เทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น แต่โรคโควิด-19 เร่งให้ทุกคนทุกองค์กรต้องดิสรัปต์ ปรับชีวิตและการทำงานครั้งใหญ่ แม้แต่การรับชมความบันเทิงในช่วง wfh กระตุ้นให้ "ตลาดวิดีโอสตรีมมิง" ขยายตัว ทั้งเจ้าของแพลตฟอร์มและผู้ชมผู้บริโภคให้ความสำคัญกับคอนเทนต์คุณภาพ
โลกเปลี่ยนไปแล้ว ไลฟ์สไตล์และความสนใจของคนก็เปลี่ยนไปด้วย เทรนด์หนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ Gen Z ที่โตมากับเทคโนโลยีดิจิทัล อยากเป็นยูทูบเบอร์ เกมเมอร์ สตรีมเมอร์ ครีเอเตอร์ เพราะยุคนี้มีแพลตฟอร์มสารพัดที่ใครก็สมัครใช้บริการและหารายได้ด้วยทักษะกับเครื่องมือใหม่ๆ ที่สมัยก่อนไม่มี โดยเฉพาะการผลิตคอนเทนต์ไปป้อนแพลตฟอร์มสตรีมมิง
www.grandviewresearch.com เผยข้อมูลเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับตลาดวิดีโอสตรีมมิงในรายงาน Video Streaming Market Size, Share & Trends Analysis Report By Streaming Type, By Solution, By Platform, By Service, By Revenue Model, By Deployment Type, By User, By Region, And Segment Forecasts, 2021 - 2028 และคาดการณ์การเติบโตของตลาดนี้ในอีก 7 ปีข้างหน้าว่า จะมีมูลค่ามหาศาล!
ประเภทสตรีมมิงกับส่วนแบ่งตลาด
คอนเทนต์ประเภทวิดีโอสตรีมมิงแบ่งได้เป็น แบบ Live สด (Live Video Streaming) กับ แบบไม่ Live (Non-Linear Video Streaming) โดยกลุ่มวิดีโอสตรีมมิงแบบ Live ครองส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 61% ส่วนกลุ่มวิดีโอสตรีมมิงที่ไม่ได้ไลฟ์มีส่วนแบ่งตลาด 39%
มูลค่าตลาดวิดีโอสตรีมมิงทั่วโลกจะรุ่งและพุ่งแรง!
ในรายงานดังกล่าว ระบุมูลค่าตลาดคอนเทนต์วิดีโอสตรีมมิงในปี 2020 และคาดการณ์มูลค่าในช่วงปี 2021 - 2028 ไว้ว่าจะเติบโตอีกราว 21%
คอนเทนต์งานดี-ซีรีส์สายเกา บนแพลตฟอร์มสตรีมมิงชั้นนำที่ควรอ่านประกอบกัน
ในด้านปัจจัยสนับสนุนให้ตลาดวิดีโอสตรีมมิงโต
จะเกิดอะไรขึ้นต่อไปในตลาดวิดีโอสตรีมมิง?
ความป๊อปและรายได้บนแพลตฟอร์มสตรีมมิง
ใน Video Streaming Market Size, Share & Trends Analysis Report ฉายภาพความนิยมแพลตฟอร์มสตรีมมิงในตลาดเอเชียแปซิฟิกโดยโฟกัสที่ 13 ประเทศ/เขตการปกครอง ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม ไทย ฮ่องกง ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย จีน เกาหลี และญี่ปุ่น และมีการจัดอันดับ 5 แอปสตรีมมิงยอดนิยมของแต่ละประเทศเอาไว้ดังนี้
จะเห็นว่า Netflix เป็น แอปสตรีมมิง ที่ป๊อปปูลาร์สุดๆ ในหลายประเทศ แต่ถ้าดูรายได้ที่เข้า Netflix แล้วนั้น จัดว่ามาก...แต่ก็ไม่ได้มากจนเป็นเบอร์หนึ่งของกลุ่ม ส่วนแอปสตรีมมิงแบบไลฟ์สดในตารางข้างต้น ที่ป๊อปปูลาร์ก็เช่น V Live (แอปเกาหลี โดย Naver), Viu (แอปเกาหลี), Showroom (แอปญี่ปุ่น)
ที่มาและความครอบคลุมของการจัดทำ Video Streaming Market Size, Share & Trends Analysis Report
มาดูรายได้ vs รายจ่ายไม่ธรรมดาของ Netflix
นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2013 ถึงไตรมาส 2 ของปี 2021 เว็บไซต์ Statista เผยว่า Netflix มีรายได้รวม 7341.78 ล้านดอลลาร์ หรือราว 222,253,400,000 บาท
ไม่ใช่แค่รายได้ (Revenue) ที่สูงลิบลิ่ว www.fool.com/investing ให้ข้อมูลว่า Netflix มีรายจ่ายด้านการตลาด (Marketing Spending) อย่างน้อยๆ 500 ล้านดอลลาร์ (ราว 15,000 ล้านบาท) ต่อไตรมาส และยังมีต้นทุน (Cost of Revenue) ค่าคอนเทนต์อีกก้อนโต เพื่อให้มีของบนแพลตฟอร์มไม่ขาด
อย่างในไตรมาสแรกของปีนี้ Netflix จ่ายค่าคอนเทนต์ไปแล้ว 3.9 พันล้านดอลลาร์ (ราว 1.17 แสนล้านบาท)
แม้รายได้ของ Netflix จะหลั่งไหลมาจากทั่วโลก แต่การลงทุนด้านคอนเทนต์ การตลาด ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็ไหลไปยังภูมิภาคต่างๆ เช่นกัน นอกจากนี้ การแข่งขันของแพลตฟอร์มสตรีมมิงที่มีทั้งผู้เล่นรายเก่าและรายใหม่ ตลาดสตรีมมิงจึงเป็นสมรภูมิร้อนที่เจ้าของแพลตฟอร์มและผู้ผลิตคอนเทนต์หรือครีเอเตอร์ ต่างก็ต้องดูแลและปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง เพื่อคงสถานะผู้เลือกหรือผู้ถูกเลือกต่อไป
ที่มา