svasdssvasds

ป่า (ของ) เขา? กับการเข้ามาของแผนที่ ที่ผลักคนบนเขาให้เป็นคนชายขอบ

ป่า (ของ) เขา? กับการเข้ามาของแผนที่ ที่ผลักคนบนเขาให้เป็นคนชายขอบ

ป่า (ของ) เขา? กับการเข้ามาของแผนที่ ที่ผลักคนบนเขาให้เป็นคนชายขอบ ส่งผลให้คนไม่เท่ากันทั้งการสร้างรัฐชาติด้วยแผนที่รวมถึงโฉนดที่ดิน

SHORT CUT

  • ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนเกิดจากรัฐชาติสมัยใหม่ที่พยายามกำหนดเขตแดนรวมถึงกำหนดพื้นที่ด้วยแผนที่และโฉนดที่ดิน
  • แต่กระนั้นความเป็นชาติพึ่งจะเข้ามาในพื้นที่ แต่คนนั้นอาศัยอยู่ก่อนแล้วจึงสร้างปัญหาที่ซับซ้อน
  • เพราะนโยบายต่างๆ ถูกกำหนดโดยคนที่ราบจากส่วนกลาง ไม่ใช่จากคนบนเขาที่อาศัยอยู่ทำให้มีปัญหา

ป่า (ของ) เขา? กับการเข้ามาของแผนที่ ที่ผลักคนบนเขาให้เป็นคนชายขอบ ส่งผลให้คนไม่เท่ากันทั้งการสร้างรัฐชาติด้วยแผนที่รวมถึงโฉนดที่ดิน

กรณีการออกโฉนดที่ดินทับซ้อนอุทยานแห่งชาติทับลานกลายเป็นเหตุการณ์ที่สังคมพูดถึงกันอย่างมาก เกิดการโต้เถียงทั้งจากฝ่ายอนุรักษ์ธรรมชาติและฝ่ายชาวบ้านที่อาศัยอยู่มานาน

กระนั้นเองหากย้อนไปในประวัติศาสตร์อาจเรียกได้ว่าคนเข้ามาในพื้นที่ก่อนที่จะมีการกำหนดเขตแดนก่อนด้วยซ้ำ แต่เมื่อกำหนดเขตแดนจึงเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน

SPRiNG พาไปย้อนรอย ป่า (ของ) เขา? การเข้ามาของแผนที่ ผลักคนบนเขาให้เป็นคนชายขอบ ในภาวะที่ประเทศไทยต้องทำความเข้าใจระหว่างคนกับคน และคนกับรัฐ ก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาวงกว้างต่อไปในอนาคต

ป่า (ของ) เขา? กับการเข้ามาของแผนที่ ที่ผลักคนบนเขาให้เป็นคนชายขอบ

แผนที่สร้างชาติจากรัฐบาลกลางแต่ละเลยคนอื่น

ต้องบอกก่อนว่าสยามหรือไทยเรานั้นตั้งแต่ครั้งอดีตก่อนรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ได้มีเรื่องเขตแดนชัดเจนว่าประเทศเราจะเป็นรูปร่างแบบไหน

ป่า (ของ) เขา? กับการเข้ามาของแผนที่ ที่ผลักคนบนเขาให้เป็นคนชายขอบ

ในอดีตระบอบการเมืองของเราอิงหลักรัฐแสงเทียน (Mandala) อาณาเขตที่เห็นได้ชัดเจน คือ เมืองหลวง และจะชัดเจนน้อยลงไปเรื่อยๆ ตามความห่างไกลจากศูนย์กลางของอำนาจ

ขนาดที่พื้นที่อื่นไกลห่างออกไปขึ้นอยู่กับอำนาจบารมี และความเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ ถึงจะเป็นอาณาเขตของสยาม นั่นหมายความว่าในยุคสมัยนั้นเรื่องของแผนที่หรืออาณาเขตไม่ได้มีความชัดเจนนักในสยาม

แต่พลันที่ชาติตะวันตกเข้ามาในยุคแห่งการล่าอาณานิคมสยามเริ่มมีการปรับตัว เพราะอังกฤษต้องการสำรวจพื้นที่ทางบกเชื่อมต่อกับทางทะเล เพื่อทำแผนที่ขยายจากอินเดียและพม่าที่อังกฤษครอบครองมาใหม่ในปี ค.ศ. 1880 และจำเป็นต้องพาดผ่านเข้ามาในเขตแดนทางด่านพระเจดีย์สามองค์ หรือทางภาคตะวันตกของไทย ไปบรรจบกับทางทะเลในอ่าวสยาม จึงต้องทำเรื่องขออนุญาตรัฐบาลไทยในการทำแผนที่ฉบับนี้อย่างเป็นทางการ

ป่า (ของ) เขา? กับการเข้ามาของแผนที่ ที่ผลักคนบนเขาให้เป็นคนชายขอบ

เมื่อรัชกาลที่ 5 ทรงทราบเรื่องก็ทรงพระวิตกเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่รู้เป้าหมายที่แน่ชัดของรัฐบาลอังกฤษ และยังล่วงเข้ามาถึงพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ และเขตพระราชฐาน ซึ่งเป็นเขตหวงห้าม ย่อมกระทบต่อความรู้สึกของชาวราชสำนัก

รัชกาลที่ 5 จึงเรียก นายอาละบาสเตอร์ หรือ Henry Alabaster (อดีตรองกงสุลอังกฤษ ผู้ลาออกแล้วสมัครเข้ารับราชการกับทางราชสำนักไทย) และเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินผู้เชี่ยวชาญด้านการทำแผนที่ และวิศวกรรมโยธามาก่อน ถูกเรียกตัวเข้ามาถวายคำแนะนำว่า ไทยควรจะให้อนุญาตอังกฤษในการสำรวจหรือไม่

สุดท้าย นายอาละบาสเตอร์ ก็ได้แนะนำว่าควรจะอนุญาต ด้วยเหตุผลที่ไทยจะได้ประโยชน์ในการสำรวจไม่น้อยไปกว่าอังกฤษ และในอนาคตอันใกล้ไทยก็จำเป็นจะต้องทำแผนที่เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลทำนองเดียวกันอยู่ดีไม่ช้าก็เร็ว

นาย อาละบาสเตอร์ ยังทูลเสนอแนะต่อไปอีกว่า ไหนๆ รัฐบาลไทยก็จะได้ประสานงานด้านการสำรวจและทำแผนที่กับผู้เชี่ยวชาญของรัฐบาลอังกฤษแล้ว เขาในฐานะลูกจ้างเก่าของรัฐบาลอังกฤษใคร่จะแนะนำให้พระองค์ทำแผนที่เมืองไทยให้กว้างขวางขึ้นไปอีกในโอกาสต่อไป ก็ควรจะพิจารณาถึงตัวคนอังกฤษที่ขออนุญาตคราวนี้เข้ารับราชการเป็นลูกจ้างรัฐบาลไทยเสียเลยทีเดียว ซึ่งรัชกาลที่ 5 ก็ทรงเห็นด้วยกับ นายอาละบาสเตอร์

จึงได้มีการทาบทาม นายเจมส์ แม็คคาร์ธี (James McCarthy) ต่อมาคือพระวิภาคภูวดล โดยให้เงินเดือนสูงเพื่อดึงดูดใจ และมีสัญญากับแม็คคาร์ธีว่าถ้ารับราชการดี ถึงเวลาออกจากราชการก็จะให้เงินบำนาญเท่าเงินเดือนที่รับเวลาจะออกมาจากราชการแล้ว

พระวิภาคภูวดลได้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่กรมแผนที่รวบรวมแผนที่ที่อังกฤษและฝรั่งเศสที่มีอยู่แล้ว จัดทำขึ้นเป็น แผนที่ประเทศไทย และใน พ.ศ. 1887 พระวิภาคภูวดลก็ได้นำแผนที่ประเทศไทยที่รวบรวมได้นั้นเดินทางไปยังประเทศอังกฤษ เพื่อจัดการพิมพ์ต่อไป

เป็นอันว่า แผนที่เมืองไทย ได้ถูกตีพิมพ์ขึ้นเป็นฉบับแรก ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ใน ค.ศ. 1887 และได้ถูกส่งกลับเมืองไทยใน ค.ศ.1888 ทางราชการได้ใช้สืบต่อมาจนบัดนี้ เรียกว่าแผนที่เมืองไทยฉบับแม็คคาร์ธี

ไทยหรือสยามจึงเริ่มรู้จักแผนที่และเริ่มจินตนาการถึงภาพดินแดนที่ชัดเจนของตนเองนับตั้งแต่นั้นมา

อุทยานป่าไม้มรดกจากสหรัฐอเมริกาทำให้คนในพื้นที่ให้กลายเป็นคนอื่น

เรื่องอุทยานป่าไม้สยามหรือไทยเอง ก็รับอิทธิพลจากต่างชาติเช่นเดียวกัน สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศแรกที่จัดตั้งอุทยานแห่งชาติ คือ อุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน เมื่อปี พ.ศ. 2408 แนวคิดการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ สัตว์ป่า และทิวทัศน์ ได้รับการนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย

ป่า (ของ) เขา? กับการเข้ามาของแผนที่ ที่ผลักคนบนเขาให้เป็นคนชายขอบ

แต่หากมองลึกลงไปในห้วงประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาต้องบอกว่าคนผิวขาวคือคนอเมริกาเข้าไปแย่งพื้นที่ที่คนพื้นถิ่นอย่างคนอินเดียแดงอาศัยอยู่เท่านั้น

โดยเฉพาะในสมัยประธานาธิบดีแอนดรูว์ แจ็กสัน เป็นยุคที่ขยายการสำรวจดินแดนไปด้านตะวันตกของประเทศ เพราะฉะนั้นต้องขับไล่ชนพื้นถิ่นหรืออินเดียนแดงออกจากพื้นที่ของพวกเขาและให้คนขาวเข้าไปยึดพื้นที่มาครอบครองแทน

นั่นหมายความว่าคนพื้นถิ่นที่เป็นคนอินเดียนแดงถูกยึดพื้นที่โดยคนขาวที่เข้ามาใหม่โดยการสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง และทำให้พวกเขากลายเป็นคนชายขอบ ทั้งๆ ที่พื้นที่เหล่านี้เคยเป็นพื้นที่ที่พวกเขาอยู่มาตั้งแต่บรรพบุรุษ

ยังไม่หมดเพียงเท่านั้นในเวลาต่อมาในปี 1865 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้สร้างอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน (Yellow Stone National Park) เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของอเมริกา และแห่งแรกของโลก

โดยจำกัดพื้นที่ห้ามบุกรุก กลายเป็นพื้นที่อนุรักษ์ ฉะนั้นคนอินเดียนแดงที่มีประวัติศาสตร์ความผูกพันกับพื้นที่ดังกล่าวไม่สามารถทำกินในพื้นที่นี้ได้อีกต่อไป ทำให้วิถีชีวิตของพวกเขาต้องเปลี่ยนไป กลายเป็นคนชายขอบที่ถูกกฎหมายจากรัฐเข้ามาครอบงำพฤติกรรมของพวกเขา โดยขาดความเข้าใจประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

สังคมที่ราบถลุงทรัพยากร แต่บังคับคนบนเขาให้อนุรักษ์

ย้อนมาที่ไทยปัญหาดังกล่าวก็ปรากฏให้เห็นตลอดช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์เรื่อยมาหลังจากที่เรากำหนดเขตแดนและพื้นที่อุทยานแห่งชาติชัดเจน อาจไม่ส่งผลต่อคนเมืองหลวงที่กำหนดนโยบายจากกรุงเทพมหานครมากนัก แต่ส่งผลต่อคนพื้นถิ่นที่อยู่ในพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นเขตอนุรักษ์อย่างชัดเจน

ป่า (ของ) เขา? กับการเข้ามาของแผนที่ ที่ผลักคนบนเขาให้เป็นคนชายขอบ

ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยต้องอยู่อย่างยากลำบากมานานหลายทศวรรษต่อสู้กับข้อจำกัดต่างๆ เช่น การเข้าถึงที่ดินทำกินของบรรพบุรุษที่ไม่สามารถเข้าถึงได้เนื่องมาจากนโยบายจากรัฐบาลกลางกำหนดพื้นที่ที่พวกเขาอยู่อาศัยกลายเป็นพื้นที่อนุรักษ์ และจำกัดพื้นที่ทำกินของพวกเขาด้วย

รวมถึงสิทธิในการเข้าถึงบริการสาธารณะจากรัฐ เนื่องจากยังมีชนเผ่าพื้นเมืองอีกหลายคนยังไม่ได้รับสัญชาติไทย เนื่องจากรัฐบาลกลางเองมองว่าพวกเขาไม่ใช่คนไทยแต่เป็นคนอื่น ตัวอย่างเช่น กะเหรี่ยงบางกลอย ที่ถูกไล่ยิงเนื่องจากพวกเขาถูกกล่าวหาว่าบุกรุกพื้นที่

จากรายงานสังเคราะห์ปี 2561 ระบุการศึกษากรณีของชนเผ่าพื้นเมือง 10 กลุ่มชาติพันธุ์ประกอบด้วย ชนเผ่ามละบริ ก่อ (อึมปี้) บีซู ชอง ญัฮกุร ไทแสก มอแกน มอแกลน อูรักลาโว้ย และมานิ พบว่าทั้ง 10 ชนเผ่าพื้นเมืองนี้ได้เผชิญกับปัญหาด้านสิทธิความเป็นพลเมือง สิทธิในที่ดินทำกินการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ และสิทธิความเป็นตัวตนที่ได้รับการยอมรับจากสังคม

ขณะที่เรามองกลับมาที่สังคมพื้นที่ราบที่กำหนดนโยบายต่างๆ ของประเทศรวมถึงกำหนดพื้นที่อนุรักษ์กลับเป็นสังคมที่ถลุงทรัพยากรต่างๆ ของประเทศไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ น้ำมัน และสร้างภาวะโลกร้อนมากเสียกว่าคนบนเขา กลับกำหนดนโยบายควบคุมชีวิตของคนบนภูเขาโดยอ้างว่าเพื่ออนุรักษ์

โดยหารู้ไม่ว่าเป็นการทำลายวิถีดังเดิมของชนพื้นถิ่นที่เคยอยู่มาก่อนที่จะมีแผนที่มากำหนดเขตแดนด้วยซ้ำ

การกำหนดแผนที่เริ่มจำกัดวิถีชีวิตคนพื้นทำให้ชีวิตพวกเขาเปลี่ยนไปอย่างมากโดยเฉพาะแนวชายแดนซึ่งถูกกำหนดทีหลังหลังจากมีแผนที่ทำให้ญาติพี่น้องต้องห่างกันเพียงเส้นชายแดน ทั้งๆ ที่ในอดีตพวกเขาเคยไปมาหาสู่กันแต่พอมีเส้นบางๆ มากำหนดทำให้พวกเขาจำต้องเป็นคนที่อยู่กันคนละประเทศ

การมาของโฉนดเทคโนโลยีทำลายวิถีดั้งเดิม

แผนที่ทำให้วิถีคนพื้นถิ่นเปลี่ยนแปลงไปไม่พอ แต่เมื่อมีการคิดค้นโฉนดที่ดินเข้ามาและนำมาใช้กับประเทศไทยยิ่งทำให้ชีวิตคนพื้นถิ่นเจ็บปวดยิ่งกว่าเดิม

ประเทศไทยเริ่มให้กรรมสิทธิ์ที่ดินแก่ราษฎรอย่างชัดเจน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ ค.ศ.1901 โดยเริ่มออกโฉนดที่ดินให้แก่ราษฎรเป็นครั้งแรก

โดยสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ดินเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น เพราะการตัดถนนและคูคลองใหม่ เป็นการขยายเส้นทางการค้าขายทั้งทางบกและทางน้ำ ผู้คนจึงเริ่มต้องการจับจองที่ดินเป็นของส่วนบุคคลเพื่อทำการค้าขาย และยึดเส้นทางคมนาคมเพื่อความสะดวกในด้านการเดินทางขนส่ง อีกทั้งจับจองแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรม การเปิดโอกาสให้คนจับจองที่ดินและทำโฉนดเป็นของราษฎรนี้ นับเป็นการเริ่มต้นให้อำนาจแก่ประชาชนของรัฐด้วย มิใช่ที่ดินทุกที่เป็นของหลวง จะเวนคืนเมื่อใดก็ได้เช่นยุคเก่า

ป่า (ของ) เขา? กับการเข้ามาของแผนที่ ที่ผลักคนบนเขาให้เป็นคนชายขอบ

นับตั้งแแต่นั้นมาราษฎรก็มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน กลายเป็นเจ้าของที่ดินสามารถทำกินในพื้นที่ที่ตนเองหักร้างถางพงไว้ได้ ส่งผลให้ภาคเกษตรกรรมของรัฐขยายตัวมากยิ่งขึ้น

ถึงแม้โฉนดที่ดินจะเกิดขึ้นมาทำให้ราษฎรได้ประโยชน์ แต่ก็เพียงแต่ราษฎรที่ใกล้ศูนย์กลางอำนาจ รวมถึงเจ้านายและขุนนางรวมถึงคนจีนเท่านั้นที่ได้กรรมสิทธิ์จากที่ดิน

เพราะในเวลาต่อมามักมีปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ถูกผูกขาด จนกระทั่งรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องออกกฎหมายปฏิรูปที่ดิน

ยิ่งไม่ต้องพูดถึงคนพื้นที่ตามภูเขา ซึ่งถูกรัฐควบคุมจากการสร้างรัฐชาติและการทำแผนที่ พวกเขาเป็นผู้ที่ถูกละเลยมาตั้งแต่ต้นยิ่งถูกซ้ำเติมจากการออกโฉนดที่ดิน เพราะการออกโฉนดที่ดินทำให้คนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ดินโดยไม่ได้รับการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ เมื่อมีการออกโฉนดที่ดิน คนกลุ่มเหล่านี้อาจสูญเสียที่ดินที่อาศัยและทำกินมาช้านาน เพราะไม่สามารถแสดงหลักฐานการครอบครองที่ดินได้

ส่งผลให้คนพื้นที่กลายเป็นคนชายขอบ

การออกโฉนดที่ดินอาจนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างคนกลุ่มน้อยกับรัฐ หรือกับนายทุนที่เข้ามาซื้อที่ดินในพื้นที่ เพราะคนกลุ่มน้อยอาจรู้สึกว่าถูกกีดกันออกจากที่ดินของตน

คนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติ การออกโฉนดที่ดินอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การสร้างเขื่อน หรือการขยายพื้นที่เกษตร ซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนกลุ่มน้อย

การออกโฉนดที่ดินอาจจำกัดการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติของคนกลุ่มน้อย เช่น น้ำ ป่าไม้ และสัตว์ป่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและความเป็นอยู่ของคนกลุ่มน้อย

ป่า (ของ) เขา? กับการเข้ามาของแผนที่ ที่ผลักคนบนเขาให้เป็นคนชายขอบ

คนกลุ่มน้อยที่ไม่มีโฉนดที่ดินอาจถูกกีดกันจากการเข้าถึงบริการสาธารณะ เช่น การศึกษา สาธารณสุข และสวัสดิการต่างๆ เพราะการมีโฉนดที่ดินเป็นหลักฐานแสดงสถานะทางสังคมในบางกรณี

เราเห็นสาเหตุที่คนกลุ่มน้อยในประเทศไทยกลายเป็นคนชายขอบ มีหลายประการ ดังนี้

1. ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม:

  • คนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มอาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม และบริการสาธารณะ ทำให้เข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมน้อยกว่าคนกลุ่มอื่น
  • คนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มมีรายได้น้อย การศึกษาต่ำ และมีทักษะที่จำกัด ทำให้ยากที่จะหางานทำที่มีรายได้ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

2. การเลือกปฏิบัติ:

  • คนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มมักถูกเลือกปฏิบัติ ทั้งจากคนกลุ่มอื่น และจากระบบกฎหมาย ทำให้พวกเขาถูกกีดกันออกจากโอกาสต่างๆ ในสังคม
  • หลายคนไม่มีรับโอกาสให้เดินทางออกนอกอำเภอหรือจังหวัด เนื่องจากไม่มีบัตรประชาชนและไม่มีสิทธิทำงาน

3. อุปสรรคทางวัฒนธรรม:

  • คนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มมีวัฒนธรรม ภาษา และประเพณีที่แตกต่างจากคนกลุ่มอื่น ทำให้พวกเขาถูกมองว่าแปลกแยก และยากที่จะเข้าถึงสังคมกระแสหลัก

4. การสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ:

  • คนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ แต่เมื่อมีการพัฒนาเศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้มักถูกบุกรุก หรือถูกทำลาย ทำให้คนกลุ่มน้อยสูญเสียแหล่งอาหาร แหล่งน้ำ และที่อยู่อาศัย

5. นโยบายของรัฐ:

  • บางครั้งนโยบายของรัฐก็ไม่ได้คำนึงถึงความต้องการของคนกลุ่มน้อย ทำให้พวกเขาได้รับผลกระทบจากนโยบายเหล่านี้ เช่น การสูญเสียที่ดิน การถูกอพยพ หรือการถูกบังคับให้เปลี่ยนวิถีชีวิต

แนวทางในการแก้ไขปัญหาผลกระทบของการออกโฉนดที่ดินต่อคนกลุ่มน้อย ดังนี้

  • การรับรองสิทธิชุมชน: รัฐควรมีกลไกในการรับรองสิทธิชุมชนในที่ดิน ป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ
  • การมีส่วนร่วมของคนกลุ่มน้อย: รัฐควรมีกระบวนการที่เปิดกว้างและโปร่งใส เพื่อให้คนกลุ่มน้อยมีส่วนร่วมในกระบวนการออกโฉนดที่ดิน และตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของที่ดินของตน
  • การพัฒนาทางเลือก: รัฐควรสนับสนุนคนกลุ่มน้อยในการพัฒนาทางเลือกที่ยั่งยืน เช่น การเกษตรอินทรีย์ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และหัตถกรรม

ป่า (ของ) เขา? กับการเข้ามาของแผนที่ ที่ผลักคนบนเขาให้เป็นคนชายขอบ

การแก้ไขปัญหาผลกระทบของการออกโฉนดที่ดินต่อคนกลุ่มน้อย จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้คนกลุ่มน้อยมีสิทธิ มีเสียง และสามารถมีชีวิตที่ดีบนที่ดินของตนเอง

มิฉะนั้นพวกเขาอาจเป็นคนชายขอบที่ถูกละเลยโดยรัฐที่เป็นผู้กำหนดนโยบายแต่ไม่คำนึงถึงวิถีชีวิตของพวกเขาเลยก็ได้

อ้างอิง

SilpaMag1 / SilpaMag2 / พ.ร.บ.ป่าไม้ / BlockDit / Siam / OpenDevelopment / the101

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related