กรมอุตุนิยมวิทยา อิทธิพลหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงและลมมรสุม ส่งผลให้ 6 จังหวัด ภาคเหนือและภาคอีสานมีฝนตกหนักมาก เตือนระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ขณะที่ปภ.แจ้ง 10 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา และ กทม. เฝ้าระวังและเตรียมรับมือระดับน้ำล้นตลิ่ง
12 สิงหาคม 2565 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย
ทั้งนี้ เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ปกคลุมบริเวณประเทศจีนตอนใต้ ประเทศเมียนมาตอนบน และประเทศลาวตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังปานกลาง
สำหรับทะเลอันดามันตอนบนคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.
ภาคเหนือ
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก และพิษณุโลก
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย และอุดรธานี
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคกลาง
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง และพังงา
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ขณะที่ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือน 10 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรีสมุทรปราการ รวมถึงกรุงเทพมหานคร เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากการระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา
โดยเฉพาะ แม่น้ำเจ้าพระยา และ แม่น้ำน้อย ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค. 65 เป็นต้นไป โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง พร้อมแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำ ภาคเอกชนที่ประกอบกิจการในแม่น้ำ อาทิ งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งทรุด แพร้านอาหาร ท่าเทียบเรือ และเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น
รวมถึงแจ้งจังหวัดประสานท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบแนวคันกั้นน้ำ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย และเจ้าหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ และเตรียมความพร้อมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้รับแจ้งจากกรมชลประทานว่า ในวันที่ 11-13 สิงหาคม 2565 มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ทำให้มีน้ำท่าไหลเข้าสู่เขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น
จากการคาดการณ์ปริมาณน้ำ สถานี C.2 จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ระหว่าง 1,000-1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แม่น้ำสะแกกรัง Ct.19 อัตรา 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และลำน้ำสาขา อัตรา 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยามีปริมาณระหว่าง 1,400-1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที มีความจำเป็นต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้นในอัตรา 1,000–1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ทั้งนี้ จะส่งผลให้พื้นที่ริมน้ำมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 0.20 - 0.60 เมตร บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบริเวณคลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (แม่น้ำน้อย) ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป
หากมีปริมาณน้ำเหนือเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยามากกว่า 1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะแจ้งให้ทราบต่อไป
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้รับแจ้งจากกรมชลประทานว่า ในวันที่ 11-13 สิงหาคม 2565 มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ทำให้มีน้ำท่าไหลเข้าสู่เขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น
จากการคาดการณ์ปริมาณน้ำ สถานี C.2 จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ระหว่าง 1,000-1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แม่น้ำสะแกกรัง Ct.19 อัตรา 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และลำน้ำสาขา อัตรา 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยามีปริมาณระหว่าง 1,400-1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที มีความจำเป็นต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้นในอัตรา 1,000–1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ทั้งนี้ จะส่งผลให้พื้นที่ริมน้ำมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 0.20 - 0.60 เมตร บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบริเวณคลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (แม่น้ำน้อย) ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป
หากมีปริมาณน้ำเหนือเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยามากกว่า 1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อมูลจาก : กรมอุตุนิยมวิยา