svasdssvasds

สภาไฟเขียว ร่าง พ.ร.บ. ประชามติ 4 ร่าง เตรียมมีรัฐธรรมนูญใหม่ปี 69

สภาไฟเขียว ร่าง พ.ร.บ. ประชามติ 4 ร่าง เตรียมมีรัฐธรรมนูญใหม่ปี 69

กางไทม์ไลน์ สู่ รธน. ฉบับที่ 21 หลังรัฐสภา ไฟเขียว ให้ไปต่อสู่การแก้เตรียมทำประชามติ 3 รอบ พร้อมมี สสร. จาการเลือกตั้ง

SHORT CUT

  • วันที่ 18 มิถุนายน ร่าง พ.ร.บ. ประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญกำลังจะเข้าไปถกในรัฐสภาและมีแนวโน้มที่จะผ่านร่างที่เป็นของรัฐบาล
  • คาด ธ.ค.68-ก.พ.69 ทำประชามติ หากผ่านประกาศใช้ ยุบสภาเลือกตั้งใหม่
  • คาดใช้งบ 9.6 พันล้าน

กางไทม์ไลน์ สู่ รธน. ฉบับที่ 21 หลังรัฐสภา ไฟเขียว ให้ไปต่อสู่การแก้เตรียมทำประชามติ 3 รอบ พร้อมมี สสร. จาการเลือกตั้ง

ภายหลังคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 โดยมีนายภูมิธรรม เวชยชัย องนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน และรองประธาน 2 คน ประกอบด้วย นายชูศักดิ์ ศิรินิล นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ และมีนายนิกร จำนง ทำหน้าที่เป็นโฆษกคณะกรรมการและกรรมการโดยตำแหน่ง พร้อมกรรมการอื่นๆรวม 35 คน  

เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติฯ โดยหลักการการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีแนวโน้มที่จะไม่แตะต้องหมวด 1-2 และพระราชอำนาจ นอกจากนั้นจะทำให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นตั้งใจว่าจะให้เสร็จภายในเวลา 4 ปีที่เป็นรัฐบาลและต้องทำกฎหมายลูกให้แล้วเสร็จด้วยเพื่อให้ทันต่อการเลือกตั้งครั้งใหม่ โดยคณะกรรมการฯจะประชุมนัดแรกวันที่ 10 ต.ค. เวลา 15.00 น. และคาดว่าการทำประชามติครั้งแรกจะเกิดขึ้นในไตรมาสแรกในปี 2567 

และในวันที่ 18 มิถุนายน ร่าง พ.ร.บ. ประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญกำลังจะเข้าไปถกในรัฐสภาและมีแนวโน้มที่จะผ่านร่างที่เป็นของรัฐบาล ซึ่งหากผ่านจะมีไทม์ไลน์ดังต่อไปนี้คือ

  • ก.พ.-มิ.ย.67 ตั้ง กมธ.ศึกษาแนวทางได้มา ส.ส.ร. ยื้อเวลารอให้ 250 สว. หมดวาระ
  • ก.ค.67 ได้ สว.ชุดใหม่ เริ่มกระบวนการวาระแรก
  • ก.ค.-ส.ค.67 กมธ.พิจารณาส่งกลับรัฐสภาพิจารณา โหวตวาระสาม
  • ต.ค.-พ.ย.67 กระบวนการทำประชามติ
  • ก.พ.68 กระบวนการได้มาซึ่ง ส.ส.ร.  
  • มี.ค. -พ.ย.68 เข้าสู่กระบวนการยกร่าง รธน.ใหม่ โดยส.ส.ร.
  • ธ.ค.68-ก.พ.69 ทำประชามติ หากผ่านประกาศใช้ ยุบสภาเลือกตั้งใหม่

โดยแต่ละร่าง พ.ร.บ.ประชามติที่เข้าพิจารณาดังต่อไปนี้คือ

  1. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เสนอโดยคณะรัฐมนตรี
  2. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เสนอโดย ชูศักดิ์ ศิรินิล กับคณะ จากพรรคเพื่อไทย
  3. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เสนอโดย พริษฐ์ วัชรสินธุ กับคณะ จากพรรคก้าวไกล
  4. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เสนอโดย อนุทิน ชาญวีรกูล กับคณะ จากพรรคภูมิใจไทย

โดยทั้ง 4 ร่างมีความแตกต่างที่สำคัญคือ

ร่างของพรรคก้าวไกลที่รับประกันสิทธิเข้าชื่อออนไลน์เพื่อเสนอประชามติ และเปิดโอกาสให้เลือกคำตอบที่หลากหลายมากกว่าเห้นด้วยหรือไม่เห็นด้วย

มีข้อน่าสังเกตอยู่ 3 ประเด็นคือ

  1.  การเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรับธรรมนูญ (สสร.) นั้นมีเพียงพรรคก้าวไกลที่ชัดเจนว่าที่มาของ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน 100 เปอร์เซ็นต์
  2. และในหลายๆ พรรคถกถึงประเด็นว่าหากเปิดให้มีการลงประชามติอาจจัดให้ตรงกับวันเลือกตั้งท้องถิ่น เพื่อประหยัดงบประมาณในการจัดการเลือกตั้ง
  3. หลายพรรคเห็นด้วยกับเรื่องการไม่นำจำนวนประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิไม่ถึงครึ่งหนึ่งเป็นเงื่อนไขหักลบคะแนนจากผู้มาลงประชามติ
related