สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ แนะพ่อแม่ผู้ปกครองโรคไมเกรนในเด็กไม่อันตราย สามารถป้องกันได้ หลีกเลี่ยงแสงแดด การอดนอน นอนดึก อาหารแปรรูป การเล่นเกม ตลอดจนออกกำลังกายที่รุนแรง
เป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อย และสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก พบได้ตั้งแต่ช่วงวัยอนุบาล ปัจจัยเสี่ยง เกิดจากพันธุกรรม เด็กจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ถ้าสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคไมเกรน
เกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดในสมองที่มากเกินไป เนื่องด้วยสารเคมีในสมองที่ชื่อว่า เซโรโตนิน ทำงานไม่ปกติ โดยสารนี้ทำหน้าที่ควบคุมการหดขยายของหลอดเลือดในสมอง
-ไมเกรนที่ไม่มีอาการเตือน พบมากที่สุดในกลุ่มที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน
-ไมเกรนที่มีอาการเตือน อาการเตือนที่พบบ่อย ได้แก่ การมองเห็นผิดปกติ โดยจะเห็นแสงเป็นเส้นซิกแซกคล้ายฟันเลื่อย อาจจะมีหรือไม่มีสีหรือเห็นภาพมืดไปเป็นบางส่วน มองภาพไม่ชัด
สามารถสังเกตอาการได้จากเด็กมักบ่นปวดหัวทั้งที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และไม่มีปัญหาเรื่องสายตา ปวดศีรษะบริเวณขมับ หรือหน้าผาก แต่ละครั้งนานเกิน 1 ชั่วโมง ปวดมากเมื่อมีการเคลื่อนไหว คลื่นไส้อาเจียนในบางครั้ง
โรคไมเกรนในเด็กไม่มีอันตรายรุนแรง เพียงแต่จะกระทบต่อชีวิตประจำวันทำให้หงุดหงิดงอแงมากกว่าปกติ
-หลีกเลี่ยงแสงแดด โดยการใส่หมวก ใส่แว่นตา กางร่ม
-หลีกเลี่ยงอาหาร ช็อกโกแลต ชีส อาหารแปรรูป ไส้กรอก บะหมี่สำเร็จรูป เพราะอาหารเหล่านี้อาจมีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะ ไมเกรนได้
-หลีกเลี่ยงการอดนอน นอนดึก
-หลีกเลี่ยง การเล่นเกม การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ
-หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่รุนแรง และหักโหมมากเกินไป
-ควรพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ เมื่อมีอาการปวดศีรษะไม่รุนแรงมากนัก ให้นอนพัก
-ถ้าอาการปวดไม่ดีขึ้นให้ทานยาพาราเซตามอล จะช่วยบรรเทาอาการปวด แต่หากมีอาการปวดศีรษะรุนแรงมาก ไม่ดีขึ้น ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที