จีนสร้างสถิติโลก ดวงอาทิตย์เทียม ทำงานยาวนานสุดในโลก ทำงานต่อเนื่องภายใต้สภาวะอุณหภูมิสูงเป็นเวลา 1,056 วินาที
"ดวงอาทิตย์เทียม" ของจีน อุณหภูมิที่ทำได้สูงกว่าของจริง 5 เท่า มันกำลังจะเป็นแหล่งผลิต พลังงานสะอาด นี่คือทางรอดแห่งอนาคต!
.
ในช่วงสิ้นปี 2021 ที่ผ่านมา ใครหลายคนอาจจะเพลิดเพลินอยู่กับการฉลองเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ แต่ในอีกมุมหนึ่งเล็กๆของโลก อย่างในประเทศจีนที่เมืองเหอเฝ่ย ในอันฮุย สถาบันฟิสิกส์พลาสมา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน เพิ่งมีข่าวดี ในแง่ของนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ ที่พัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมีการเปิดเผยว่า จีนเพิ่ง ประสบความสำเร็จในการทดลองเดินเครื่อง เตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมค หรือเข้าใจง่ายๆ คือ "ดวงอาทิตย์เทียม" หรือ ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์ ที่จำลองการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น เหมือนที่เกิดบนดวงอาทิตย์จริง จากการทดลอง ดวงว่าสามารถทำงานต่อเนื่องภายใต้สภาวะอุณหภูมิสูงเกือบ 70 ล้านองศาเซลเซียส ซึ่งมีความร้อนสูงกว่า ดวงอาทิตย์จริง ถึง 5 เท่า เป็นเวลานานถึง 1,056 วินาที หรือประมาณ 17 นาที ซึ่งถือเป็นระยะเวลาการทำงานได้ยาวนานที่สุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จีน เปิดทางด่วนข้ามทะเลทรายสายแรก ที่ซินเจียง ผ่านความแห้งแล้งถึง 150 กม.
นางแบบจีนถูกต่อว่าไม่รักชาติ เพราะตาตี่ ไม่ตากลมโตเหมือนกระแสความงาม
นอกจากนี้ ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์ยังสามารถเดินเครื่องทำงานที่อุณหภูมิ 120 ล้านองศาเซลเซียสได้ถึง 101 วินาที หรือ 1 นาทีเศษ ในช่วงของการทดลอง ในช่วงเวลาก่อนหน้านี้อีกด้วย และปล่อยพลาสมา ณ อุณหภูมิ 160 ล้านองศาสเซลเซียส เป็นเวลา 20 วินาที ด้วยกัน
.
สำหรับ โครงการนวัตกรรมล้ำๆแบบนี้ จีนมีเป้าหมายก็คือ ต้องการให้ ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์ที่พวกเขาคิดค้นขึ้นนั้น สร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นให้เหมือนกับดวงอาทิตย์จริงๆ โดยใช้ ดิวเทอเรียม ที่เป็นธาตุไฮโดรเจนชนิดหนัก และมีอยู่มากมายในทะเล มาผลิตพลังงานสะอาด ที่มีเสถียรภาพ และอาจเป็นพลังงานสุดท้ายของมนุษยชาติต่อไปในอนาคต อย่างไรก็ตาม การเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นนั้น ยังมีข้อควรระวังเป็นอย่างมาก และต้องควบคุมอย่างละเอียด เพราะหากผิดพลาดมันอาจกลายเป็นระเบิดไฮโดรเจนได้ และ ข้อเสียที่สำคัญของเทคโนโลยีฟิวชันก็คือ พลังงานที่ได้จากปฏิกิริยานี้ ณ วันนี้ยังน้อยกว่าพลังงานที่ให้เข้าไปมาก ดังนั้น มันจึงยังไม่เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในการเป็นพลังงานทางเลือกใหม่ของมนุษย์ แต่วิทยาศาสตร์ก็ยังมีความพัฒนาต่อไป
วิทยาศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว
ในความเป็นจริงแล้ว วิทยาศาสตร์ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย หากจะมองเรื่อง ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์ เป็นตัวอย่างก็ได้ โดย วัตถุดิบ สำหรับ ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์นั้น มีอยู่มากมายเหลือคณานับบนโลกใบนี้ ซึ่งแตกต่างจากเชื้อฟอสซิลอย่าง ถ่านหิน ,น้ำมัน , และ ก๊าซธรรมชาติ ที่อาจใช้จนหมด และอาจเป็นภัยคุกคามสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงไม่แปลก ที่จีน จะหันมาพัฒนา เรื่องพลังงานฟิวชั่น เพราะ พลังงานฟิวชั่น อาจเป็น พลังงานสุดท้าย ในอนาคต ของมวลมนุษชาติ
.
โครงการพัฒนาดวงอาทิตย์ประดิษฐ์ จีนมีความพยายามมาเนิ่นนานแล้ว เพราะมองว่า นี่คือหนทางของอนาคต
.
สำหรับ การทดลองครั้งนี้ ไม่ใช่ครั้งแรกของประเทศจีน เพราะที่ผ่านมา จีน พัฒนาโครงการแบบนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปลายปี 2020 ที่มณฑลเสฉวน ก็มีการทดลอง การปล่อยประจุพลาสมา จำลองดวงอาทิตย์ มาเหมือนกัน