อีกความหวัง เผยคืบหน้า "วัคซีนใบยา" หนึ่งในวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 พัฒนาจากนักวิจัยไทยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมทดสอบในมนุษย์ระยะแรก ก.ย. คาดเปิดรับอาสา ส.ค. นี้
ความคืบหน้าวัคซีนใบยา นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กถึงความคืบหน้าของวัคซีนใบยา (Baiya SARS-CoV-2 VAX1) หนึ่งในวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยคนไทย จาก บริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจะเริ่มทดสอบในมนุษย์ระยะแรกในเดือนกันยายน 2564
ขณะนี้ มีโรงงานพร้อมผลิตวัคซีนดังกล่าวแล้ว โดยทีมวิจัยจะส่งแบบโรงงานให้ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตรวจสอบคุณภาพโรงงาน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มผลิตวัคซีนได้ในอีก 2-3 สัปดาห์ และจะเปิดรับอาสาสมัครอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคมนนี้ ประมาณ 100 คน ที่มีสุขภาพแข็งแรง มีอายุระหว่าง 18-55 ปี และ 65-75 ปี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เผยขั้นตอนการจอง วัคซีนซิโนฟาร์ม สำหรับประชาชน
การันตีคุณภาพ! จีนเตรียมอนุมัติวัคซีนไฟเซอร์ เป็นวัคซีนต่างชาติตัวแรก
อธิบดีกรมควบคุมโรค แจงปม เอกสารสั่งซื้อวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าหลุด
หากวัคซีนใบยา ผ่านการทดสอบ ตามกระบวนการเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะสามารถผลิตให้คนไทยได้ใช้กันในช่วงกลางปี 2565 โดยประชาชนจะรับการฉีดวัคซีนจำนวน 2 เข็ม เว้นระยะห่างระหว่างเข็มที่ 1 และเข็ม 2 เป็นเวลา 3 สัปดาห์ และจะจำหน่ายในราคาต้นทุนประมาณเข็มละไม่เกิน 300 – 500 บาท
ทั้งนี้ วัคซีนใบยา ผลิตจากโปรตีนพืชใบยาสูบที่เรียกว่า “โปรตีนซับยูนิตวัคซีน” เป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับที่โรงงานอุตสาหกรรมยาหลายแห่งทั่วโลกใช้ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมนี เกาหลี ญี่ปุ่น เป็นต้น โดยผลิตวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีและวัคซีนมะเร็งปากมดลูกที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
อ้างอิงข้อมูลจาก ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระบุถึงผลการทดสอบวัคซีนใบยาในสัตว์ อย่างลิงและหนู ไว้ว่า
วัคซีนใบยาได้ผ่านการทดสอบในหนูและลิง ด้วยการฉีด 2 เข็มห่างกัน 3 สัปดาห์ ผลการทดสอบปรากฏว่าลิงมีความปลอดภัย และไม่เกิดผลข้างเคียงใด ๆ ผลเลือดในลิงที่ใช้ทดลองมีค่าเอนไซม์ตับปกติ อีกทั้งจำนวนเม็ดเดือดแดงและเม็ดเลือดขาวอยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากนี้เมื่อนำเปปไทด์ไปกระตุ้นเซลล์ของลิงพบว่า มีการกระตุ้น T Cell ได้ดี ซึ่งนับว่าการทดลองดังกล่าวประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ
สำหรับกระบวนการผลิตวัคซีนที่ใช้พีช สามารถผลิตเป็นจำนวนครั้งละมาก ๆ ได้ และสามารถยกระดับจากการผลิตวัคซีนในห้องทดลอง มาเป็นการผลิตวัคซีนระดับอุตสาหกรรมได้ทันที ขณะที่ การผลิตวัคซีนจากใบยาสูบนี้สามารถผลิตได้ประมาณ 10,000 โดสต่อเดือน ในห้องทดลองขนาดเล็กเท่านั้น จึงนับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่
ที่มา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย