svasdssvasds

รฟม. เผยแผนป้องกันน้ำท่วมรถไฟฟ้าใต้ดิน ใช้เกณฑ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ 200 ปี

รฟม. เผยแผนป้องกันน้ำท่วมรถไฟฟ้าใต้ดิน ใช้เกณฑ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ 200 ปี

จากที่มีการแชร์ภาพเหตุการณ์น้ำท่วมรถไฟฟ้าใต้ดินที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ทำให้ประชาชนในบ้านเราเกิดความกังวลจากเหตุการณ์น้ำท่วม ซึ่งรฟม. ออกมาเปิดแผนป้องกันน้ำท่วมรถไฟฟ้าใต้ดิน โดยเผยว่าปากทางเข้าสถานีใช้เกณฑ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ สูงสุดในรอบ 200 ปี

รฟม. เผยแผนป้องกันน้ำท่วมรถไฟฟ้าใต้ดิน ใช้เกณฑ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ 200 ปี

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยที่ดูแลระบบรถไฟฟ้าใต้ดินในกรุงเทพมหานคร คือ รถไฟฟ้าสายสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ระยะทางรวม 48 กิโลเมตร รวม 38 สถานี แบ่งเป็นโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สถานีหัวลำโพง-สถานีบางซื่อ ระยะทาง 20 กิโลเมตร รวม 18 สถานี เป็นสถานีใต้ดินทั้งหมด เช่น สถานีหัวลำโพง สถานีสามย่าน สถานีสีลม สถานีลุมพินี สถานีคลองเตย

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย สถานีหัวลำโพง-สถานีหลักสอง ระยะทาง 14 กิโลเมตร เป็นสถานีใต้ดิน 4 สถานี เช่น สถานีวัดมังกร สถานีสามยอด สถานีสนามไชย สถานีอิสรภาพ รวมทั้งเป็นสถานียกระดับ 7 สถานี รวม 11 สถานี  ขณะที่ส่วนต่อขยายช่วงสถานีบางซื่อ-สถานีท่าพระ ระยะทาง 13 กิโลเมตร เป็นสถานียกระดับ 8 สถานี

รฟม.ได้เผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ www.mrta.co.th ถึงแนวทางการป้องกันน้ำท่วมรถไฟฟ้าใต้ดิน เนื่องจากกรุงเทพมหานครมักประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่เสมอ ดังนั้นในการดำเนินโครงการดำเนินโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

จึงได้กำหนดแนวทางความปลอดภัยในการออกแบบเพื่อป้องกันน้ำท่วมภายในตัวสถานีและอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน โดยใช้ค่าระดับที่ 1 เมตร เหนือค่าระดับน้ำท่วมกรุงเทพฯ สูงสุดในรอบ 200 ปี เป็นค่ากำหนดในการนำไปใช้ออกแบบทางขึ้น-ลง สถานี และช่องเปิดต่างๆ ซึ่งน้ำสามารถไหลเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินได้

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

ทั้งนี้ ตำแหน่งอาคารทางขึ้น-ลงสถานี ได้กำหนดให้ทางขึ้น-ลงสถานีมีระดับความสูงเท่ากับค่าระดับฝนสูงสุดในรอบ 200 ปี คือ 1.2-1.5 เมตร พร้อมทั้งติดตั้ง Stop Log ที่มีความสูงขึ้นไปอีก 1 เมตร เพื่อปิดกั้นหากน้ำมีระดับสูงขึ้นกว่า 1.5 เมตรตำแหน่งปลายอุโมงค์ชั้นใต้ดินที่ศูนย์ซ่อมบำรุง ซึ่งเป็นบริเวณที่ปลายอุโมงค์บรรจบกับพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงได้ก่อสร้างให้มีค่าความสูงเท่ากับทางขึ้น-ลงสถานี 

รวมทั้งในช่องปลายอุโมงค์ที่มีความลาดชันได้มีการออกแบบไว้ให้มีบ่อพักเพื่อดักและเก็บน้ำที่จะไหลเข้าสู่ตัวอุโมงค์อันเนื่องจากฝนตกทั่วไป พร้อมทั้งมีปั๊มน้ำเพื่อสูบน้ำออกจากบ่อพักดังกล่าวออกจากตัวอุโมงค์ตำแหน่งอาคารปล่องระบายอากาศหรือทางขึ้น-ลงฉุกเฉิน ค่าระดับฐานหรือพื้นอาคารได้ก่อสร้างให้มีความสูงเช่นเดียวกับความสูงของทางขึ้น-ลงสถานีข้างต้น

ส่วนลักษณะโครงสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กอยู่ใต้ดินลึกจากผิวถนนประมาณ 15-25 เมตร สถานีจะมีความกว้างประมาณ 18-25 เมตร ยาวประมาณ 150-200 เมตร ขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ โดยสถานีส่วนใหญ่จะเป็นแบบชานชาลาอยู่ตรงกลาง รางรถไฟฟ้าจะอยู่ 2 ด้านของชานชาลา ยกเว้นบางบริเวณจะมีสถานีแบบอุโมงค์ซ้อนกัน โดยรางรถไฟฟ้าจะอยู่คนละชั้น ซึ่งแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ โครงสร้าง 2 ชั้น โครงสร้าง 3 ชั้น และโครงสร้าง 4 ชั้น

โครงสร้างสถานีดังกล่าวรองรับถไฟฟ้าที่นำมาให้บริการที่เป็นรถขนาดใหญ่ ปรับอากาศ ขนาดกว้าง 3.12 เมตร ยาว 21.5-21.8 เมตร สูงประมาณ 3.8 เมตร ใช้ไฟฟ้า 750 โวลต์ กระแสตรงป้อนระบบขับเคลื่อนรถ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับขับเคลื่อนตัวรถ ควบคุมการเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุม