รพ.ราชวิถี เผย ผู้ป่วย "โควิด-19" ร้อยละ 70-80 ผู้ป่วยไม่มีอาการเลย หรือ มีอาการจะน้อยมาก โดยมีอาการเพียงร้อยละ 20 ซึ่งถ้าหากมา รพ.เร็ว มีโอกาสรักษาหายสูง
โควิด 19 นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ ระบุถึงการรักษา ที่ผ่านมา รพ.กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลเตรียมเตียงไว้ทั้งหมด ประมาณ 2,000 เตียง ซึ่งยังไม่รวมเตียงในส่วนผู้ป่วยวิกฤต ICU และเตียง รพ.สนาม ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโควิด-19 รักษาอยู่ใน รพ.เอกชน
ขณะที่สถานการณ์ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ผ่านมา ที่รักษาใน รพ.สังกัดกรมการแพทย์ ประมาณ 223 ราย แบ่งเป็น เพศชาย ร้อยละ 55 เพศหญิง ร้อยละ 45 อายุตั้งแต่ 5 เดือน - สูงสุด 80 ปี คนไทยร้อยละ 86 และต่างชาติร้อยละ14 โดย เสียชีวิต 6 ราย คงเหลือตอนนี้รักษาอยู่ในโรงพยาบาล 12 ราย
ผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่ รักษาอาการในโรงพยาบาล ตั้งแต่ 2 วัน ถึง 37 วัน หรือ เฉลี่ยผู้ป่วยที่นอนรักษาในรพ.สังกัดกรมการแพทย์ ประมาณ 12.2 วัน
ทั้งนี้ความสำเร็จในการรักษา จะต้องเตรียมความพร้อม มีการจัดการระบบ ทั้งสถานที่ อุปกรณ์ และทักษะของแพทย์
ด้านผศ.นพ.พจน์ อินทลาภาพร อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ หัวหน้างานโรคติดเชื้อกลุ่มงานอายุศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี ระบุว่า โรงพยาบาลราชวิถี เป็นศูนย์การกระจายเตียงและการรักษาตั้งแต่มีการระบาดได้มีการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ตั้งแต่ไม่มีอาการ จนถึงอาการรุนแรง เน้นรักษาอาการผู้ป่วยปานกลางถึงอาการหนักก่อน
จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ทั้งหมด 69 ราย ผู้ป่วยปอดอักเสบทั้งหมดในโรงพยาบาล 33 มีปอดอักเสบรุนแรง 10 ราย รักษาหาย 64 ราย เสียชีวิต 4 ราย
ผศ.นพ.พจน์ อินทลาภาพร โรงพยาบาลราชวิถี ระบุอีกว่า ร้อยละ 70-80 ผู้ป่วยไม่มีอาการเลย หรือ มีอาการจะน้อยมาก โดยมีอาการเพียงร้อยละ 20 / อาการรุนแรงร้อยละ 5-10 / อาการแสดงตั้งแต่ มีไข้ ไอ เจ็บ คอ / อีกส่วนคือ ไม่มีไข้ แต่ไอ เจ็บคอ / และอาการ จมูกไม่ได้กลิ่น แต่พบเพียงแค่ส่วนหนึ่งของผู้ป่วยโควิด-19เท่านั้นไม่ใช่ทั้งหมด / ซึ่งอาการจมูกไม่ได้กลิ่น สามารถพบได้ในกลุ่มผู้ป่วยไซนัสอักเสบ และผู้ป่วยภูมิแพ้
ทั้งนี้ยังได้อธิบายถึงการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 โดยได้ยกตัวอย่างมา 3 ราย เริ่มจาก เพศหญิง 31 ปี ซึ่งเป็นผู้ป่วยรายแรก ที่แพทย์ให้ยาฟาวิพิลาเวียร์ โดยคนไข้เริ่มจากอาการไข้หนาวสั่น 11 วัน 5 วัน เริ่มไอ เหนื่อย แอทมิท รพ.เอกชน อาการไม่ดีขึ้น ส่งต่อมายัง รพ.รัฐ โดย หลังจากให้ยาต้านไวรัส ฟาวิพิลาเวียร์ และยาชนิดอื่นร่วมด้วย อาการดีขึ้น ไม่พบไวรัส ใน 3 วัน
จึงเป็นที่มาของแนวทางการรักษาในการให้ยาในผู้ป่วยรายอื่น และนำไปสู่การจัดหายาฟาวิพิลาเวียร์จากต่างประเทศ
บทเรียนรายที่ 2 ผู้ป่วยอายุมาก 55 ปี มีไข้ไอ 13 วันก่อนมายัง รพ. เมื่อมาถึง รพ.อาการหนักแล้ว เสี่ยงต่ออาการรุนแรง เนื่องจากมารับการรักษาช้า ไม่มีโรคประจำตัว ให้ยาต้านไวรัส จากนั้น 4วัน เสียชีวิต
จึงย้ำประชาชน ถ้ามีอาการไม่ควรปกปิด รีบมาพบแพทย์ทันที เนื่องจากมารักษาช้า โอกาสเสียชีวิตสูง. อีกราย หญิงไทย 57 ปี เป็นผู้ป่วยที่มาจากการสอบสวนโรค นอน รพ. 4 วัน จากนั้น ปอดเริ่มอักเสบ มีการให้ยาต้านไวรัสฟาวิพิลาเวียร์
ทั้งนี้หลังจากมีการติดเชื้อ หรือเริ่มมีอาการ วันที่ 5-7 วัน ผู้ป่วยโควิด จะเริ่มมีอาการปอดอักเสบ รายนี้รักษาหาย ถึงแม้อายุมาก เนื่องจาก เข้ารับการรักษาเร็ว ให้ยาเร็ว
ทั้งนี้ นายแพทย์ อนุพงศ์ สุจริยกุล ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค ระบุว่า ถึงแม้ผู้ป่วยโควิด19 จะลดลง แต่ยังคงมาตราการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก ยังคงต้องดำเนินการต่อไป หากสถานการณ์ดีอย่างนี้ต่อไปเรื่อย 14 วัน การกลับมาใช้ชีวิตปกติใหม่ หรือ New normal คงไม่ใช่เรื่องยาก และอาจจะมีการปลดล็อคมาตรการเพิ่มขึ้นในวันที่ 17 พฤษภาคมนี้ โดยหากการ์ดตก การระบาดรอบ 2 อาจเกิดขึ้นได้ อาจเจอภาวะผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเหมือนในหลายประเทศ หากประมาท ไม่ป้องกันอย่างต่อเนื่อง