โรคไข้เลือดออก ภัยร้ายที่มาพร้อมกับหน้าฝน โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ผู้เป็นแล้วมีโอกาสเป็นซ้ำได้ ฉะนั้นจึงควรรู้เท่าทัน เพื่อป้องกันตนเองและคนที่เรารัก
โรคไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี ซึ่งมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์ DENV-1, DENV-2, DENV-3 และ DENV-4 การระบาดมักเกิดในช่วงฤดูฝน โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค และจะแพร่เชื้อสู่คนได้เมื่อถูกยุงลายกัด
ยุงลายเป็นยุงที่อาศัยอยู่ภายในบ้านและบริเวณบ้าน แหล่งเพาะพันธุ์ คือ น้ำใสที่ขังอยู่ตามภาชนะเก็บน้ำต่างๆ เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ถ้วยรองขาตู้ จาน ชาม กระป๋อง หม้อ กระถาง ยางรถ เป็นต้น
โดยทั่วไป โรคไข้เลือดออกจะพบมากในฤดูฝน เนื่องจากยุงลายมีการแพร่พันธุ์มากในฤดูฝน ซึ่งในอดีตจะพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมากในวัยเด็ก
ไข้เลือดออกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มอายุผู้ป่วยได้ขยายไปยังกลุ่มวัยรุ่น และผู้ใหญ่วัยทำงานมากขึ้น ทำให้ปัจจุบันตัวเลขของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
การรับวัคซีนป้องกันจึงอาจเป็นทางเลือกที่ดี สามารถป้องกันไวรัสเดงกีได้ถึง 4 สายพันธุ์ แต่ต้องบอกว่าการรับวัคซีนก็ไม่สามารถป้องกันได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ การดูแลตนเองและคนรอบข้างก็ยังถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยแนะนำให้ฉีดในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 9-45 ปี ผู้ที่เคยป่วยเป็นไข้เลือดออกมาก่อนก็สามารถฉีดได้
ร่างกายจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้เต็มที่เมื่อฉีดครบ 3 เข็ม โดยแต่ละเข็มฉีดห่างกัน 6 เดือน สามารถสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันไข้เลือดออกได้ 5-6 ปี นับจากวันที่ได้รับวัคซีนเข็มแรก
ส่วนผลข้างเคียงที่มักพบ ได้แก่ ปวดบริเวณที่ฉีด ปวดศีรษะ มีไข้ อ่อนเพลีย
อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร และผู้ที่มีไข้ รับวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก
วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกมีประโยชน์ มีอัตราการป้องกันโรคไข้เลือดออกได้สูง ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงเกิดโรค บุคคลที่มีข้อบ่งใช้ตามที่กำหนดก็สามารถไปฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกกันได้
อาการของโรคไข้เลือดออก
อาการและความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกที่เกิดขึ้นในวัยเด็กและผู้ใหญ่นั้นไม่ต่างกันมาก เนื่องจากอายุไม่ได้เป็นตัวชี้ชัดแน่นอน แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความรุนแรงที่ต่างกันของแต่ละสายพันธุ์ รวมไปถึงพันธุกรรมของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน แม้จะป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกสายพันธุ์เดียวกัน ก็มีอาการความรุนแรงไม่เท่ากัน โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกจะมาด้วยอาการเบื้องต้นที่เหมือนกัน ดังนี้
ไข้เลือดออกสามารถแบ่งได้ 3 ระยะด้วยกัน คือ
วิธีการรักษา
สำหรับผู้ป่วยที่เพิ่งมีไข้ แนะนำให้พักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำ รับประทานอาหารอ่อนๆ สามารถรับประทานยาพาราเซตามอลได้ ไม่ควรรับประทานยาไอบูโพรเฟนหรือแอสไพริน
หากผู้ป่วยมีไข้ได้ประมาณ 3-4 วัน แล้วไข้ไม่ลด แพทย์จะทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออกหรือไม่ หากเจาะเลือดแล้วพบว่าเกร็ดเลือดต่ำ แพทย์จะแนะนำให้นอนโรงพยาบาลเพื่อรับน้ำเลือด และติดตามสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิด เพราะผู้ป่วยอาจเข้าสู่ระยะวิกฤตได้ ปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสเดงกีโดยเฉพาะ
โรคไข้เลือดออก เป็นแล้วกลับมาเป็นอีกได้หรือไม่
โรคไข้เลือดออกมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ เพราะฉะนั้น คนหนึ่งคนสามารถเป็นไข้เลือดออกได้ถึง 4 ครั้ง เช่น หากเคยเป็นไข้เลือดออกสายพันธุ์ที่ 1 แล้วหาย ร่างกายจะมีภูมิต้านทานไข้เลือดออกสายพันธุ์ที่ 1 ซึ่งจะไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก แต่ก็มีโอกาสที่จะเป็นไข้เลือดออกสายพันธุ์อื่นๆ ที่เหลือได้ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคไข้เลือดออกครั้งแรกนั้น อาการมักจะไม่รุนแรงมากนัก แต่หากได้รับการติดเชื้อเป็นครั้งที่ 2 เมื่อใด อาการของผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถพบได้กับคนเป็นส่วนน้อยเท่านั้น
วิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออก
เนื่องจากไข้เลือดออกมีสาเหตุมาจากยุงลายเป็นพาหะนำโรค ดังนั้นควรกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านและชุมชน ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก ผศ. ดร. นพ. นพพร อภิวัฒนากุล สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มาบอกอาการ วิธีรักษา และวิธีป้องกัน โดยสามารถรับชมเพิ่มเติมได้ที่ : https://youtu.be/9gBWTJSU9CY