"ประธานสภา" สำคัญแค่ไหน มีหน้าที่อะไรบ้าง? ทำไม อ.ปิยบุตร ถึงออกมาบอกว่า พรรคก้าวไกลจะเสียตำแหน่งนี้ไปให้พรรคอื่นไม่ได้ เดี๋ยวสรุปให้ฟัง
ประธานสภามีหน้าที่อะไรบ้าง
1. เป็นประธานของที่ประชุม
2. กำกับดูแลการดำเนินกิจการของสภา
3. ควบคุมการรักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุม ตลอดถึงบริเวณสภา เช่น การยุติการอภิปรายของสมาชิก ส.ส. ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวด้วยวาจา ปิดไมค์ ใช้ค้อนทุบ หรือยืนขึ้น
4. เป็นผู้แทนสภาในกิจการภายนอก
5. แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใด ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสภา
6. เป็นผู้นำชื่อนายกรัฐมนตรี ขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อให้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกฯ หลังสภาฯ มีมติเลือก
7. เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกฯ
8. การบรรจุญัตติเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม กำหนดวิธีการตรวจสอบองค์ประชุม สั่งพักการประชุม เลื่อนการประชุมหรือเลิกการประชุมได้ตามที่เห็นสมควร
การเสนอ ญัตติ ต้องส่งล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานสภา และต้องมีจำนวน สมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 5 คน และถ้าญัตติไหนที่ต้องมีการแต่งตั้งกรรมาธิการหรือ ขอให้คณะกรรมาธิการสามัญคณะใดร่วมพิจารณาหรือศึกษาหเรื่องไหน ต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 20 คน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ก่อนมีประธานสภาอย่างเป็นทางการ ในสภาจะให้ ส.ส ที่มีอายุสุงสุดมาเป็นประธานสภาชั่วคราว เพื่อให้มีการประชุมเพื่อเลือกประธานสภาและรองประธานสภา การเลือกประธานสภา ส.ส.แต่ละท่านสามารถเสนอชื่อได้คนละ 1 ชื่อ การเสนอต้องมี ส.ส. ลงชื่อรองรับไม่น้อยกว่า 20 คน ผู้ถูกเสนอชื่อสามาแสดงวิสัยทัศน์ได้ และไม่มีการอภิปราย
แต่ถ้ามีการเสนอชื่อประธานสภาเพียงคนเดียว ส.ส.ท่านนั้นจะได้เป็นประธานสภาทันที
ที่ผ่านมาช่วง 20 ปีคนที่ได้เป็นประธานสภาทุกคนมาจากพรรคที่ชนะการเลือกตั้ง หรือพรรคที่มีประชาชนลงคะแนนเสียงให้มากที่สุด มีเพียงปี 62
หรือการเลือกตั้งครั้งก่อนเพียงปีเดียวที่ประธานสภามาจากพรรคร่วมรัฐบาล คือ คุณชวน หลีกภัย จากพรรคประชาธิปัตย์