รวม 5 กลโกง แก๊งคอลเซ็นเตอร์-มิจฉาชีพ ปี 2023 แค่ 3 เดือนคนไทยสูญเงินไป 38,000 ล้าน พบวัยทำงานโดนมากสุด พร้อมแนะวิธีป้องกันแบบง่าย
แฉ 5 กลโกงแก๊งคอลเซ็นเตอร์และมิจฉาชีพ ที่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี ก็หลอกคนไทยได้ตลอด วันนี้ SPRiNG Tech จะมาแฉวิธีการแต่ละอย่างที่คนร้ายใช้ ซึ่งสำหรับใครที่เห็นคลิปนี้แล้วกดเซฟแล้วส่งให้เพื่อนด่วนก่อนตกเป็นเหยื่อเสียเอง
ก่อนจะไปดูวิธีการที่คนร้ายใช้หลอกและความเสียหายที่เกิดขึ้น SPRiNG Tech ขอแสดงความเสียใจกับเหยื่อของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่สมุทรปราการ ซึ่งผู้ก่อเหตุคือคุณพ่อของครอบครัวที่ตัดสินใจพาครอบครัวจบชีวิต เพราะความเครียด
เนื่องจากครอบครัวนี้ ถูกคนร้ายหลอกให้โอนเงินค่าธรรมเนียมและค่าดำเนินการปลอม ๆ เพื่อหวังที่จะได้เงินกู้มาไถ่บ้านที่กำลังจะโดนยึด สุดท้ายบ้านบ้านก็ไม่ได้ไถ่ แถมสูญเงินให้มิจฉาชีพไป 2 ล้านบาทด้วย
ทีม SPRiNG Tech ต้องขอแสดงความเสียใจมา ณ ที่นี้
อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
สำหรับวิธีการที่คนร้ายใช้ มี 5 วิธีการหลัก ๆ ที่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีคนไทยก็ยังโดนหลอก
วิธีการนี้เรียกว่า เบสิค เพราะคนร้ายจะอาศัยความไม่รู้ของคน ทั้งอ้างว่า มีพัสดุผิดกฎหมายส่งมา , มีคดีความติดตัว หรืออ้างเป็นญาติมาหลอกยืมเงิน
วิธีการป้องกันง่าย ๆ คือ เอ๊ะ ก่อนโอน เช่น โทรเช็กกับ สน. ในพื้นที่บ้านเราจริง ๆ หรือ หาช่องทางติดต่ออื่น ๆ นอกจากเบอร์โทรเพื่อยืนยันตัวตนคนที่โทรหาก่อน
วิธีการนี้คนร้ายจะอาศัยความโลภของเราและสวมรอยรูปคนดัง อย่าง วิกรม กรมดิษฐ์ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ซึ่งคนร้ายมักอ้างว่า ลงทุนไม่กี่บาทแต่กำไรที่กลับมา 2-3 เท่า พอเราคิดว่าเราได้จริง ก็จะลงเงินเพิ่ม และหลังจากนั้น คนร้ายก็ชักดาบหนี
ชมคลิป : ฟังเต็มๆ! วิกรม กรมดิษฐ์ เตือนสติ อย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพหลอกลงทุน AMATA
วิธีป้องกันคือ ถ้าคิดจะลงทุนขอให้ศึกษาให้ดีก่อนโอนเงิน และท่องไว้เสมอว่า ขนาดธนาคาร เวลาเขาลงทุนยังได้มาไม่ถึง 10% ต่อปี แล้วมันจะมีที่ไหน ลงทุนแล้วได้เงินคืนกลับมา 2-3 เท่า
โดยวิธีการนี้ เป็นวิธีที่คนร้ายแอบสวมรอยมาเป็นแอปฯ ทั่วไป เช่น แอปฯ คีย์บอร์ดสวยงามในมือถือ แอปฯแต่งรูป หรือแม้กระทั่งแอปฯ หาคู่ปลอม แล้วหลังจากนั้นมันจะอาศัยทีเผลอเข้ามาควบคุมเครื่องเราและดูดเงินไปนั่นเอง
วิธีป้องกันคือ อย่าโหลดแอปฯมั่ว ๆ เด็ดขาด โดยเฉพาะแอปฯที่ไม่ได้มาจาก App Store หรือ Play Store
วิธีการนี้ภาษาอังกฤษเรียก Romance Scam โดยมันจะอาศัยรูปหนุ่มหล่อหรือสาวสวยมาอ้างว่าหลงรักเรา แล้วจะอ้างว่าจะส่งของมูลค่าสูงมาให้แต่ติดด่านศุลกากรต้องจ่ายภาษี หรืออ้างว่าขอยืมนั่นนี่โน่น สุดท้ายพอเราโอนเงินก็ชักเงินหนี
ส่วนวิธีการป้องกันคือ ถ้าเราจะรักใครก็ขอให้มั่นใจก่อนว่าเขามีตัวตนจริงนะ ไปเจอตัวสักครั้งก่อนแล้วค่อยว่ากัน
อันนี้ ต๋า สปริงนิวส์ เจอกับตัว คนร้ายอ้างชื่อบริษัทจริง ๆ มาบอกว่าถ้าทำงานกดไลค์คลิปแล้วจะได้เงิน สุดท้ายผมสืบต่อก็พบว่าคนร้ายจะหลอกว่าถ้าหากเราจะเบิกเงินต้องโอนค่าธรรมเนียมมาก่อนแล้วจึงจะโอนเงินรายได้ให้เราได้ สุดท้ายเราโอนไป คนร้ายก็จะงัดข้ออ้างสารพัดให้เราโอนเพิ่ม พอเราหมดตัวก็จะอ้างว่าเราไปกดมั่วทำระบบพัง ขู่จะฟ้องถ้าเราแจ้งความแล้วก็ชักเงินหนีไปนั่นเอง
วิธีการป้องกันง่าย ๆ คือ ถ้าคิดจะทำงานกับใครให้ศึกษาข้อมูลเข้าก่อน โทรไปสอบถามบริษัทจริงก่อน รีเช็กข้อมูลสักนิด โดยเฉพาะอะไรที่ดูว่ามันได้เงินง่าย ยิ่งต้องระวังแบบคูณ 10 ไปเลย
อ่าน : Boswell Digital Holding ร้องสื่อ ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้างชื่อหลอกประชาชน
3 เดือนคนไทยสูญเงิน 38,000 ล้านบาท
ซึ่งปีหนึ่ง เอาแค่ มี.ค. – พ.ค. 66 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวบรวมมูลค่าความเสียหายทั้งหมดที่คนไทยโดนหลอก คิดเป็นเงิน 38,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าเฉลี่ยรายวันคนไทยถูกหลอกวันละ 74 ล้านบาท
สุดท้าย ทีม SPRiNG Tech หวังว่าทุกคนจะไม่ตกเป็นเหยื่อของคนร้าย แต่ถ้าใครที่โดนหลอกโอนเงินแล้ว 2 สิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างแรก จำให้ขึ้นใจ คือ รีบไปแจ้งความที่ สน. หรือ ออนไลน์ก็ได้ แล้ว โทรหาธนาคารให้ระงับบัญชีคนร้ายก่อน อย่างนี้ถ้าตามเงินคืนไม่ได้ ก็ทำให้คนร้ายใช้บัญชีธนาคารนั้น ไปหลอกคนอื่นต่อไม่ได้นั่นเอง