svasdssvasds

อัปเวล ผ้าทอ สู่ หน้ากากผ้าไหม ทดแทนการใช้หน้ากากทางการแพทย์ได้จริง

อัปเวล ผ้าทอ สู่ หน้ากากผ้าไหม ทดแทนการใช้หน้ากากทางการแพทย์ได้จริง

เชื่อว่าแต่ละคนคงเห็นหน้ากากกันละอองฝอยสารพัดดีไซน์ หลากหลายนวัตกรรม แต่อาจไม่คาดคิดว่าจะมีหน้ากากผ้าฝีมือนักวิจัยไทยที่นำ ‘ผ้าไหมโคราช’ มาพัฒนาเป็น ‘หน้ากากผ้าไหม’ ที่บุคลากรทางการแพทย์สวมใส่ในหลายโรงพยาบาลโดยไม่รู้สึกอึดอัด

ผลงานหน้ากากผ้าไหมนี้พัฒนาโดยนักวิจัยไทยที่ทำงานภายใต้ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) นำ แสงซินโครตรอน ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ขั้นสูงมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาหน้ากากอนามัยและอุปกรณ์ป้องกันโรคโควิด 19

   ไม่ได้หิวแสง แต่จะพาไปรู้จักประเภทของแสงก่อน   

ถ้ายังจำกันได้ วิชาวิทยาศาสตร์ทำให้เรารู้ว่า แสงมีหลายประเภท และเรียกต่างกันไปตามช่วงความยาวของคลื่นแสง อาทิ

  • คลื่นวิทยุ (Radio Waves)
  • ไมโครเวฟ (Microwaves)
  • อินฟราเรด (Infrared)
  • แสงที่ตามองเห็น (Visible Light)
  • รังสีเอกซ์ (X-Rays)
  • รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet)
  • รังสีแกมมา (Gamma Rays)
  • ส่วนแสงซินโครตรอนนั้น เป็นแสงที่เกิดจากเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน และเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนก็อยู่ใน จ.นครราชสีมา นั่นเอง

เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน อัปเวล ผ้าทอ สู่ หน้ากากผ้าไหม ทดแทนการใช้หน้ากากทางการแพทย์ได้จริง

  ก้าวสู่ขั้นประยุกต์ใช้   

ทีนี้นักวิจัยก็ใช้แสงซินโครตรอนวิเคราะห์โครงสร้างสามมิติโดยนำ 'ผ้าไหมปักธงชัย' ของดีเมืองโคราชมาออกแบบ หน้ากากผ้าไหม เพื่อใช้ทดแทนหน้ากากทางการแพทย์ โดยเว็บไซต์ eeci ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติสำคัญของแสงซินโครตรอนไว้ว่า 

  • มีความสว่างจ้าของแสงมากกว่าเดิม 1 ล้านเท่า
  • รองรับระบบลำเลียงแสงได้สูงถึง 22 ระบบ

การใช้แสงซินโครตรอนที่สว่างจ้าวิเคราะห์โครงสร้างของเส้นใยผ้าจึงสามารถบ่งชี้ลักษณะของเส้นใย ขนาดเส้นด้าย และรูปแบบการทอ รวมถึงการกระจายตัวของช่องว่างภายในผ้าได้แบบสามมิติ ซึ่งจุดนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการกำหนด 'ประสิทธิภาพการกรอง' ของผ้าชนิดต่างๆ 

เมื่อเห็นรายละเอียดแบบสามมิติและทดลองประยุกต์ใช้โดยปรับเปลี่ยนขนาดเส้นไหมเป็นไหมควบ 3 เส้นและทอลายขัด 2 ตะกอ ซึ่งทดสอบแล้วพบว่าผ้าไหมนี้กรองอนุภาค PM 2.5 และ 0.3 ไมครอนได้มากถึง 85% ซึ่งดีกว่าผ้ามัสลินที่กรองได้เพียง 16-18% และที่พิเศษกว่าก็คือสามารถสวมหน้ากากผ้าไหมนี้เป็นเวลานานได้โดยไม่อึดอัด และยังป้องกันการกระจายของละอองฝอยน้ำลายได้ดีกว่าหน้ากากผ้าชนิดอื่น 

นอกจากนวัตกรรมนี้จะนำวิทยาศาสตร์ขั้นสูงมาช่วยยกระดับสิ่งทอจากเส้นใยธรรมชาติ ซึ่งเป็นวัสดุในท้องถิ่นของจังหวัด ยังสามารถสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มได้

  • เมื่อใช้ในการพัฒนางานวิจัยเชิงลึกเพื่อขยายขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม
  • เป็นนวัตกรรรมที่เปิดโอกาสให้นักวิจัยและภาคเอกชนเข้ามาใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอนได้มากถึง 1,300 โครงการต่อปี หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 3 เท่า และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้ประเทศได้ไม่น้อยกว่าปีละ 6,000 ล้านบาท 

หน้ากากผ้าไหม    สรุปคุณสมบัติและข้อดีของ หน้ากากผ้าไหมจากแสงซินโครตรอน  

  • ใช้ทดแทนหน้ากากทางการแพทย์ได้
  • เป็นหน้ากากผ้าที่ซักและนำกลับมาใช้ซ้ำได้โดยไม่มีผลต่อโครงสร้างผ้า จึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • กรองฝุ่นที่มีอนุภาคเล็กขนาด PM2.5 และ 0.3 ไมครอน ได้ถึงร้อยละ 85
  • สามารถกันละอองฝอยจากน้ำลายและแบคทีเรียได้ดีเทียบเท่ากับหน้ากากทางการแพทย์
  • ระบายอากาศได้ดี ให้ความรู้สึกเย็นและไม่ทำให้อึดอัดหากต้องสวมใส่เป็นเวลานานได้
  • เป็นการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ช่วยสร้างรายได้ให้ชาวบ้านผู้เลี้ยงไหม

ข่าวดีคือ งานวิจัยนี้ไม่ได้อยู่บนหิ้ง แต่มีการนำหน้ากากผ้าไหมไปใช้งานจริงที่โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา  จ.นครราชสีมา

ที่มา : 

related