ชาวนาอยากหารายได้เสริมด้วยคาร์บอนเครดิตมาทางนี้! Spiro Carbon หนึ่งทางเลือกสำหรับเกษตรกรที่อยากขายคาร์บอนเครดิตจากการทำนา รายได้ดี แถมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปี 2022 เป็นปีแห่งการเติบโตของตลาดคาร์บอนเครดิต โดยเฉพาะกับภาคธุรกิจและเอกชน ที่มีการประโคมข่าวกันอย่างเต็มที่ว่าจะช่วยกันปลูกต้นไม้เพื่อขายคาร์บอนแครดิต และเป็นกลไกการตลาดที่กำลังมาแรงมาก ๆ แต่คาร์บอนเครดิตต้องไม่จำกัดอยู่แค่เหล่าผู้ประกอบการรายใหญ่ การลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ควรเป็นของทุกภาคส่วน แต่จะทำอย่างไรให้คนตัวเล็ก ๆ สามารถเข้าถึงตลาดคาร์บอนได้ Spiro Carbon จึงมีตัวเลือกดี ๆ มานำเสนอ
David Rockwood ผู้ร่วมก่อตั้ง Spiro Carbon หรือเรียกสั้น ๆ ว่าคุณช้าง คุณช้างเป็นเจ้าของ Spiro Carbon ที่มีความมุ่งมั่นในการอยากให้ชาวนาหรือชาวเกษตรกรทั่วโลกสามารถเข้าถึงตลาดคาร์บอนได้ และอยากให้หันไปทำการเกษตรแบบรักษ์โลกกันมากขึ้น จึงได้ทุ่มทุนและทุ่มแรงในการพัฒนาและหาพาร์ทเนอร์ด้านเทคโนโลยีในประเทศต่าง ๆ เพื่อมาสนับสนุนให้ชาวนาสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น
Spiro Carbon เป็นองค์กรที่ดำเนินการเรื่องคาร์อบนเครดิตให้กับชาวนาและเกษตรกรที่ปลูกผลิตผลต่าง ๆ ให้สามารถขายคารืบอนเครดิตได้ในราคาดี โดยไม่ต้องไปจ้างหรือผ่านตัวกลางอื่นใด และนำเข้าสู่ตลาดคาร์บอนระดับสากล หรือเรียกได้ว่า เป็นกระบวนการระดับรากหญ้าแบบ end-to-end แห่งแรกของโลกที่จะช่วยให้ผลักดันการกักเก็บคาร์บอนจากเกษตรกรทั่วโลกได้มากขึ้นด้วยแพลตฟอร์ม Spiro Carbon
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ส่องซื้อขายคาร์บอนเครดิตประเภทไหนมาแรง? เปิดตลาดซื้อขายคึกคัก
ต้นไม้ไม่ได้ขายคาร์บอนเครดิตได้ทุกต้น อยากซื้อขายคาร์บอนเครดิต ทำยังไง?
มีพื้นที่ปลูกต้นไม้ จะขายคาร์บอนเครดิตอย่างไร ? วิธีสร้างรายได้ ทำอย่างไร ?
สวนยางสร้างรายได้ด้วยคาร์บอนเครดิต เช็กปลูกกี่ปีดูดซับก๊าซคาร์บอนเท่าไร
คาร์บอนเครดิต โครงการ T-VER โตขึ้นมากกว่า 400% แค่ปลูกต้นไม้ก็สร้างรายได้
เพราะอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่การปลูกข้าวหรือพืชผลอื่น ๆ มีส่วนทำให้เราเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นไปยังชั้นบรรยากาศ ก่อให้เกิดเป็นก๊าซมีเทนได้ แถมในปัจจุบันปัญหาของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศก็ส่งผลอย่างมากต่อภาคเกษตรที่ต้องทำนาตามฤดูกาลที่ไม่แน่นอนและอาจทำให้เราเสียน้ำจำนวนมากไปอย่างสิ้นเปลือง
ดังนั้น พืชที่ทาง Spiro Carbon เน้นที่สุดคือการทำนา เพราะการปลูกข้าวในปัจจุบันของชาวนาใช้น้ำปล่อยให้ท่วมนา เพื่อให้ข้าวได้คุณภาพดี แต่กระบวนการนี้ส่งผลให้เกิดการเน่าของวัชพืชและก่อให้เกิดการปล่อยมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศได้
'ข้าว' เป็นหนึ่งในกลุ่มพืชผลทางการเกษตรที่คุณช้างบอกว่าขายได้ราคาดีที่สุดสำหรับคาร์บอนเครดิต ดังนั้นจึงขอขยายความจึงรูปแบบการเกษตรที่เรียกว่า การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง ว่าเป็นอย่างไรและช่วยลดคาร์บอนหรือช่วยสิ่งแวดล้อมได้จริงไหม?
การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง
ข้อมูลจากกรมชลประทาน INWEPF Thai และบริษัทสยามคูโบต้า ได้จัดทำ คู่มือชาวนา ที่ได้อธิบายการทำนาแบบเปียกสลับแห้งของไทยไว้ ผู้เขียนจึงขอสรุปมาพอสังเขปเกี่ยวกับการทำนาเปียกสลับแห้งให้ผู้อ่านได้รับรู้ดังนี้
ในปีพ.ศ.2547 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกเครือข่ายนานาชาติด้านน้ำและระบบนิเวศในนาข้าว (International Network for Water and Ecosystem in Paddy Fields, INWEPF) ที่จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์การทำนาและระบบนิเวศที่เหมาะสมกับประเทศสามาชิกที่มีทั้งหมด 17 ประเทศ ประกอบด้วย กัมพูชา บังกลาเทศ จีน เนปาล อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ฟิลิปปินส์เกาหลีใต้ ศรีลังกา เวียดนาม อียิปต์ปากีสถาน อินเดีย และไทย
และเมื่อเดือนสิงหาคม ปีพ.ศ. 2555 กลุ่มของประเทศไทย ประกอบด้วยหน่วยงานดังข้างต้น ได้นำเสนองาน Best Practice การทำนาแบบเปียกสลับแห้งขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจ เพราะการทำแบบนี้มีผลการทดสอบว่าอาจสามารถช่วยให้การทำนานั้นใช้น้ำน้อยลง ลดต้นทุนการใช้ยา ปุ๋ย และน้ำมันสูบน้ำได้ อีกทั้ง ได้ผลผลิตในปริมาณและคุณภาพที่สูงกว่าการปลูกแบบปกติทั่วไปได้ด้วย
และจากการทำการศึกษา เพื่อเปรียบเทียบปริมาณน้ำที่ใช้ระหว่างปลูกข้าวแบบปกติกับแบบเปียกสลับแห้ง เราพบว่า การปลุกข้าวแบบเปียกสลับแห้งนั้นสามารถประหยัดน้ำได้ 28% และตั้งแต่ปี 2556-2558 ก็มีการขยายผลการศึกษาและทดลองในพื้นที่การเกษตรหลายที่ในไทย
เทคนิคการทํานาแบบเปียกสลับแห้งแกล้งข้าว หรือ AWD (Alternative Wetting and Drying) เป็นหนึ่งในวิธีการประหยัดน้ำในการทํานาที่หลายๆ ประเทศนําไปเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ และ Spiro Carbon ก็เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ได้ปฏิบัติตามหลักการทำนาดังกล่าวด้วย
หน้าที่ของ Spiro Carbon
แต่ Spiro Carbon นั้น ไม่ได้ทำเพียงแค่แนะนำชาวนาให้ใช้การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง แต่ยังส่งเสริมให้ชาวนาหารายได้เสริมด้สนการขายคาร์บอนเครดิตจากการทำนาด้วยวิธีนี้ด้วย โดยการใช้เทคโนโลยีจานดาวเทียมเฉพาะ ตรวจสอบพื้นที่ที่ได้ลงทะเบียนกับ Spiro Carbon จะเป็นการตรวจจับพืชผลที่มีแสงแตกต่างกันออกไป พร้อมแสดงข้อมูลพิสูจน์ว่า ที่น่าผืนนี้มีการทำนาแบบเปียกสลับแห้งจริงไหม และเราลดก๊าซมีเทนไปได้เท่าไหร่ อีกทั้งยังใช้พลังของ Blockchain เพื่อสร้างระบบแบบกระจายศูนย์ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส่และความน่าเชื่อถือ ประชาชนสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ทั้งหมด
ซึ่งผลตอบรับตอนนี้มีชาวนาหรือเกษตรที่ร่วมโครงการกับ Spiro Carbon แล้วทั้งสิ้น 10,000 ราย สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปได้ 60,000 ตันคาร์บอน และจ่ายรายได้ให้กับชาวนาไปแล้วทิ้งสิ้น 900,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว ๆ 31 ล้านบาท
หากผู้อ่านท่านใดสนใจอยากศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมทั้งจาก Spiro Carbon เอง หรือศึกษากระบวนการทำนาแบบเปียกสลับแห้งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ >>>
คู่มือชาวนา ทำนาแบบเปียกสลับแห้ง