svasdssvasds

เอไอวัดสัญญาณชีพทางไกล (CROMAS) อุปกรณ์ใหม่ใน รพ.สนาม อาคารนิมิบุตร

เอไอวัดสัญญาณชีพทางไกล (CROMAS) อุปกรณ์ใหม่ใน รพ.สนาม อาคารนิมิบุตร

เอไอวัดสัญญาณชีพทางไกล เป็นอุปกรณ์ใหม่ที่พัฒนาโดยคณาจารย์และนักศึกษาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ซึ่งเริ่มใช้จริงใน รพ.สนาม อาคารนิมิบุตร ช่วยให้แพทย์ที่อยู่ในโรงพยาบาลสนาม ตรวจวัดและติดตามอาการผู้ป่วยแบบใกล้ชิด-ไร้สัมผัส

Telehealth หรือ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการรักษาทางไกล จำเป็นอย่างมากในสถานการณ์วิกฤตโควิด 19 ยิ่งในระลอกใหม่ที่ขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ อุปกรณ์ เอไอวัดสัญญาณชีพทางไกล ก็ช่วยให้แพทย์ทำงานสะดวกขึ้น ลดความเสี่ยง และยังรู้ข้อมูลผู้ป่วยที่มีอาการหนักขึ้นได้แบบเรียลไทม์

เอไอ โรงพยาบาลสนาม ทดลองใช้ที่ รพ.สนาม อาคารนิมิบุตร

    ใครพัฒนา เอไอวัดสัญญาณชีพทางไกล?   

ทีมคณาจารย์และนักศึกษา จากภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นผู้พัฒนา โดยต่อยอดองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์จนสามารถพัฒนาเป็น เอไอวัดสัญญาณชีพทางไกล หรือ COVID-19 Remote & Offsite Monitoring Application Systems (CROMAS) และนำร่องใช้จริงที่โรงพยาบาลสนาม กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ณ อาคารนิมิบุตร (สนามกีฬาแห่งชาติ)

เอไอวัดสัญญาณชีพทางไกล ณ รพ.สนามนิมิบุตร เอไอวัดสัญญาณชีพทางไกล โรงพยาบาลสนาม สจล.     เอไอวัดสัญญาณชีพทางไกล วัดอะไรได้บ้าง ใช้งานยากไหม   

ดร.วิบูลย์ ปิยวัฒนเมธา อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. อธิบายว่า เอไอวัดสัญญาณชีพทางไกล เป็นการขมวดองค์ความรู้ด้านการแพทย์และปัญญาประดิษฐ์ โดยมี 2 องค์ประกอบสำคัญ คือ “อุปกรณ์ปลอกแขน” และ "เอไอ" หรือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ โดยช่วยให้แพทย์ได้ข้อมูลผู้ป่วยทั้ง

  • คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • อัตราการหายใจ
  • อัตราการเต้นของหัวใจ
  • ค่าออกซิเจนในเลือด (เปอร์เซ็นต์) อุณหภูมิ
  • ค่าความดันโลหิต
  • “เอไอ” ช่วยแพทย์วิเคราะห์พร้อมแสดงข้อมูลสัญญาณชีพผู้ติดเชื้อขั้นวิกฤตแบบเรียลไทม์ไปยังมอนิเตอร์ส่วนกลาง

ในด้านการใช้งาน ให้สวมที่แขนผู้ป่วยตั้งแต่วันแรกที่เข้าพัก เพื่อให้เครื่องทำหน้าที่ตรวจจับสัญญาณชีพหรือค่าต่างๆ ของผู้ป่วยโดยตรง ซึ่งฟังก์ชันดังกล่าวจะช่วยให้แพทย์วิเคราะห์แนวทางการรักษาได้อย่างทันท่วงที

นอกจากนี้ การติดตั้งอุปกรณ์ยังทำได้สะดวกและช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้บุคลากรทางการแพทย์เมื่อออกตรวจผู้ติดเชื้อ

ดร.วิบูลย์ ปิยวัฒนเมธา เอไอวัดสัญญาณชีพทางไกล     เอไอวัดสัญญาณชีพทางไกล ในแง่ต้นทุนและการเอื้อประโยชน์    

สำหรับอุปกรณ์ เอไอวัดสัญญาณชีพทางไกล มีต้นทุนอยู่ที่ชุดละ 90,000-100,000 บาท และในอนาคต สจล.ก็เตรียมพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์อื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ต่อไป

ปิดท้ายด้วยการช่วยเหลือสังคม หากหน่วยงานหรือผู้สนใจสนับสนุนอุปกรณ์ดังกล่าว หรือโรงพยาบาล/หน่วยงานสาธารณสุขใดสนใจอุปกรณ์ เอไอวัดสัญญาณชีพทางไกล นี้ ให้ติดต่อสอบถามที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. โทร. 0-2329-8000 ต่อ 3250

related