svasdssvasds

ช่วงนี้สุขภาพจิตเป็นอย่างไร ? ลอง 5 วิธีฟื้นฟูสภาพจิตใจให้แข็งแกร่ง

ช่วงนี้สุขภาพจิตเป็นอย่างไร ? ลอง 5 วิธีฟื้นฟูสภาพจิตใจให้แข็งแกร่ง

เมื่อตื่นมาก็เจอกับกิจวัตรเดิมๆ เห็นห้องเดิมๆ วิวเดิมๆ ไม่ได้ออกไปไหนมาไหนเหมือนแต่ก่อน จนเริ่มเกิดความเครียด รู้สึกว่าสุขภาพจิตก็เริ่มถดถอย

ในหนังสือ ‘A Toolkit for Modern Life: 53 Ways to Look After Your Mind’ ก็ได้พูดถึง 5 เสาหลักของการมีสุขภาพจิตที่ดี ไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

ช่วงนี้สุขภาพจิตเป็นอย่างไร ? ลอง 5 วิธีฟื้นฟูสภาพจิตใจให้แข็งแกร่ง มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น (Connect)

ในหนังสือก็ได้ระบุไว้ว่า การที่เราจะมีสุขภาพจิตที่ดีได้จะต้องมีการเชื่อมต่อหรือปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นบ้าง (หนังสือถูกเขียนก่อนเกิดการระบาด) ซึ่งนี่ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักว่าทำไมหลายๆ คนในช่วงนี้ถึงมีสุขภาพจิตที่แย่ลง เพราะแน่นอนว่ามนุษย์เราทุกคนเป็นสัตว์สังคม ทำให้การที่เราถูกแยกตัวออกมาจากสังคม มีผลต่อทั้งสุขภาพกายและใจของเรา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ส่องไอเดีย 9 ของขวัญยุคโควิดเพื่อคุณแม่ รับวันแม่แห่งชาติ

เคลียร์ To Do List ในวันที่ “ขี้เกียจทำงาน”

TRIBUTE x LUKE ISHIKAWA คอลแลปแฟชั่นแบรนด์เกาหลีเพื่อสังคมไทย

เคลื่อนไหวให้มากเข้าไว้ (Active)

การเคลื่อนไหวยังช่วยให้เรามีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นได้เช่นเดียวกัน ในช่วงของการ Work From Home เชื่อว่าหลายๆ คนก็ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายอะไรมาก บางคนตื่นมาก็แค่ย้ายตัวเองจากเตียงไปโต๊ะทำงาน แล้วก็นั่งอยู่ตรงนั้นทั้งวัน จะขยับทีก็แค่ลุกไปกินข้าวหรือไปห้องน้ำเท่านั้น

อาจจะลองพยายามเคลื่อนไหวตัวให้มากกว่าเดิม หากิจกรรมใหม่ๆ ทำ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้ การออกกำลังกาย ทำงานบ้าน จัดของ จัดห้อง หรือแม้แต่การพาสัตว์เลี้ยงออกไปเดินเล่น

มีสติรู้ตัว (Aware)

ในหนังสือได้พูดไว้ว่า ถ้าหากเราไม่มีสติอยู่กับปัจจุบัน ใจเราจะกังวลกับอดีตและอนาคต ดังนั้น การมีสติอยู่กับตัวและโฟกัสกับปัจจุบันจะทำให้เราไม่ฟุ้งซ่าน การที่เราจะฝึกสติได้ก็สามารถทำได้โดยการนั่งสมาธิ หรือการทำกิจกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์เยอะๆ เพราะมันจะช่วยให้เรานั้นโฟกัสและอยู่กับปัจจุบันได้ดีขึ้น

 

 

เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ (Learn)

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ผู้เขียนได้ระบุไว้คือ เราจะต้องมีการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ เพื่อที่ให้สมองของเรานั้นทำงานและสร้างทางเชื่อมประสาทใหม่ๆ

หลายๆ คนอาจจะคิดว่าการเรียนรู้จะต้องมาพร้อมกับความเครียด จะต้องเป็นการนั่งลงหน้าจอแล้วเรียน แต่จริงๆ แล้วการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ในที่นี้ก็อาจจะไม่ต้องเป็นเรื่องวิชาการอะไรและสามารถทำในวิธีที่สร้างสรรค์หรือวิธีที่เราชอบก็ได้

ให้ ช่วยเหลือ และแบ่งปัน (Give)

การให้ในที่นี้อาจจะไม่ได้หมายถึงการให้ในเชิงการกุศลหรือการออกไปช่วยเหลือคนอย่างเดียว แต่การให้ในที่นี้หมายถึงการให้ความช่วยเหลือแนะนำ การช่วยเล็กๆ น้อยๆ การให้ความเห็นอกเห็นใจ หรือแม้แต่การนั่งฟังใครสักคนหนึ่งบอกเล่าเรื่องปัญหาชีวิต ก็นับว่าเป็นการให้เช่นเดียวกัน ซึ่งการให้แบบนี้ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพจิตของเรา ให้ทั้งความอิ่มอกอิ่มใจและช่วยให้เราหลั่งสารแห่งความสุขออกมา

related