svasdssvasds

ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ สืบสานวิถีชีวิตชาวไทยเชื้อสายมอญ ลาดกระบัง

ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ สืบสานวิถีชีวิตชาวไทยเชื้อสายมอญ ลาดกระบัง

ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ สืบสานวิถีชีวิตชาวไทยเชื้อสายมอญ ลาดกระบัง โดยมี นางสาวธีรรัตน์ สําเร็จวาณิชย์ เป็นประธานในพิธี

SHORT CUT

  • สำนักงานเขตลาดกระบัง ร่วมกับ วัดสุทธาโภชน์ และสภาวัฒนธรรมเขตลาดกระบัง จัดงาน "ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ" ประจำปี 2567 ซึ่งเป็นประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ
  • ป็นวัฒนธรรมประเพณีของชาวรามัญหรือชาวไทยเชื้อสายมอญในเขตลาดกระบังที่ยังคงยึดถือและปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนานกว่า 100 ปี
  • โดยมี นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานเปิดงาน "ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ" ประจำปี 2567

ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ สืบสานวิถีชีวิตชาวไทยเชื้อสายมอญ ลาดกระบัง โดยมี นางสาวธีรรัตน์ สําเร็จวาณิชย์ เป็นประธานในพิธี

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2567 นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานเปิดงาน "ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ" ประจำปี 2567 โดยมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.สุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา ประธานสภากรุงเทพมหานคร ร่วมพิธีเปิดงาน ณ คลองลำปลาทิว ท่าน้ำหน้าวัดสุทธาโภชน์ แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย ขบวนเรือมาดของพระสงฆ์กว่า 100 รูป ออกรับบิณฑบาตจากสาธุชน ที่รอตักบาตรริมสองฝั่งคลอง และพิธีถวายภัตตาหารเพลด้วยชุดสำรับคาว-หวาน ตามประเพณีของชาวมอญอันเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น และการแข่งขันเรือพายท้องถิ่นในช่วงบ่าย

ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ สืบสานวิถีชีวิตชาวไทยเชื้อสายมอญ ลาดกระบัง

สำนักงานเขตลาดกระบัง ร่วมกับ วัดสุทธาโภชน์ และสภาวัฒนธรรมเขตลาดกระบัง จัดงาน "ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ" ประจำปี 2567 ซึ่งเป็นประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ เป็นวัฒนธรรมประเพณีของชาวรามัญหรือชาวไทยเชื้อสายมอญในเขตลาดกระบังที่ยังคงยึดถือและปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนานกว่า 100 ปี กำหนดจัดงานในวันอาทิตย์แรกหลังออกพรรษาหนึ่งสัปดาห์ของทุกๆ ปี และเป็นประเพณีที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตและความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนไทย ที่มีความเลื่อมใสศรัทธาพระพุทธศาสนา ในการทำบุญตักบาตรมาแต่ครั้งอดีตกาลจนถึงปัจจุบัน ในสมัยก่อนใช้ทางน้ำเป็นการสัญจรหลัก จึงใช้แม่น้ำลำคลองในการเดินทางไปมาหาสู่ติดต่อกัน รวมถึงการทำบุญตักบาตรของชาวบ้านในสมัยก่อน พระภิกษุสงฆ์จะออกรับบิณฑบาตโดยทางเรือ

ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ สืบสานวิถีชีวิตชาวไทยเชื้อสายมอญ ลาดกระบัง

ทำให้กลายเป็นวัฒนธรรมของชาวลาดกระบัง ที่ยังคงเห็นความเป็นรากเหง้าแก่นแท้ของความเป็นไทย สืบสานและอนุรักษ์ประเพณีอันดีงาม มาจนถึงปัจจุบัน ประชาชนชาวพุทธจะร่วมกันตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง บริเวณริมสองฝั่งคลองลำปลาทิว หน้าวัดสุทธาโภชน์ ระยะทางมากกว่า 3 กิโลเมตร พระสงฆ์นับร้อยรูปจะรับบิณทบาตทางเรือมาดซึ่งทางวัดเก็บรักษาและอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีมากกว่า 100 ลำ ทั้งนี้ กรุงเทพมหานคร ได้ขึ้นทะเบียนเป็น "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม" และเป็นหนึ่งเดียวของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของเขตลาดกระบังด้วย

ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ สืบสานวิถีชีวิตชาวไทยเชื้อสายมอญ ลาดกระบัง

related