ยามาใหม่ ดีต่อกายและใจได้อีก เพราะมีทีมคนไทยร่วมกันศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนา ยาเลิกบุหรี่ ชนิดใหม่ชื่อว่า ไซทิซีน (Cytisine) สารสกัดธรรมชาติจากสมุนไพรไทย เมล็ดจามจุรีสีทอง แม้งานวิจัยยังไม่จบ แต่มีคนเผยว่า ราคาน่าคบหา ก็จะยิ่งดีต่อทุกคนและทุกภาคส่วน
ขณะที่วัคซีนโควิด 19 ของไทยยังอยู่ในขั้นวิจัยและพัฒนา (โดยจุฬาฯ) ก็ได้ข่าวอัปเดตว่า มีงานวิจัยตัวใหม่ใกล้ออกสู่ตลาด นั่นคือ ไซทิซีน (Cytisine) ยาเลิกบุหรี่ที่สกัดจากสมุนไพรไทย ผลการศึกษาวิจัยร่วมกันของหลายหน่วยงานในบ้านเรา
Source : unsplash
ที่มาของยาเลิกบุหรี่
การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนายาเลิกบุหรี่ชนิดใหม่ในไทยชื่อว่า ไซทิซีน เป็นสารสกัดธรรมชาติจาก เมล็ดจามจุรีสีทอง มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการถอนนิโคติน ทำให้ผ่อนคลาย ไม่หงุดหงิดในขณะที่เข้าสู่กระบวนการเลิกบุหรี่ ซึ่งยาชนิดนี้ใช้มานานกว่า 60 ปีในยุโรปตะวันออก ถือเป็นยาเลิกบุหรี่ที่มีประสิทธิภาพดีและปลอดภัยมาก จึงเป็นยาที่องค์การอนามัยโลกให้การรับรองและสนับสนุนให้รัฐบาลทุกประเทศจัดหาไว้
เพราะการเลิกบุหรี่ไม่ใช่เรื่องง่าย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงประสานพลังกับภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนให้สังคมไทยปลอดควันบุหรี่ ทั้งการสนับสนุนมาตรควบคุมยาสูบในทุกระดับ ส่งเสริมมาตรการสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ ให้ความรู้สร้างความตระหนักถึงอันตรายของบุหรี่ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเลิกบุหรี่ ตลอดจนการให้บริการบำบัดการติดบุหรี่และผลิตภัณฑ์นิโคติน
"จากสถิติของเครือข่ายคลินิกให้คำปรึกษาเลิกบุหรี่เฉลี่ยใน 1 ปี มีผู้เข้ารับบริการสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ 30-40% ในขณะที่รายที่ไม่ใช้ยาสามารถเลิกได้สำเร็จเพียง 10% และในกลุ่มที่เลิกด้วยตนเอง โดยไม่ได้เข้ารับบริการเลิกบุหรี่ไม่ว่ารูปแบบใดๆ จะมีโอกาสเลิกสำเร็จเพียง 5% เท่านั้น" รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบการหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าว
และเพื่อให้คนไทยเข้าถึงยาเลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น หาซื้อได้ในราคาไม่แพง จึงนำมาสู่ความร่วมมือในการพัฒนา ไซทิซีน ยาเลิกบุหรี่ชนิดใหม่ ระหว่าง สสส. กับ
หาก 'หยุดสูบ' ไม่ได้ ลองใช้ 'ยาเลิกบุหรี่' มั้ย
รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา ในฐานะรองประธานเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ สนับสนุนโดย สสส. อธิบายเกี่ยวกับการพัฒนายาเลิกบุหรี่ ไซทิซีน ว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับบริการเลิกบุหรี่ด้วยยาชนิดนี้ 500 คน ซึ่งจะนำมาเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยาชนิดอื่นอีก 500 คน โดยจะวิเคราะห์ข้อมูลแล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนนี้ และเมื่อได้ผลการวิจัยที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว อภ.จะขึ้นทะเบียนยากับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จากนั้นจะผลักดันยานี้ให้เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติต่อไป
“ยาชนิดนี้มีต้นทุนการผลิตที่ไม่แพงเมื่อเปรียบเทียบกับยาเลิกบุหรี่ชนิดอื่นๆ ที่มีจำหน่ายอยู่แล้วในประเทศไทย มั่นใจ อภ.จะสามารถกำหนดราคาขายให้มีราคาถูกเพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงยาช่วยเลิกบุหรี่ที่ดีและราคาถูกได้อย่างทั่วถึง”
เมล็ดจามจุรีสีทอง (หรือที่เรียกว่า มะรุมป่า)
ให้ ‘ไซทิซีน’ ช่วยบอก "เราเลิก...กันเถอะ"
ยาเลิกบุหรี่ วิธีใช้คือ ค่อยๆ ลดยา
ไซทิซีนเป็นยาขนาด 1.5 มิลลิกรัม/เม็ด โดย 3 วันแรก จะต้องกินวันละ 6 เม็ด จากนั้นลดขนาดลงเรื่อยๆ เหลือ วันละ 5 เม็ด จากนั้นวันละ 4 เม็ด และวันละ 2 เม็ด ไปจนครบ 25 วัน
“ขณะนี้มีงานวิจัยในต่างประเทศที่พยายามหาวิธีการกินยาชนิดนี้ให้ง่ายขึ้น โดยพบว่า อาจกินแค่ครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3 เวลา ตลอด 25 วันไปเลยก็ได้ผลไม่ต่างกัน”
รศ.นพ.สุทัศน์ กล่าวต่อว่า ไซทิซีน เป็นยาที่ดี ปลอดภัย มีงานวิจัยนานาชาติรองรับมากมายว่า มีประสิทธิผลดีจริง จึงเป็นที่สนใจมากของหลายๆ ประเทศ นอกจากนี้ ยังมีความพยายามนำเอายานี้ ซึ่งเดิมไม่มีเจ้าของลิขสิทธิ์ยา เข้าไปจดทะเบียนที่สหรัฐอเมริกา เพื่อหวังผลเป็น ‘เจ้าของยา’ นี้เสียเอง
เมื่อเรายังไม่มียาชนิดนี้อยู่ในระบบบัญชียาของประเทศ จึงมีความจำเป็นที่ภาครัฐต้องรีบผลักดันยานี้เข้าสู่ระบบบัญชียาโดยเร็ว เพื่อให้ยานี้เป็นสมบัติของคนไทยทุกคนต่อไป
ไซทิซีน (Cytisine) ยาเลิกบุหรี่ที่คาดว่าจะวิจัยเสร็จสมบูรณ์ในเดือนมิถุนายนนี้
Source : WHO
เป้าหมายของโลก - ความหวังของเรา
เนื่องในวันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปี เป็น วันงดสูบบุหรี่โลก โดยปีนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดคำขวัญว่า COMMIT TO QUIT และตั้งเป้าว่าจะลดคนสูบบุหรี่ทั่วโลกให้เหลือไม่เกิน 9 ล้านคน ภายในปี 2568 หรือคิดเป็น 15% ของประชากรทั่วโลก
สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข กำหนดคำขวัญว่า เลิกสูบ ลดเสี่ยง คุณทำได้ เพื่อให้คนไทยเลิกบุหรี่ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย หรือลดอัตราการสูบบุหรี่ลง SPRiNG จึงนำแนวทางบำบัดการติดบุหรี่ ทั้งแบบใช้ยา - ไม่ใช้ยา หรือเดินทางไปยังบางสถานที่ ดังนี้
จะเห็นว่า แนวทางเลิกสูบบุหรี่ ไม่ได้มีทางออกเพียงทางเดียว สำคัญที่สุดคือ ใจของผู้สูบเอง ว่าสะดวกแบบไหน ใจพร้อมมั้ย ตั้งใจจริงหรือไม่ และทำเพื่อตัวเองหรือเพื่อใคร