ฟักทอง ผักตระกูลฟัก สีส้มอร่าม ลูกโตและเล็กๆที่วางเรียงรายอยู่หน้าบ้าน พร้อมแสงไฟเล็กๆภายในฟักทองที่มีใบหน้าน่ากลัวเหล่านั้น หากเดินตามถนนยามค่ำคืนจะรู้สึกว่าถูกมองอยู่ตลอดเวลา แต่รู้ไหมว่าทำไมฟักทองถึงกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของวันฮาโลวีน แล้วใครริเริ่มกันแน่
แน่นอนว่าหลายคนอาจเคยเห็นแน่นอนกับการมีฟักทองลูกโตๆตั้งอยู่ในงานเทศกาลฮาโลวีน บางลูกก็มีการแกะสลักหน้าตาให้มันและใส่เทียนหรือแสงไฟเข้าไปข้างใน ทำให้มองเห็นเป็นหน้าตาของมันซึ่งหากมองเห็นตอนกลางคืนก็ดูจะสยองไม่น้อย แต่รู้ไหมว่า ชื่อของฟักทองแกะสลักเหล่านี้มีชื่อด้วยนะ ชื่อของมันคือ Jack-o’-lantern และจุดกำเนิดของมันไม่ได้มาจากอเมริกาอย่างที่ทุกคนเข้าใจ
ฟักทองจะสุกงอมและอุดมสมบูรณ์ในฤดูใบไม้ร่วง ทันเวลาเก็บเกี่ยวสำหรับเทศกาลฮาโลวีนพอดี ผลไม้สีส้มขนาดใหญ่เหล่านี้จะถูกนำมาใช้เป็นของตกแต่งและอาหาร เมื่อเดินบนถนนยามค่ำคืนจะพบว่ามันจะอยู่ทุกที่ที่คุณไป บางที่ถึงกับมีการจัดแข่งโยนฟักทอง แข่งแต่งหน้าสุดหลอนของมัน และแข่งทำอาหารจากฟักทองอย่างสร้างสรรค์ แต่ประวัติความเป็นมาของมันก็น่าสนใจไม่น้อย
ในสมัยก่อนคนจะยังไม่ใช้ฟักทองในการมาเป็นตัวแทนของเทศกาลแต่จะใช้หัวผักกาด แต่ต่อมา คติชนวิทยาของเซลติกพบสิ่งที่จะมาแทนที่หัวผักกาดเหล่านี้ เขาริเริ่มที่จะนำฟักทองมาใช้เนื่องจากเป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวพอดี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รวม 7 ไอเทมสุดเด็ด! ฉบับของมันต้องมีต้องมีต้อนรับ "วันฮาโลวีน"
เปิดธุรกิจที่เติบโตใน "วันฮาโลวีน 31 ต.ค." ถ้าไม่มีโควิด-19 มารบกวน
ฟักทองเป็นผักตระกูลฟักชนิดหนึ่ง ที่ถูกพบครั้งแรกในทวีปอเมริกา และมักขึ้นในแถบของอเมริกากลางและเม็กซิโก ชนพื้นเมืองอเมริกันนำเมล็ดฟักทองไปยังพื้นที่ต่างๆทางอเมริกาเหนือด้วย ทำให้พืชพันธุ์ของมันเริ่มแพร่กระจายไปทั่วทั้งทวีป พวกเขามักหั่นฟักทองเป็นเส้นยาวๆแล้วเอามาย่างกินกัน นอกจากนี้พวกเขายังทอฟักทองแห้งให้เป็นเสื่อ และพวกเขานำเมล็ดมันมากินและใช้เป็นยาด้วย
ในยุคที่โคลัมบัสพบทวีปอเมริกา เขาได้นำเมล็ดพันธุ์ของฟักทองกลับมายังยุโรปด้วย แต่ด้วยสภาพภูมิอากาศต่างๆไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของฟักทองเท่าไหร่นัก “ฌัก การ์ตีเยหรือคาร์เทียร์” นักสำรวจชาวฝรั่งเศสผู้ค้นพบและบุกเบิกแคนาดา พบฟักทองครั้งแรกเมื่อปีค.ศ.1584 ในตอนนั้นเขาเรียกฟักทองว่า “เฟปอน (pepons)” ซึ่งเป็นคำภาษากรีกแปลว่า แตงขนาดใหญ่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปเขาก็เปลี่ยนชื่อมันเป็นฟักทอง
การนำฟักทองมาแกะสลัก ไม่ใช่แนวคิดของคนอเมริกัน
เมื่อชาวอาณานิคมดินทางมาถึงสหรัฐอเมริกา พวกเขาเริ่มใช้ฟักทองเป็นอาหาร แต่การนำพวกมันมาเป็นส่วนหนึ่งของวันฮาโลวีนนั้นเกิดจากอิทธิพลของผู้อพยพชาวไอริช ผู้อพยพชาวไอริชยุคแรกเมื่อเดินทางไปสหรัฐอเมริกา พวกเขาได้นำประเพณีการทำ Jack-o’-lantern ไปด้วย ตามนิทานพื้นบ้านของไอริช แจ็คเป็นช่างตีเหล็กที่หลอกปีศาจมาหลายครั้ง เขาเล่ากันว่า วันที่ 31 .ต.ค. เป็นวันสิ้นอายุไขของแจ็ค ระหว่างที่ซาตานมารับตัวเขา เขาขอซดเหล้าที่เขากินอยู่ให้หมดก่อนถึงจะยอมไป พอซดเหล้าหมดเขาก็ถามซาตานว่ามีอิทธิฤทธิ์จริงไหม ไหนแปลงร่างเป็นเหรียญให้ดูหน่อย ซาตานหลงกลก็แปลงร่างเป็นเหรียญ แจ็คก็รีบคว้าเหรียญนั้นใส่กระเป๋าและเอาไม้กางเขนทับทันที แต่เขาก็ใจดียื่นข้อเสนอให้ซาตานว่า ถ้าอยากคืนร่างเดิม ต้องสัญญาจะไม่ยุ่งกับเขา 1 ปี ซาตานก็เลยตอบตกลง
1 ปีผ่านไป ซาตานกลับมาอีกครั้ง ครั้งนี้แจ็คหลอกเขาให้ปีนต้นไม้ขึ้นไปเก็บผลไม้ให้หน่อย ซาตานก็ดันเชื่ออีก ก็ขึ้นไปตามคำขอ แจ็คก็ได้แกะสลักไม้กางเขนไว้บนเปลือกไม้ ทำให้ซาตานลงจากต้นไม้ไม่ได้ ก็เกิดการทำข้อตกลงอีก ครั้งนี้แจ็คขอซาตานไม้ให้มายุ่งกับเขา 10 ปี และซาตานก็ตอบตกลงอีกแล้ว โถ พ่อคุณ ซื่อจริงๆ พอครั้งนี้แจ็คตายจริงๆ เขาถูกปฏิเสธไม่ให้ขึ้นไปทั้งบนสวรรค์และลงนรกเพราะทำแสบกับซาตานไว้เยอะเลยแหละ เขาก็เลยให้แจ็คเป็นผีเร่ร่อนและยังใจดีเขาได้มอบถ่านไฟที่ลุกให้กับแจ็ค แจ็คจึงขุดหัวผักกาดเพื่อนำไปใส่ถ่านที่กำลังลุกโชนนั้นเพื่อหาทางเก็บไฟนั้นให้ไว้ใช้ได้นานๆ ดวงไฟจากถ่านนั้นได้นำทางแสงสว่างให้กับเขาไว้ส่องดูทาง ชาวไอริชจะระลึกถึงเรื่องเล่านี้ในแต่ละปีด้วยการแกะสลักใบหน้าที่น่ากลัวลงบนหัวผักกาดและใส่ถ่านที่ไฟกำลังคุกกรุ่นไปด้านใน เพราะเชื่อว่าจะขับไล่แจ็คและวิญญาณเร่ร่อนตนอื่นๆได้ เป็นไงล่ะแจ็ค เข็ดไหม
อย่างไรก็ตาม เมื่อชาวไอริชอพยพไปยังอเมริกา พวกเขาก็พบกับฟักทอง ซึ่งดูจะแกะสลักง่ายกว่าและดีกว่าหัวผักกาดมาก และสามารถใส่ถ่านร้อนๆลงไปได้ด้วย และมันก็ได้เปลี่ยนรูปแบบมาเรื่อยๆตามยุคสมัย บ้างก็ใช้เทียนไขที่มีแบตเตอรี หรือไฟฉายอย่างปัจจุบันนี้ แต่บางคนก็ยังใช้เทียนเพื่อสร้างบบรรยากาศความหลอน ซึ่งมันก็หลอนมากจริงๆ
ประวัติการแกะสลักใบหน้าบนฟักทอง
เมื่อกาลเวลาผ่านไป การแกะสลักใหน้าอันสยดสยองบนฟักทองก็ได้พัฒนารูปแบบที่หลากหลายขึ้น แต่รูปแบบการแกะสลักดั้งเดิมของ แจ็คโอแลนเทิร์นนั้น แกะสลักเพื่อการขับไช่วิญญาณชั่วร้ายออกไป ชาวไอริชจะวางฟักทองแกะสลักหรือหัวผักกาดไว้ที่ประตูและหน้าต่างด้วยความเชื่อว่ามันจะปกป้องพวกเขาจากความชั่วร้ายที่อยู่นอกบ้านและพวกเขาจะไม่ออกไปไหนในคืนนั้น การแกะสลักฟักทองสมัยใหม่มักทำไปเพื่อความบันเทิง
บางองค์กรจะแจกจ่ายลวดลายให้สมาชิกองค์กรได้นำไปแกะสลักกัน เช่น นักเรียนอาจได้รับลวดลายสัญลักษณ์หรือชื่อของโรงเรียนในการแกะสลัก รวมไปถึงมีการจัดกิจกรรมการแข่งขันที่หลากหลายในงานเทศกาลที่สร้างทั้งความสนุกและความบันเทิงเพื่อกลบความน่ากลัว แต่สุดท้ายมันก็ยังเป็นวันที่น่ากลัววันหนึ่งอยู่ดีตามความเชื่อของชาวไอริช แล้วคุณล่ะคิดยังไงกับวันฮาโลวีน
สุขสันต์วันฮาโลวีน
ที่มาข้อมูล Halloween Express และ Herstyle asia