สรุปประเด็นที่ Jean-Jacques Sahel ตัวแทนจาก Google Asia Pacific นำเสนอวิธีจัดการ "ข่าวปลอม" จากงาน "Virtual Forum หยุดข่าวปลอม ประเทศไทย” พร้อมเผยเครื่องมือตรวจสอบ วิธีรับมือปัญหานี้ทั้งในไทยและในระดับโลก และแนวทางเพิ่มความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Literacy)
สรุปแนวทางแก้ปัญหาข่าวปลอมในแบบของ Google จาก "Virtual Forum หยุดข่าวปลอม ประเทศไทย” เวทีเสวนาเสมือนจริงที่จัดโดย สปริงนิวส์ และ เนชั่นกรุ๊ป เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงผลกระทบจากข่าวปลอม พร้อมทั้งรู้เท่าทันวิธีรับมือข่าวปลอมจาก Jean-Jacques Sahel, Government Affairs Senior Manager on Content Regulation and Access to Information, Google Asia Pacific
สู้ศึกข่าวปลอมด้วยเสาหลัก 5 ประการ
ท่ามกลางข้อมูลข่าวสารที่ไหลเข้าสู่ระบบอย่างล้นหลาม ทั้งในรูปแบบข้อความ ภาพ คลิป ในฐานะที่ Google เป็นแหล่งรวม Information ระดับโลก จึงต้องจัดเก็บ จัดระเบียบข้อมูลข่าวสาร (Data) เพื่อให้คนทั่วโลกค้นหาสะดวก เข้าถึงได้ง่ายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เชื่อถือได้ และนำไปใช้ประโยชน์ ตลอดจนสร้างมูลค่าต่อได้
แต่ทุกข้อมูลที่ฟีดเข้าระบบหรือฐานข้อมูล ใช่ว่าจะถูกต้องตามจริง ยิ่งมีข้อมูลในระบบเยอะ Google ยิ่งต้องตรวจให้ได้ ไล่ให้ทัน! ว่าข้อมูลใดถูกบิดเบือน ข้อมูลใดที่ทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิด ข่าวใดเป็น Fact หรือ Fake โดย Jean เผยหลัก 5 ข้อที่ Google ใช้สู้ข่าวปลอม ดังนี้
How to สไตล์ Google
Google ลงทุนด้านเทคโนโลยีและต้องพัฒนาการใช้เครื่องมือตรวจสอบคอนเทนต์อยู่เสมอว่า คอนเทนต์นั้นมีคุณภาพหรือไม่ จัดลำดับคุณภาพ ลำดับการค้นหา เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่า คอนเทนต์นั้นเชื่อถือได้ และย้อนเช็กได้ถึงการให้ข้อมูลจากต้นทาง
หากมีพฤติกรรมการใช้งานหรือโพสต์คอนเทนต์ที่ระบบตรวจพบว่า ไม่เหมาะสมก็จะลบทิ้ง โดย Google มีนโยบายควบคุมการใช้งานแพลตฟอร์ม เช่น youtube อย่างเข้มข้นและตรวจพบข่าวปลอมนับล้านทุกวัน ทั้งยังลดการมองเห็น Ads ที่ไม่เหมาะสมวันละ 6 ล้านชิ้น รวมแล้วลบไปมากกว่า 2.3 พันล้านครั้งเพิ่มเติมในด้านนโยบาย หากมีการแอบอ้างเป็นบุคคลอื่น บิดเบือนข้อเท็จจริง ใช้ถ้อยคำรุนแรง แสดงความเกลียดชัง (Hate Speech) จะถูกแบนจากระบบ หรือถ้าเป็นด้านการเมือง การเลือกตั้ง Google ก็มีนโยบายป้องกันและควบคุมการสร้างข้อมูลเท็จหรือการบิดเบือนข่าวสารใดๆ โดยมีระบบอัตโนมัติเป็นตัวตรวจจับ
บทความที่แนะนำให้อ่านจากงาน "Virtual Forum หยุดข่าวปลอม ประเทศไทย"
ให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมหรือมีบทบาทในการตรวจสอบข่าวปลอม ร่วมพิจารณาบริบทของคอนเทนต์ หากมีคอนเทนต์ใดไม่เหมาะสม สามารถแจ้งในระบบได้ทันที
Google ยังร่วมมือกับ UNICEF, Poynter, google.org ในการเก็บข้อมูล สร้างโปรแกรมสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต โปรแกรมเพิ่มทักษะดิจิทัลให้แก่สื่อมวลชน โปรแกรมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนมีความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Literacy)
ร่วมมือกับหลายภาคส่วน อาทิ องค์กรระดับนานาชาติ องค์กรระดับท้องถิ่น เพื่อขับเคลื่อนระบบนิเวศข้อมูล เช่น The Trust Project ในการเก็บข้อมูล ทำวิจัยเพื่อค้นหาว่า ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมีวิธีตรวจสอบข่าวหรือต่อสู้กับข่าวปลอมอย่างไร
Jean กล่าวว่า Google เข้าไปมีส่วนร่วมกับระบบนิเวศข่าวสาร โดยเข้าไปเป็นพาร์ทเนอร์กับแหล่งข่าวและสังคมเมืองต่างๆ โดยเน้นการร่วมคัดเลือกข้อมูลที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ ให้ข้อมูลชัดเจน และผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงทุกข้อมูลจากต้นทางได้
เช่น ร่วมกับ BBC องค์กรสื่อที่ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบข่าวมานาน และเป็นสื่อที่ถือว่า มีอิสระ มีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือลำดับต้นๆ และมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงสารพัดด้าน หรือแม้กระทั่ง youtube แพลตฟอร์มวิดีโอของ Google เอง ก็ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจข้อมูลหรือบริบทเกี่ยวกับข่าวสารนั้นๆ ผ่านการรับขมคลิป เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจหรือใช้ยืนยันความถูกต้องของข้อมูลเพื่อสู้กับข่าวปลอมได้เช่นกัน
เนื่องจากมีข้อมูลมหาศาล จึงต้องใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่มีความล้ำหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อย่าง A.I., Machine Learning, Deep Learning, NLP เพื่อช่วยตรวจสอบและจัดการข้อมูลได้อย่างฉับไว ทั้งที่เป็นข่าวปลอม (Fake news, misinformation/disinformation) เสียงปลอม (Fake Audio) และคลิปปลอม (Deep Fake)
นอกจากนี้ Jean ยังบอกด้วยว่า ความร่วมมือเป็นเรื่องสำคัญมาก การตรวจสอบข่าวปลอมต้องเข้าใจบริบทและทำงานแบบ local สร้างเครือข่าย ดีลกับคนท้องถิ่น ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลช่วยตรวจสอบ เพื่อทำให้ข่าวปลอมหรือความเข้าใจผิดต่างๆ ลดลงหรือหายไป
และเนื่องจากการตรวจสอบหรือตรวจจับข่าวปลอมไม่มีสูตรสำเร็จ ทุกฝ่ายจึงต้องร่วมกันดำเนินการ/จัดการข่าวปลอมอย่างเข้มข้น จริงจัง มิเช่นนั้น ข่าวปลอมจะยังส่งผลกระทบต่อสังคมและคนทั่วโลกต่อไป
รับฟังแนวทางบริหารจัดการข่าวปลอมจาก Jean แบบเต็มๆ จากงาน Virtual Forum หยุดข่าวปลอม ประเทศไทย ได้ที่ลิงก์