svasdssvasds

สรุปให้ น้ำมันดิบรั่วลงทะเล ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง?

สรุปให้ น้ำมันดิบรั่วลงทะเล ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง?

สรุปให้ เหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วลงทะเลศรีราชา หนึ่งในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยในทะเลไทย แล้วจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมยังไงบ้าง รัฐไทยควรได้บทเรียนอะไรจากเรื่องนี้?

เมื่อเวลา 21.00 น วันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมา เกิดเหตุน้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเลจากเรือบรรทุกน้ำมัน ของบริษัทไทยออยล์ ขณะขนถ่ายน้ำมันดิบกลางทะเลบริเวณ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

ซึ่งทางบริษัทร่วมกับกรมเจ้าท่าก็ได้เข้าควบคุมสถานการณ์แก้ปัญหาทันที ด้วยการปิดวาล์วท่อน้ำมันดังกล่าว และวางทุ่นล้อมคราบน้ำมัน รวมถึงเร่งกำจัดคราบน้ำมันให้ได้มากที่สุดก่อนสภาพอากาศจะพัดพาน้ำมันไปไกลมากขึ้น

ต่อมาทางบริษัทก็ได้ออกมาแจ้งว่า สามารถกำจัดคราบน้ำมันได้แล้วกว่า 80% ด้วยการใช้สารเคมีขจัดคราบน้ำมัน (Dispersant) จำนวน 6,000 ลิตร ตามที่กรมควบคุมมลพิษได้อนุมัติไปให้

สรุปให้ น้ำมันดิบรั่วลงทะเล ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง? จากการคาดการณ์ของกรมควบคุมมลพิษ คาดการณ์ว่า การเคลื่อนตัวของน้ำมัน จะขึ้นฝั่งประมาณวันที่ 8-10 กันยายนนี้ บริเวณเกาะค้างคาว อ่าวอุดม และอาจรวมถึงหาดวอนนภา จ.ชลบุรี ก็เตือนประชาชนอย่าเพิ่งสัมผัสน้ำทะเลในบริเวณดังกล่าวไปก่อน

อย่างไรก็ตาม กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ทำการสั่งให้เจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างน้ำบริเวณที่เกิดเหตุและสำรวจระบบนิเวศในพื้นที่ต่อไป เพื่อป้องกันความเสียหายต่อทรัพยากรทางทะเล

วิธีการกำจัดน้ำมันรั่วทั่วโลกมีอยู่หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น การปล่อยให้สลายไปตามธรรมชาติ (ไม่มีใครใช้วิธีนี้แล้ว) การกักเก็บ การใช้สารเคมีขจัดคราบที่เราใช้อยู่ การเผา และทำความสะอาดชายฝั่ง แต่ไม่ว่าจะกำจัดอย่างไร สิ่งที่มั่นใจได้ว่าจะหลงเหลือไว้คือความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ค่ะ เราจะเห็นข่าวการรั่วไหลของน้ำมันในทะเลไทยมากขึ้น ซึ่งจริง ๆ แล้วมันส่งผลกระทบยาวนานต่อสิ่งแวดล้อมและอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวด้วย

สรุปให้ น้ำมันดิบรั่วลงทะเล ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง? ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอาจจะไม่เกิดให้เราเห็นได้ทันทีนะคะ แต่มันจะคงอยู่ระยะยาวและค่อย ๆ ซึมลึกสู่ใต้น้ำจากสารพิษตกค้าง จากการรวบรวมข้อมูลจาก NOAA และงานวิจัยระดับโลก Britannica เผยว่า สิ่งจะกระทบแน่ ๆ เลยคือสิ่งต่อไปนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  1. สัตว์น้ำ - ทั้งที่ชอบอยู่บนผิวน้ำและใต้น้ำ เมื่อน้ำมันดิบปิดกั้นออกซิเจนผิวน้ำก็ทำให้ออกซิเจนใต้น้ำขาดหายไปด้วย รวมถึงน้ำมันอาจไปเกาะตัวแน่นบนตัวของสัตว์น้ำได้ง่าย และสัตว์น้ำก็มีสารเคมีตกค้าง ซึ่งเราอาจจับมากินในเวลาต่อมา
  2. นก – นกชอบกินอะไรตามผิวน้ำ และตามชายหาดซึ่งมันอาจกินสิ่งปนเปื้อนน้ำมันเข้าไปได้ อีกทั้ง เมื่อนกถูกปกคลุมไปด้วยน้ำมัน มันจะทำให้ขนนกไร้ประโยชน์ เพราะมันไปทำให้ฉนวนบนขนนกลดประสิทธิภาพลง ความอบอุ่นในร่างกายจึงลดลง จนนำไปสู่ความตายในท้ายที่สุด ซึ่งรวมถึงสัตว์มีขนชนิดอื่นๆ ด้วยไม่ใช่แค่นก
  3. แหล่งอาหารของสัตว์น้ำ - การรั่วไหลของน้ำมันที่ล่องลอยอยู่เหนือผิวน้ำนั้น ส่งผลให้ออกซิเจนในน้ำลดลงและแสงส่องไม่ถึงพืชทะเลที่เป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ อย่าง ปะการัง และหญ้าทะเล
  4. การท่องเที่ยวและชุมชน - ชุมชนและที่พัก ร้านค้าต่างๆจะได้รับผลกระทบจากการสูญเสียนักท่องเที่ยว หลังเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่ว คนจะหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าสู่พื้นที่เสี่ยงภัยมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจชุมชนเป็นวงกว้าง
  5. อาชีพประมงต้องหยุดชะงัก – เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ประมงพาณิชย์และประมงท้องถิ่นในพื้นที่จะถูกสั่งห้ามเดินเรือทันที เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการจับสัตว์น้ำผนเปื้นสารเคมีขึ้นมาบริโภค

เข้าใจได้นะคะว่าอุบัติเหตุเหล่านี้ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่สิ่งที่เราควรได้บทเรียนจากเรื่องนี้คืออะไรนี่คือคำถามสำคัญ จากการสอบถามกับอาจารย์ธรณ์ ธำรงค์นาวาสวัสดิ์ อาจารย์เสนอว่า ตามปกติแล้ว บริษัทเหล่านี้จะมีการทำ EIA กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำสัญญาการดูแลท่อส่ง เช่น กำหนดการตรวจสภาพท่อในช่วงกี่ปี การดูแลรักษาท่อส่งเพื่อไม่เกิดการสึกกร่อน

สรุปให้ น้ำมันดิบรั่วลงทะเล ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง? ปัญหาของเราคือช่วงการตรวจของ EIA อาจจะนานเกินไป แม้ตรวจตามรอบกำหนดก็ยังรั่วได้  เช่น EIA กำหนดให้ตรวจ 5 ปี ผ่านไป 2 ปีก็รั่วแล้ว ท่อสิ่งน้ำมันที่ใช้อยู่ส่วนใหญ่เป็นท่อที่ผลิตในต่างประเทศ เมื่อมาอยู่ในทะเลไทยเกิดการกัดกร่อนมากขึ้น เพราะทะเลไทยมีเพรียงทะเลมากกว่า ซึ่งสิ่งที่ควรทำคือ เปลี่ยนกฎ EIA ให้มีการตรวจสอบอุปกรร์และท่อให้บ่อยขึ้น ถี่ขึ้น 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related