องค์กรชั้นนำ เข้ารับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ “องค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก” ประจำปี 2567 (Climate Action Leading Organization : CALO) สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในไทยที่เดินสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ “องค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก” ประจำปี 2567 (Climate Action Leading Organization : CALO) โดยมี ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ผู้แทนประธานเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย นายวรพงษ์ นาคฉัตรีย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์และบริหารความยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการเครือข่ายฯ ดร. ณัฐริกา วายุภาพ นิติพน รองผู้อำนวยการ และรักษาการผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ผู้บริหารและผู้แทนองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก และ สมาชิกเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย เข้าร่วมในพิธี
ในปี 2567 นี้ มีองค์กรที่ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ CALO จำนวนทั้งสิ้น 91 องค์กร
เป็นโล่ประกาศเกียรติคุณระดับยอดเยี่ยมจำนวน 23 องค์กร แบ่งเป็น
โล่ประกาศเกียรติคุณ CALO ระดับดีเด่น มี 68 องค์กร แบ่งเป็น
นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชื่นชมและแสดงความยินดีกับองค์กรที่เข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณ CALO ที่ได้แสดงความเป็นผู้นำและรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็น Climate Action Leading Organization ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมคาร์บอนต่ำของประเทศไทยสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
“ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียงร้อยละ 0.9 ของโลก แต่ติดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศแรกที่จะได้รับผลกระทบสูงสุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว ซึ่งนั่นหมายถึงความสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ และก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนชาวไทย”
ดังนั้น กิจกรรมการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณจัดขึ้นเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติองค์กรสมาชิกในภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกขององค์กรอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ Net Zero Greenhouse Gas Emissions ในปี ค.ศ. 2065
ดร.ณัฐริกา วายุภาพ นิติพน รองผู้อำนวยการ และรักษาการผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ในฐานะเลขานุการเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย กล่าวว่า การจัดพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณในครั้งนี้ ซึ่งเป็นการจัดปีที่ 2 ถือเป็นโอกาสอันดีในการเชิดชูเกียรติผลงาน และเป็นขวัญกำลังใจให้กับองค์กร CALO ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีขององค์กรในประเทศไทย ในการบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแสดงถึงความมุ่งมั่นขององค์กรที่มีความตระหนัก และใส่ใจต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน
----------------------------------------------------------
ความสำคัญและที่มาขององค์กร CALO
เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) ได้มีการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ แชร์ประสบการณ์ ส่งเสริมความรู้ให้กับองค์กรสมาชิกในการบริหารจัดการและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรสมาชิกในการกำหนดเป้าหมายมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality หรือ Net Zero GHG Emissions ในระดับองค์กร โดยได้ร่วมกับสำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ UNFCCC secretariat พัฒนาหลักเกณฑ์การรับรองสมาชิกประเภท “องค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก (Climate Action Leading Organization หรือ CALO)” ขึ้น
องค์กรที่จะได้รับการรับรองเป็นองค์กร CALO ได้ จะต้องมีการส่ง pledge แสดงเจตนารมณ์ในการดำเนินงานมุ่งสู่การเป็น Carbon Neutrality หรือ Net Zero GHG Emissions ในระดับองค์กร ภายในปี 2050 โดยมีเป้าหมายและแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน และจะต้องมีการรายงานผลการดำเนินงานต่อเนื่องทุกปี เพื่อทำการประเมินระดับขององค์กร ซึ่งจะประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่
1. การตรวจวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการประกอบกิจการของตนเอง
2. การกำหนดแผนการลดก๊าซเรือนกระจกและดำเนินกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยตนเองให้ได้มากที่สุดตามความเหมาะสม และ
3. การชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกคงเหลือด้วยคาร์บอนเครดิต
ซึ่งนับตั้งแต่มีการประกาศใช้เกณฑ์ CALO ในปัจจุบันมีองค์กรที่ส่ง pledge เข้ามาแล้วถึง 125 องค์กร และในปี 67 นี้ มีองค์กร CALO ที่ส่งรายงานผลการดำเนินงานเข้ามา 91 องค์กรด้วยกัน ซึ่งได้ผ่านการกลั่นกรองผลจากคณะผู้เชี่ยวชาญภายนอก และการรับรองผลการประเมินจากคณะกรรมการเครือข่าย TCNN เป็นที่เรียบร้อยแล้ว