SPRiNG : ฉีดคนละตำแหน่ง การทำงานของวัคซีนก็ต่างกัน?
หมอธีระวัฒน์ : การฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง เป็นคนละระบบกับกลไกการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การฉีดเข้าผิวหนังสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีเท่าๆ กับการฉีดเข้ากล้าม และระบบนี้เองที่เลี่ยงผลกระทบและอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ ได้
SPRiNG : เห็นผลเป็นที่ประจักษ์แบบนี้ กระทรวงสาธารณสุขก็สามารถประกาศให้ฉีดวัคซีนเข้าผิวหนังได้?
หมอธีระวัฒน์ : เราก็แปลกใจอยู่พอสมควร เพราะในคณะทำงานของเรา มีผู้ฉีดเข้าชั้นผิวหนังแล้ว 400 รายที่ รพ.วชิระภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แม้แต่การศึกษาของ รพ.ศิริราช ก็บอกถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยเมื่อฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังเช่นกัน ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าทำไมจึงไม่ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง
SPRiNG : การฉีดเข้าชั้นผิวหนังยากกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อไหม?
หมอธีระวัฒน์ : ไม่ยากเลย จริงๆ แล้วก็เหมือนการฉีดวัคซีน BCG ในเด็กแรกเกิด หรือการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ก็ฉีดเข้าชั้นผิวหนังเช่นเดียวกัน จึงไม่ใช่เรื่องลำบากยากเข็ญหรือยุ่งยากแต่ประการใด และภูมิก็ไม่ได้ตกลงเร็วกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
SPRiNG : คุณหมอพูดในรายการถึงวัคซีนพิษสุนัขบ้า ก็ใช้วิธีฉีดเข้าผิวหนัง
หมอธีระวัฒน์ : เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เพราะเมื่อ 37 ปีที่แล้ว ตรงกับปี 1987 ไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่เสนอให้ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าเข้าชั้นผิวหนัง เนื่องจากวัคซีนขาดแคลนมากซึ่งสามารถสร้างภูมิได้ และ WHO ก็ให้การรับรองเมื่อปี 1998 ไข้เหลืองที่เคยระบาดในแอฟริกาก็ฉีดวัคซีนไข้เหลืองเข้าชั้นผิวหนังเช่นกัน ซึ่งก็สามารถป้องกันโรคได้
SPRiNG : ต่างประเทศก็มีการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ?
หมอธีระวัฒน์ : ต่างประเทศก็มีการวิจัยและพัฒนาว่า ได้ผลเท่ากัน และผลข้างเคียงก็แทบไม่มีเลย เช่น เนเธอร์แลนด์ และอีกหลายประเทศในยุโรป ซึ่งต่างประเทศฉีดเข้าผิวหนังตั้งแต่เข็มที่ 1 แต่ในประเทศไทยแนะนำให้เริ่มที่การฉีดเข็มกระตุ้น
การฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังนั้น มีข้อเสียเพียงอย่างเดียว คือบริษัทผู้ผลิตวัคซีนอาจจำหน่ายวัคซีนได้น้อยลง แต่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับประเทศไทย เพราะใช้งบประมาณน้อยลง และในขณะที่มีโอไมครอน เราคงต้องฉีดกระตุ้น เรียกว่าฉีดซ้ำซาก และอาจจะต้องฉีดเด็กตั้งแต่อายุ 5 ปีขึ้นไป
4 คำแนะนำปิดท้ายจาก 2 ผู้รู้
ช่วงปีใหม่ แนะนำให้เลี่ยงสถานที่ที่มีคนหมู่มาก และรู้จักใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ อย่าคิดว่าตรวจ ATK แล้วไม่พบเชื้อ ไม่สวมหน้ากาก เพราะการตรวจ ATK ให้ผลแม่นยำเพียง 50% (ขึ้นอยู่กับความแม่นยำของยี่ห้อ)
ตรวจ ATK ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมเพียง 1-2 ชม. ไม่ควรยึดผลตรวจ 2-3 วันที่แล้ว
สำหรับวัคซีนเข็มกระตุ้น แนะนำให้ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง จะช่วยกระตุ้นภูมิได้เร็วขึ้น กระจายฉีดได้มากขึ้น และลดการอักเสบหรือผลกระทบจากการฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อได้
บทความที่แนะนำให้อ่านต่อ : เลือกฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังได้ไหม นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร จะอธิบายให้ฟัง