svasdssvasds

อินเดีย VS จีน เดือด เหตุจีนสร้างเขื่อน-ตั้ง 2 มณฑลใหม่ ในพื้นที่พิพาท

อินเดีย VS จีน เดือด เหตุจีนสร้างเขื่อน-ตั้ง 2 มณฑลใหม่ ในพื้นที่พิพาท

อินเดีย VS จีน เดือดรับปีใหม่ เหตุจีนสร้างเขื่อน-ตั้ง 2 มณฑลใหม่ ในพื้นที่พิพาท หลังพึ่งคลายปมร้อนไปเมื่อปลายปี 67

SHORT CUT

  • อินเดียกังวลต่อโครงการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำขนาดยักษ์ของจีนในทิเบต บนแม่น้ำยาร์ลุงซังโบ ซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำพรหมบุตร อินเดียเกรงว่าโครงการนี้จะส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำและระบบนิเวศในประเทศ
  • ความไม่ไว้วางใจระหว่างสองประเทศ ทวีความรุนแรงขึ้นหลังเหตุปะทะทางทหารบริเวณชายแดนในปี 2563
  • อินเดียประท้วงจีนกรณีจัดตั้งมณฑลใหม่ 2 แห่ง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่พิพาทที่อินเดียอ้างสิทธิ์2 ยิ่งตอกย้ำปัญหาชายแดนที่คาราคาซังมานาน

อินเดีย VS จีน เดือดรับปีใหม่ เหตุจีนสร้างเขื่อน-ตั้ง 2 มณฑลใหม่ ในพื้นที่พิพาท หลังพึ่งคลายปมร้อนไปเมื่อปลายปี 67

ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและอินเดีย สองมหาอำนาจแห่งเอเชีย เต็มไปด้วยความซับซ้อนและความขัดแย้งมายาวนาน ตั้งแต่ปัญหาชายแดน ปัญหาทรัพยากร ไปจนถึงการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการทหาร ล่าสุด แผนการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำขนาดยักษ์ของจีนในทิเบต ได้กลายเป็นชนวนแห่งความตึงเครียดครั้งใหม่ โดยอินเดียแสดงความกังวลว่าโครงการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและความมั่นคงทางน้ำของประเทศ

ขณะที่จีนมีแผนสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำยาร์ลุงซังโบในทิเบต ซึ่งเป็นแม่น้ำสายเดียวกับแม่น้ำพรหมบุตรที่ไหลผ่านอินเดียและบังกลาเทศ เขื่อนดังกล่าวจะเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีกำลังผลิตมหาศาลถึง 300,000 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี

อินเดียแสดงความกังวลอย่างชัดเจนต่อโครงการนี้ โดยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศอินเดียเรียกร้องให้จีนรับประกันว่าโครงการจะไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศที่อยู่ปลายน้ำ อินเดียกังวลว่าเขื่อนยักษ์อาจทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำพรหมบุตรลดลง ส่งผลกระทบต่อการเกษตรและระบบนิเวศในรัฐอรุณาจัลประเทศและรัฐอัสสัม นอกจากนี้ อินเดียยังกังวลถึงความมั่นคงด้านพลังงาน เนื่องจากจีนอาจควบคุมการปล่อยน้ำจากเขื่อน ซึ่งอาจสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจแก่อินเดีย

ความขัดแย้งเรื่องเขื่อนนี้ สะท้อนถึงปัญหาความไม่ไว้วางใจระหว่างสองประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเหตุปะทะทางทหารบริเวณชายแดนในปี 2563 แม้ว่าทั้งสองฝ่ายจะพยายามคลี่คลายความตึงเครียดด้วยการถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาท แต่อินเดียยังคงมองการขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาคด้วยความระแวง

นอกจากปัญหาเขื่อนยักษ์ อินเดียยังประท้วงจีนกรณีจัดตั้งมณฑลใหม่ 2 แห่ง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่พิพาทที่อินเดียอ้างสิทธิ์ ซึ่งยิ่งตอกย้ำถึงความซับซ้อนของปัญหาชายแดนระหว่างสองประเทศ

การสร้างเขื่อนยักษ์ของจีนในทิเบต เป็นเพียงหนึ่งในหลายประเด็นที่สะท้อนถึงความขัดแย้งระหว่างจีนและอินเดีย ความไม่ไว้วางใจ การแข่งขัน และปัญหาชายแดน ยังคงเป็นเงาทมึมครบคลุมความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ อนาคตของความสัมพันธ์จีน-อินเดีย ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด

อ้างอิง

IMCT / ArabNews /

related