จากสถิติของกรมอนามัยโลก “มะเร็งตับ” ครอบแชมป์อันดับ 1 มากถึง 26,704 ราย หรือคิดเป็น 3 รายต่อชั่วโมง อีกทั้งยังพบว่าจำนวนผู้ป่วยใหม่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โรคนี้นับได้ว่าเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิต เพราะมักไม่มีสัญญาณเตือนในระยะแรก ทำให้ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์เมื่อโรคเข้าสู่ระยะลุกลามแล้ว ประกอบกับทางเลือกในการรักษาน้อยส่งให้อัตราการรอดชีวิตต่ำ ดังนั้น ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพจึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งเพื่อรับมือกับวิกฤตสุขภาพนี้
ด้วยตระหนักถึงความรุนแรงของวิกฤตสุขภาพดังกล่าว บริษัท โรช ไทยแลนด์ จำกัด บริษัทชั้นนำระดับโลกด้านการรักษาและการตรวจวินิจฉัย นอกจากนี้ ยังเป็นผู้นำด้านการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) สูงสุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก ได้จัดเสวนา “Life Talk Series II ในหัวข้อ “ภารกิจพิชิตมะเร็งตับ: ภัยเงียบอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตคนไทย” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ ‘Celebrate Life’ จัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 125 ปีของการก่อตั้งและ 50 ปีของการมีส่วนร่วมส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยในสังคมไทย
ภายในงานผู้เชี่ยวชาญและแขกรับเชิญพิเศษมาร่วมพูดคุยกันถึงความท้าทายของภารกิจเพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงการรักษาโรคมะเร็งตับ นำโดย มร.ฟาริด บิดโกลิ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โรช ไทยแลนด์ เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว ซึ่งได้กล่าวถึงบทบาทและความมุ่งมั่นของโรช “โรช ไทยแลนด์ ภูมิใจที่ได้ฉลองโอกาสพิเศษร่วมกับสำนักงานต่างๆ ของโรชในอีกกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ด้วยการนำศักยภาพและความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีการแพทย์มาผลักดันแนวทางการรักษาโรคมะเร็งตับ ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก นอกจากนี้หากเทียบสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะเห็นได้ว่าความรุนแรงและความสูญเสียจากโรคมะเร็งตับก็ถือเป็นวิกฤตไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงลงทุนและสนับสนุนโครงการวิจัยทางคลินิกอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งมอบตัวเลือกการรักษาที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น”
“อย่างไรก็ดี นวัตกรรมการรักษาที่พัฒนาไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ควรเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการขยายโอกาสเข้าถึงการรักษา หากเทียบอุบัติการณ์และอัตราการเสียชีวิต ระหว่างมะเร็งตับและมะเร็งเต้านมในประเทศไทย จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 โรคล้วนมีจำนวนผู้ป่วยใหม่สูงกว่า 20,000 รายต่อปี แต่เพราะการผลักดันตัวเลือกการรักษามะเร็งเต้านมเข้าสู่สิทธิการเบิกจ่ายอย่างเสมอภาค ส่งผลให้จำนวนผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็งเต้านมต่ำกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญ โรช ไทยแลนด์ จึงปรารถนาที่จะเห็นผู้ป่วยมะเร็งตับสามารถเข้าถึงตัวเลือกการรักษาที่มีคุณภาพได้มากขึ้นและทันท่วงที เพื่อช่วยลดความสูญเสียในระดับปัจเจก บุคคล ระดับสังคม และระดับประเทศ เรามุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับหน่วยงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งตับให้ได้เข้าถึงการรักษาด้วยยานวัตกรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี และลดแนวโน้มการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร”
นอกจากนี้ แขกรับเชิญพิเศษที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อย่าง คุณเปิ้ล -หัทยา วงษ์กระจ่าง ซึ่งสูญเสียสามี คุณตั้ว-ศรัณยู วงษ์กระจ่าง ไปด้วยโรคมะเร็งตับในปี พ.ศ. 2563 ได้กล่าวในงานเสวนาว่า “พี่ตั้วตรวจร่างกายประจำปี ตั้งแต่ก่อนแต่งงานมีลูก และพบว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ที่หมอแนะนำว่าอาจเป็นตัวเร่งให้เกิดการลุกลามไปสู่มะเร็งตับ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ตอนนั้นพี่ตั้วยังมีจุดเล็กๆ ที่ตับอยู่ ช่วง 2 ปีสุดท้ายที่ไม่ได้ไปตรวจร่างกาย เป็นช่วงที่พี่ตั้วโหมทำงานหนักมาก ทั้งเขียนบท กำกับ และแสดง ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ จนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุหกล้มในกองถ่ายจนต้องเข้าโรงพยาบาล เมื่อหมอตรวจโดยละเอียดจึงพบว่า นอกจากกระดูกสันหลังเคลื่อน ค่าตับสูงยังเป็นหมื่น ทั้งที่ปกติค่าตับหลักร้อยก็เริ่มดูน่าสงสัยแล้ว สรุปว่ากว่าพี่ตั้๋วจะไปถึงมือหมอก็เป็นมะเร็งตับขั้นที่ 3-4 แล้ว”
ส่วน คุณกิ๊ก - มยุริญ ผ่องผุดพันธ์ ได้มาร่วมพูดคุยถึงพฤติกรรมในอดีต “สมัยก่อนชื่นชอบการดื่มแอลกอฮอล์ แต่การได้มาร่วมงานเสวนา Life Talk Series II ถือเป็นโอกาสดีที่ได้สร้างความตระหนัก และกระตุ้นเตือนผู้ชมถึงความเสี่ยงการเกิดมะเร็งตับอันเนื่องมาจากการดื่มในปริมาณมากเกินไป” อีกทั้งยังได้เล่าประสบการณ์ของคุณพ่อเพื่อนที่เสียชีวิตเพราะมะเร็งตับ “เคสนี้คล้ายกับพี่ตั้ว ตรงที่กว่าจะรู้ว่าเป็นมะเร็งตับ โรคก็อยู่ในระยะลุกลามแล้ว โดยอาการก่อนที่คุณพ่อเพื่อนจะเสียชีวิต คือ น้ำหนักลด ร่างกายซูบผอม ผิวเหลือง ท้องป่อง อาเจียน และรับประทานอาหารไม่ได้ แม้ท่านจะไม่ดื่มแอลกอฮอล์ แต่เคยเป็นไวรัสตับอักเสบบีมาก่อน”
สำหรับประชาชนทั่วไป นพ.ภาสกร วันชัยจิระบุญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระปกเกล้า ด้านศูนย์ความเชี่ยวชาญระดับสูงด้านมะเร็ง ได้ให้คำแนะนำถึงมีวิธีการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันมะเร็งตับ ดังนี้
ดังนั้นผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงข้างต้นควรเข้ารับการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ และหากได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยโรคมะเร็งตับ ก็ควรเข้ารับการรักษาและปฏิบัติตนให้เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์ “ปัจจุบันผู้ป่วยมะเร็งตับมีตัวเลือกการรักษามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นยาภูมิกันบำบัด (immunotherapy) ซึ่งช่วยให้ผลลัพธ์การรักษาดีขึ้น และลดโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับยาเคมีบำบัด ในฐานะแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับหวังว่าจะผู้ป่วยจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและลดอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรลง หากนวัตกรรมการรักษาที่มีประสิทธิภาพผ่านการพิจารณาให้เข้าไปอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงแก่ประชาชน”
ด้านตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ นพ.รัฐพล เตรียมวิชานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่มาร่วมเสวนาเพื่อหาทางรับมือกับโรคมะเร็งตับที่คุกคามชีวิตคนไทย ได้กล่าวถึงโครงการ Cancer Anywhere ว่า “โครงการนี้เป็นโครงการของภาครัฐเพื่อคลายความกังวลใจของผู้ป่วยมะเร็ง ทั้งในแง่ภาระค่าใช้จ่ายและเวลา เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงการรักษาอย่างทั่วถึงและสะดวก เช่น การนัดหมายเพื่อฉายแสงกับเจ้าหน้าที่ผ่านแอพพลิเคชั่น เป็นต้น สำหรับตัวเลือกการรักษามะเร็งตับ สปสช. ได้ร่วมมือกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและภาคเอกชน โดยมีคณะกรรมการประเมินความคุ้มค่า (cost-effectiveness) ทำหน้าที่พิจารณายาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ให้ประชาชนไทยตามสิทธิเบิกจ่ายต่างๆ สามารถเข้าถึงได้”
ในอนาคต หวังว่าประชาชนไทยจะมีโอกาสเข้าถึงแนวทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และลดการเกิดผลข้างเคียงจากการรักษาลง ด้วยสิทธิการรักษาที่ครอบคลุม