svasdssvasds

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม ย้ำการบริหารสัญญาส่วนที่เหลือต้องเกิดประสิทธิภาพสูงสุด หลังตรวจศูนย์กำจัดมูลฝอยสายไหม

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังตรวจศูนย์กำจัดมูลฝอยสายไหม เขตสายไหม ว่า  ปกติศูนย์แห่งนี้จะมีขยะเข้ามากำจัดประมาณ 2,000 ตันต่อวัน การกำจัดจะแยกเป็นสองส่วน ส่วนแรกนำไปฝังกลบที่กำแพงแสน 1,000 ตัน สัญญาจะหมดปี 2568 ปัญหาที่พบคือมีชาวบ้านร้องเรียนเรื่องกลิ่นและเสียง เนื่องจากต้องมีการใช้รถแบคโฮเกลี่ยขยะในช่วงเวลากลางคืนทำให้มีเสียงรบกวนประชาชน จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามมาตรฐานเรื่องกลิ่นและเสียง

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม  

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม

ในอนาคตหลังปี 68 เมื่อหมดสัญญา มีแนวคิดที่จะทำเตาเผาขยะขนาด 1,000 ตัน แต่ต้องพิจารณาเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มข้นและให้ประชาชนมีส่วนร่วม แต่เชื่อว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถทำเตาเผาที่สะอาดไร้มลพิษได้แต่ต้องมั่นใจในคุณภาพและราคาที่เหมาะสม เนื่องจากการทำสัญญาแต่ละครั้งๆ ละ 20 ปี อาจก่อหนี้ผูกพันจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องทางเข้าออก พื้นที่เป็นของ กทม. แต่ทางเข้าออกเป็นของเอกชน ทำให้ไม่สามารถปรับปรุงผิวถนนให้ดีขึ้นหรือขยายเส้นทางได้ ซึ่งเป็นข้อเตือนใจว่าในอนาคตหากจะลงทุนโครงการใหญ่มูลค่าร้อยล้านหรือพันล้าน ควรจะมีทางเข้าออกที่ถูกต้องด้วยและส่วนที่ 2 อีก 1,000 ตัน จะนำไปกำจัดที่อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี โดยจะมีการแยกไปรีไซเคิล เป็นเชื้อเพลิงสำหรับโรงปูนซีเมนต์ (RDF) ที่เหลืออีกประมาณ 20% จะนำไปฝังกลบ ส่วนนี้มีสัญญา 20 ปี เริ่มต้นในปี 2565 จะหมดสัญญา 2585

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม

ส่วนปัญหาที่พบคือเมื่อ 10 ที่แล้ว กทม. ได้มีการลงทุนเครื่องบีบอัดขยะ(compacter) คือการอัดขยะลงในตู้คอนเทรนเนอร์ ซึ่งลงทุนไปประมาณ 700 กว่าล้าน  มีอุปกรณ์บีบอัด(compact)  4 เครื่อง ตู้คอนเทนเนอร์ 60 ตู้ หัวรถลาก 6 หัว และอุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งปัจจุบันยังไม่ค่อยได้ใช้มาก หากพิจารณาจุดประสงค์ในครั้งแรกเริ่มถือว่าดี อุปกรณ์ compacter จะอัดขยะให้มีปริมาตรน้อยลง ไม่มีขยะปลิว น้ำขยะไม่รั่วระหว่างทาง แต่ในการใช้งานจริงตู้คอนเทนเนอร์มีน้ำหนักมาก ทำให้ขนส่งขยะได้น้อยลง ต้นทุนในการขนส่งเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าน้ำมันในการขนตู้ไปกลับ ดังนั้นในทางปฏิบัติอาจจะใช้ได้ไม่เหมาะสม คงต้องพิจารณาอีกครั้งว่าความคุ้มค่าเป็นอย่างไร ต้องดูว่าในอนาคตจะใช้งานต่อหรือไม่อย่างไร หากใช้งานต่อแล้วทำให้ต้นทุนสูงขึ้นอาจจะพิจารณาว่าคุ้มค่าหรือไม่ หรือจะปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้นอย่างไร

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตรวจสอบปัญหาโรงขยะสายไหม

นอกจากนี้ได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มความสามารถในการเก็บขยะในพื้นที่เขตสายไหม เนื่องจากมีประชากรย้ายเข้ามาอยู่มากขึ้น ทำให้ขยะในเขตสายไหมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยให้รถเก็บขยะวิ่งเก็บอย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ ไม่ให้มีขยะตกค้าง
“ปัญหาการจัดการขยะของกรุงเทพมหานครในภาพรวม หลายๆ สัญญาได้ทำไปแล้ว 20 ปี ทั้งเตาเผาขยะที่โรงกำจัดขยะหนองแขม และโรงกำจัดขยะอ่อนนุช รวมทั้งสัญญาที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยสายไหมแห่งนี้ ขยะเกินกว่าครึ่งของ กทม. มีสัญญาผูกพันกำหนดค่าใช้จ่ายไว้แล้ว หน้าที่ของผู้บริหารชุดใหม่ต้องมองไปในอนาคตและพยายามทำสิ่งที่เหลือให้ดีที่สุดและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดูว่าสิ่งที่มีประสิทธิภาพสามารถทำได้ดีที่สุดมากแค่ไหน อดีตผ่านไปแล้ว เราคงทำให้ดีที่สุดในการบริหารสัญญาที่เซ็นไปแล้ว แต่อนาคตต้องทำให้ดีและรอบคอบ” ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าว

related