svasdssvasds

กลุ่มธุรกิจ TCP เปิดเวทีชูแนวคิดยืดหยุ่นและปรับตัวเร็ว รับวิกฤตน้ำ

กลุ่มธุรกิจ TCP ปลุกพลังเรียนรู้ ชวนผู้เชี่ยวชาญ และพันธมิตร ร่วมแชร์ไอเดีย วิธีรับมือ และปรับตัวกับความท้าทายเรื่องน้ำ เพื่อฟื้นคืนน้ำ คืนพลังโลก ท่ามกลางสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป ในเวที TCP Sustainability Forum 2024: Water Resilience in a Changing Climate

งาน TCP Sustainability Forum 2024

จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านความยั่งยืน และส่งเสริมความร่วมมือของพันธมิตรในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDGs) และเตรียมรับมือจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หัวข้อหลักของการจัดประชุมในครั้งนี้คือ “Water Resilience in a Changing Climate” ภายใต้แนวคิด  Water Resilience ที่เป็นความสามารถในการจัดการน้ำเพื่อธรรมชาติและมนุษย์ ให้สามารถอยู่รอดได้ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ซึ่งเรื่องของน้ำเป็น 1 ใน 5 ประเด็นสำคัญระดับโลกที่มีการเรียกร้องให้ภาคธุรกิจเปลี่ยนแปลงให้เร็วที่สุดก่อนปี ค.ศ.2030 งานนี้เป็นเวทีแรกและเวทีเดียวในประเทศไทยที่ส่งเสริมความร่วมมือด้านความยั่งยืนในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

ทำไมต้อง “ Water Resilience ” เรื่องของทรัพยากรน้ำ เราคุยเรื่องของ การปรับตัว กันมานานมากแล้ว ครั้งนี้จะเป็นการพูดคุยเพื่อต่อยอด ในการยืดหยุ่น กับสถานการณ์ที่รุนแรงขึ้นเราจะรับมือได้ยังไง ?

ภายในงานจะแบ่งการเสวนาออกเป็นทั้งหมด 3 ช่วงด้วยกัน
ช่วงแรก : เป็นการปาฐกถาพิเศษ เรื่องทิศทางเศรษฐกิจและโจทย์ใหม่ประเทศไทย โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ช่วงที่สอง : Water Resilience: ความท้าทายด้านน้าและการปรับตัวของภาคธุรกิจ

  • การปรับตัวรับมือกับอนาคต โดย คุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP
  • มาตรฐานและแนวทางการปรับตัวของธุรกิจ โดยคุณประสิทธิ์ ไวยาวัจมัย กรรมการบริษัท อีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด
  • สถานการณ์น้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย โดย ดร.เพชร มโนปวิตร ที่ปรึกษาองค์การสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ และเลขาธิการมูลนิธิโลกสีเขียว

ช่วงที่สาม : การอภิปรายอนาคตและทางออกของการปรับรับมือการเปลี่ยนแปลงด้านน้ำและสภาพภูมิอากาศ  โดยเหล่านักวิชาการ

  • ดร.รอยบุญ รัศมีเทศ ผู้อํานวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ
  • ดร.กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
  • คุณอุกฤษ อุณหเลขกะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง รีคัลท์ ประเทศไทย
  • อ.ด.ร.นาอีม แลนิ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ดร.ธานิษฎ์ กองแก้ว ผู้อำนวยการด้านความยั่งยืน มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง

หากมองไปข้างหน้า ประเทศไทยมีโอกาสที่จะขาดแคลนน้ำรุนแรงขึ้น ฝนจะมีปริมาณน้อยลงมีโอกาสที่จะเกิดภัยแล้งหนักสุดในรอบ 20 ปี แน่นอนว่าทรัพยากรน้ำเป็น 1 ในทรัพยากรที่มีความสำคัญมากที่สุดของประเทศเกี่ยวข้องกับทุกภาคเศรษฐกิจ ตั้งแต่สุขภาพจากการอุปโภคบริโภค ภาคพลังงานกับการผลิตไฟฟ้า ภาคเกษตรกับการผลิตอาหาร ซึ่งถ้าเราสามารถต้านทานความเปลี่ยนแปลงได้ดี มีความยืดหยุ่น เศรษฐกิจ ธุรกิจและประเทศก็จะเดินหน้าต่อไปได้

related