นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา เผยผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 เมื่อไปอยู่รวมกันที่โรงพยาบาลสนาม สามารถติดเชื้อกันเองได้ แต่โอกาสที่จะเกิดขึ้นมีไม่มาก
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยาไบโอเทค-สวทช. ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana โดยระบุว่า
คำถามที่ว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ไปอยู่ด้วยกันที่โรงพยาบาลสนาม สามารถติดเชื้อกันเองได้มั้ย? คำตอบในมุมมองของผมคือ "ได้" ครับ แต่ โอกาสเกิดขึ้นจะไม่มาก ปกติถ้าเราติดเชื้อไวรัสอยู่ร่างกายมักจะสร้างสารต้านไวรัส (เรียกว่า Interferon) มาไว ซึ่งการที่ไวรัสอีกชนิดนึงมาติดมักจะผ่านด่านนี้ไม่ค่อยได้ คล้ายๆกับเป็นกลไกที่ร่างกายป้องกันการติดเชื้อซ้ำนั่นเอง
แต่ นักไวรัสวิทยาทราบดีว่า กลไกหนึ่งที่ไวรัสใช้ในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง คือ Recombination ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อมี สารพันธุกรรมของไวรัสอย่างน้อย 2 สายพันธุ์ที่ต่างกัน มาอยู่ในโฮสต์ในเวลาเดียวกันแล้วสามารถแลกเปลี่ยนบางส่วนของสารพันธุกรรมซึ่งกันและกันได้ ลักษณะแบบนี้ทำให้เราเชื่อว่า ไวรัสสามารถเข้าไปอยู่ในโฮสต์พร้อมๆกันได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• สธ. แนะผู้ป่วยโควิด-19 รอจัดหาเตียง ไม่ต้องโทรหาสายด่วนหลายแห่ง
• เช็กเลย! อัปเดตจำนวน "เตียง" รักษาผู้ป่วยโควิด ในโรงพยาบาล กทม.
• เตือน! ถ่ายภาพ-ไลฟ์สด ติดผู้ป่วยใน รพ.สนาม ระวังมีความผิด
• หมอ รพ.สนาม-Hospitel หนักใจ! เล่าเป็นข้อๆ ผู้ป่วยไม่ยอมปฏิบัติตามกฎ
มีข้อมูลจากผู้ป่วยที่โปรตุเกสที่ไวรัสได้ทำการถอดรหัสก่อนเข้าโรงพยาบาลพบว่า เป็น clade 20A พอไปอยู่ที่โรงพยาบาลร่วมกับผู้ป่วยรายอื่นประมาณ 8 วัน ตัวอย่างไวรัสที่ถอดรหัสออกมาได้ มี clade 20A เหมือนเดิม แต่ ไปพบ clade 20B มาได้ด้วย (3%) หลังจากนั้นอาการดีขึ้น ให้กลับไปรักษาตัวที่บ้านต่อ อีกสองเดือนกลับมาใหม่ด้วยอาการโควิดอีก คราวนี้ไวรัสที่ถอดรหัสได้เป็น clade 20B แบบเต็มๆ ... ยังไม่ชัดว่าตกลงที่ป่วยครั้งที่ 2 คือ การติดซ้ำ หรือ เป็น clade 20B ที่อยู่รับมาตั้งแต่ตอนมาพักร่วมกับคนอื่นหรือเปล่า...เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นไม่ง่าย แต่ ก็เกิดขึ้นได้ครับ