Keep The World พาทัวร์ชุมชนเคหะสถานเจริญชัย ชุมชนต้นแบบที่มีระบบการจัดการขยะแบบยุติธรรมและเรียบร้อย นำขยะไปต่อยอดและสร้างมูลค่าให้กับชุมชนได้
ใครว่าขยะแยกยาก ลองมาดูงานที่ชุมชนนี้ดูไหม ชุมชนเคหะสถานเจริญชัย ชุมชนต้นแบบในกรุงเทพที่รักษามาตรฐานการคัดแยกขยะเป็นระบบและเรียบร้อย ที่ตั้งอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลแค่จตุจักรนี่เอง
ชุมชนแห่งนี้ประชากรประมาณ 300 คน 70 กว่าครัวเรือน มีรูปแบบการจัดการขยะที่น่าชื่นชมมาก ๆ เข้าชุมชนมาก็เจอกับถังขยะสีแดง ถังขยะติดเชื้อที่คนในชุมชนสามารถนำแมสก์ หลอดไฟ หรือขยะติดเชื้อต่าง ๆ มาทิ้งได้ที่จุดนี้ ถัดมาอีกนิดก็เป็นซุ้มแยกขยะไม่ใหญ่มาก เป็นศูนย์รวมสำหรับการแยกขยะแต่ละประเภทออกจากกัน โดยจะมีหน่วยงานแยกคือป้าน้าที่ทำงานเป็นแม่บ้านและว่างงานมาช่วยกันแยกให้เป็นระเบียบ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เช็กราคา ค่ากำจัดของเสียอันตรายจากชุมชน แนวทางจัดการขยะเพื่อสิ่งแวดล้อม
ปี 2568 ไทยจะแบนการนำเข้าเศษขยะพลาสติก ตอกย้ำ ไทยไม่ใช่ ถังขยะโลก
เครื่องย่อยเศษอาหาร : เปลี่ยนขยะเป็นปุ๋ยออร์แกนิก รักษ์โลก Keep The World
นอกจากนี้ ยังมีจุดทิ้งเศษอาหารด้วย แต่เศษอาหารจะไม่หายไปไหน แต่จะถูกนำไปทำเป็นปุ๋ยและนำไปปลูกผัก ที่จะมีสวนผักเล็ก ๆ ซ่อนอยู่หลังเรือนเก็บขยะขนาดเล็กอีกที ซึ่งมีการปลูกผักที่หลากหลาย เพื่อนำไปขายให้กับคนในชุมชนได้มีผักออแกนิกไว้ทาน เพราะปุ๋ยของชุมชนได้รับการรองรับจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้ว ว่าสามารถทำปุ๋ยปลูกผักได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปุ๋ยนี้เองก็เป็นสินค้าที่ชุมชนนำขายให้กับที่อื่น ๆ หรือผู้ที่ต้องการในราคาถูกได้ด้วย
ที่น่ารักไปอีกคือ ชุมชนนี้มีแมวเยอะมาก เหมาะสำหรับทาสแมสทั้งหลาย และพวกมันก้ได้รับการดูแลอย่างดีจากเจ้าหน้าที่ชุมชน เลยทำให้อ้วยตุตะกันเกือบทุกตัวเลย
ไทยติดอันดับ 10 ประเทศที่มีขยะพลาสติกไหลลงทะเลต่อปีมากที่สุด
ถอดบทเรียน เต่าทะเลตายหมู่ 11 ตัว ฆาตกรคือขยะพลาสติก เกิดอะไรขึ้น?
สิ่งที่เป็นไฮไลท์ ที่ถือได้ว่าเป็นการจัดการระเบียบได้อย่างน่าชื่นชม คือการปักธงสีไว้แต่ละบ้าน ธงสีต่าง ๆ จะบ่งบอกถึงวินัยในการจัดการขยะของแต่ละบ้านไว้เรียบแล้ว โดยมีธงสีทั้งหมด 3 สี ชมพู เขียว และแดง
สีชมพู คือบ้านที่ จะไม่มีถังขยะตั้งอยู่หน้าบ้านเลย บ้านนี้สามารถจัดการขยะภายในบ้านของตนเองได้ มีการคัดแยกขยะและนำไปกำจัดด้วยตนเองได้
สีเขียว คือบ้านที่มีถังขยะตั้งอยู่หน้าบ้าน แต่ก็ยังมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะจากภายในบ้านออกสู่นอกบ้าน ต่างเพียงแค่มีถังขยะรองรับตั้งอยู่หน้าบ้าน
ส่วนสีแดง คือบ้านที่ไม่มีการแยกขยะ ขอไม่มีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ มีถังขยะตั้งอยู่หน้าบ้าน ซึ่งแน่นอนตามปกติแล้วจะมีรถเก้บเข้ามาเก้บขยะยังชุมชนอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องแยกขยะก้ได้
หากกังวลว่า บ้านที่ได้ธงสีแดงจะรู้สึกกดดันไหม ว่าสีธงทำให้คนอื่นรับรู้ว่าเป็นบ้านที่ไม่สนใจแยกขยะ เจ้าหน้าที่ชุมมชนบอกว่า ไม่ต้องกังวลเลย เพราะธงแต่ละอัน เจ้าของบ้านเป็นคนปักเอง เป็นธงที่เราแจกให้ตามการประเมินของเจ้าหน้าที่ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ ซึ่งเป็นกฎระเบียบที่ต่างคนต่างยอมรับซึ่งกันและกัน ไม่กดดันหรือบังคับกัน ถือว่าเป็นไอเดียที่ดีมาก