กกต. เปิดงบประบริจาคให้พรรคการเมือง เดือนมกราคม 2566 พรรคไหนได้เงินบริจาคเยอะสุด และเงินบริจาคมาจากไหนบ้าง
เงินบริจาคแต่ละพรรคการเมือง กกต. เปิดเผยเมื่อวันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมาเป็นข้อมูลเงินบริจาคช่วงเดือน มกราคม 66
พรรคที่คนบริจาคเข้ามาเยอะที่สุด คือพรรคของลุงตู่ "พรรคร่วมไทยสร้างชาติ" มียอดบริจาค 26 ล้านบาท
รายชื่อคนบริจาคที่น่าสนใจคือ
1. นางสาวสุทธาพัฒน์ อมรเรืองตระกูล
2. รศ.ดร. ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธกุล ชัยรุ่งเรือง
3. นางสาว เสาวณี อนุกูล
บริจาคคนละ 5 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีเอกชน 3 แห่ง บริจาคเงินให้พรรคด้วย
1. บริษัท เอ็มเอส อินเตอร์ลอร์ จำกัด 1 ล้าน
2. บริษัทสยาม มือทอง จำกัด 1 ล้าน
3. ห้างหุ้นส่วนสามัญ เขาใหญ่พาราไดซ์ ออนเอิร์ท สำนักงานใหญ่ 5 แสน
อันดับที่ 2 คือ "พรรคเพื่อไทย" ได้เงินบริจาคมาทั้งหมด 12 ล้าน มีกลุ่มบริจาคที่น่าสนใจ คือ
1. บริษัท คลีน คลีน จำกัด 3 ล้านบาท
2. บริษัท อิมพีเรียล เวิลด์ ไอซ์สเก็ตติ้ง จำกัด 2 ล้าน
3. บริษัท เวิลด์ เทคโนโลยี จำกัด 2 ล้าน
4. บริษัท บิสิเนส ทาวน์ จำกัด 3 ล้าน
5. บริษัท ตั้งเซ่งฮงหนองคายจำกัด 2 ล้าน แบ่งเป็นการบริจาค 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ล้านบาท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อันดับที่ 3 "พรรคชาติไทยพัฒนา" มียอดบริจาคทั้งหมด 9.8 ล้าน คนที่บริจาคคือ คุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา คุณแม่ของคุณวราวุธ ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา
อันดับที่ 4 "พรรคภูมิใจไทย" ของคุณอนุทิน ชาญวีรกุล ได้เงินบริจาค 1.97 ล้าน
อันดับที่ 5 "พรรคชาติไทยพัฒนากล้า" มียอดบริจาคทั้งหมด 1.7 ล้าน
มียอดบริจาคเข้ามา 2 ยอดคือ
1. นายอรรถวิชช์ สุววรณภักดี 1 ล้านบาท
2. นางสัญญบักษณ์ กาญจนวัฒนา 7แสนบาท
อันดับที่ 6 "พรรคไทยศรีวิไลย์ มียอดบริจาคทั้งหมด" 1.3 ล้าน
อันดับที่ 7 "พรรคประชาชาติ มียอดบริจาค" 8.3 แสน
อันดับที่ 8 "พรรครวมพลัง" มียอดบริจาค 8 แสน
อันดับที่ 9 "พรรคเศรษฐกิจไทย" มียอดบริจาค 7.1 แสน
อันดับที่ 10 "พรรคก้าวไกล" มียอดบริจาค 5.71 แสน
อันดับที่ 11 "พรรคประชาธิปัตย์" 5.27 แสน
อันดับที่ 12 "พรรคพลังปวงชนไทย" 3 แสน
อันดับที่ 13 "พรรคทางเลือกใหม่" 3แสน
อันดับที่ 14 "พรรครักษ์ธรรม" 2.1หมื่น
กกต. เปิดเผยตัวเลข ค่าใช้จ่าย "หาเสียงเลือกตั้ง 2566" โดยแบ่งเป็น การกำหนดวงเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ส.ส. ประจำปี 2566 ผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขต ให้คำนวณค่าใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ยุบสภาจนถึงวันเลือกตั้ง โดย ส.ส. แบบแบ่งเขต 400 เขตทั่วประเทศ ใช้จ่ายได้ไม่เกินคนละ 1.9 ล้านบาท พรรคละไม่เกิน (ส.ส. บัญชีรายชื่อ) 44 ล้านบาท
แต่ถ้าเกิดกรณีมีการจัดเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งจะแบ่งส่วนนี้ออกเป็น 3 กรณี คือ
1. เลือกตั้งใหม่ก่อนประกาศผล
ส.ส. แบบแบ่งเขต(กรณีรับสมัครใหม่) ไม่เกินคนละ 950,000 บาท
ส.ส. แบบแบ่งเขต (กรณีใช้ส.สท่านเดิม) ไม่เกินคนละ 630,000 บาท
2. เลือกตั้งใหม่หลังประกาศผล หาส.ส มาแทนตำแหน่งที่ว่าง
ส.ส. แบบแบ่งเขต ไม่เกินคนละ 1.9 ล้านบาท
3. เลือกตั้งใหม่เนื่องจากคนกาไม่ลงคะแนนเสียงมากกว่า
ใช้งบในการหาเสียงได้ไม่เกินคนละ 9.5 แสนบาท