2 กุมภาพันธ์ ปี 1990 ถือเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญ ต่อ เนลสัน แมนเดล่า มหาบุรุษแห่งแอฟริกาใต้ และเป็นนักต่อต้านการเหยีดยผิว เพราะวันนี้ เป็นวันที่ เนลสัน แมนเดล่า ถูกปล่อยตัวหลังถูกขัง 27 ปี และนับเป็นจุดเริ่มต้นของการคลายปมปัญหาการเหยียดผิวในแอฟริกาใต้
เนลสัน แมนเดล่า บุคคลที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมหาบุรุษแห่งแอฟริกาใต้ ตลอดเส้นทางชีวิต นักการเมือง นักสันติภาพของเนลสัน แมนเดล่านั้น นับได้ว่าน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ปี 1990 ถือได้ว่า เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของชีวิตเขา เนื่องจากมันเป็นวันที่เขาได้รับการปล่อยตัว หลังจากถูกจองจำมาเป็นเวลา 27 ปี และนับเป็นจุดเริ่มต้นของ การยุติการเหยียดผิวในแอฟริกาใต้
.
สำหรับ ประวัติเนลสัน เมนเดล่า นั้น เขาคือหนึ่งในบุคคลสำคัญของโลก ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้คนทั่วโลก ได้ก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีผิวดำคนแรกของประเทศแอฟริกาใต้ ประเทศที่เคยมีปัญหา "การเหยียดผิว" เรื้อรังมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง เหตุผลของการถูกจองจำยาวนานถึง 27 ปี นั่นก็เพราะส่วนหนึ่งมาจากเรื่องการ "เหยียดผิว"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
8 ธันวาคม 1980 "จอห์น เลนนอน" อดีตสมาชิกวง The Beatles ถูกยิงเสียชีวิต
ย้อนเข็มนาฬิกากลับไปในอดีต เนลสัน แมนเดล่า เกิดวันที่ 18 กรกฎคม 1918 ชายผิวดำจากหมู่บ้านเล็กๆ Mvezo ใกล้ๆปลายแหลมทวีปของประเทศแอฟริกาใต้ เขาใช้เวลาตั้งแต่วัยหนุ่มเข้าร่วมเคลื่อนไหวต่อต้านการเหยียดสีผิวในนาม สมัชชาแห่งชาติแอฟริกัน หรือ ANC เพื่อเรียกร้องสิทธิที่เท่าเทียม ขณะเดียวกันก็ร่ำเรียนจนสำเร็จการศึกษาด้านกฏหมายช่วยเหลือและให้คำแนะนำสำหรับชาวผิวดำ
.
ในช่วงเวลาที่ เนลสัน แมนเดล่ายังเป็นเด็กหนุ่ม, ธรรมเนียมปฏิบัติและกฏเกณฑ์ต่างๆ ระหว่าง คนผิวขาวและผิวดำในแอฟริกาใต้ จะต้องดำเนินชีวิตโดยแยกจากกันอย่างชัดเจนภายใต้ นโยบายการแบ่งแยกสีผิว
.
ช่วงเวลานั้น คนผิวขาวซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยในแอฟริกาใต้ แต่ทว่า คนผิวขาวที่มีส่วนน้อยนั่นคือกลุ่มผู้ปกครองประเทศ และกำหนดกฎเกณฑ์ที่แบ่งแยกกีดกันทางเชื้อชาติต่างๆ อาทิ คนผิวดำมักถูกกีดกันไม่ให้มีสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น สิทธิการเลือกตั้ง หรือ การออกกฎหมายที่ห้ามคนผิวดำไปโรงเรียน โรงพยาบาล หรือแม้แต่ไปชายหาดเดียวกับคนผิวขาว และสถานที่สำหรับคนผิวขาวเหล่านี้มักมีสภาพดีกว่าของคนผิวดำมาก ซึ่งหากเอาแว่นตาแห่งปี 2022 ไปจับ ไปพิจารณาในเรื่องนี้ คงจะเป็นสิ่งที่เลวร้ายมากๆ และไม่ควรจะเป็นสิ่งที่มนุษย์ พึงปฏิบัติต่อกัน แต่มันก็คือ สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ในโลกใบนี้
เนลสัน แมนเดล่า เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการต่อต้านการเหยียดสีผิวในนาม สมัชชาแห่งชาติแอฟริกัน หรือ ANC ซึ่งในบางครั้งมีการประท้วง และในการประท้วงครั้งหนึ่งมัน บานปลาย เป็นเหตุรุนแรง ส่งผลให้เมื่อปี 1964 นายแมนเดลาถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต
.
ในช่วงเวลาแห่งความทุกข์ทรมานและการจองจำ เนลสัน แมนเดล่าถูกคุมขังอยู่ในห้องขังเล็ก ๆ บนเกาะร็อบเบน Robben Island ในช่วงเวลานานถึง 15 ปี ระหว่าง 1964–1982 ขณะนั้นทางการแอฟริกาใต้สั่งห้ามเผยแพร่ภาพถ่ายของเนลสัน แมนเดล่า และการอ้างอิงคำพูดของเขาในที่สาธารณะถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย
แต่นานาชาติพยายามรณรงค์เรียกร้องให้ทางการแอฟริกาใต้ปล่อยตัว เนลสัน แมนเดล่า มีการแต่งเพลงและจัดคอนเสิร์ตเรียกร้องอิสรภาพให้แก่เขา
.
เนลสัน แมนเดล่า ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง ของ บุคคลที่ยอมใช้เวลาเกือบ 3 ทศวรรษในเรือนจำเพื่อที่จะต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมืองและต่อต้านการเหยียดผิวในแอฟริกาใต้ ก่อนที่เขาได้รับอิสรภาพจากการคุมขังในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ปี 1990 โดย เฟรเดอริก วิลเลิม เดอ แกลร์ก ประธานาธิบดีผิวขาวของแอฟริกาใต้ในขณะนั้นมีคำสั่งให้ปล่อยตัวเขา
เนลสัน แมนเดล่า ออกจากเรือนจำประหนึ่งเป็นวีรบุรุษ เขาเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในฐานะผู้ส่งเสริมการให้อภัยและความเสมอภาค ก่อนที่เนลสัน แมนเดล่า จะก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีผิวดำคนแรกของประเทศ ในช่วงปี 1994-1999 และมุ่งมั่นที่จะขจัดความไม่เท่าเทียมในสังคมและสร้างความปรองดองในชาติจนสำเร็จ
นอกจากนี้ แมนเดล่า ยังได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ร่วมกับอดีตประธานาธิบดี เฟรเดอริก วิลเลิม เดอ แกลร์ก (Frederik Willem de Klerk) ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเริ่มต้นขั้นตอนการสร้างสันติภาพในแอฟริกาใต้ ก่อนที่ประธานาธิบดีแมนเดลาจะประกาศอุทิศรางวัลนี้ให้กับประชาชนชาวแอฟริกาใต้ที่ร่วมสร้างสังคมแห่งความเท่าเทียมได้สำเร็จ
.
เนลสัน แมนเดล่า โบกมือจากโลกนี้ไปในวันที่ 5 ธันวาคม ปี 2013 ขณะที่มีอายุ 95 และผู้คนจดจำเขาในฐานะ ผู้ที่ต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมืองและต่อต้านการเหยียดผิว...