SHORT CUT
ย้อนรอยความขัดแย้งแบงก์ชาติ VS รัฐบาลนิด ที่ไม่ใช่เรื่องนิดๆ มีที่มาอย่างไรถึงไฟได้ระอุทขาดนี้ต้องไปชมพร้อมๆ กัน
ภายหลัง "อุ๊งอิ๊งค์" น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ประกาศลั่นกลางเวที "10 เดือนที่ไม่รอ ทำต่อให้เต็ม 10" ที่พรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 3 พ.ค.ที่ผ่านมากล่าวหาว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ "แบงก์ชาติ" เป็นอุปสรรคการพัฒนาเศรษฐกิจ ได้สร้างความร้อนแรงแบบเผ็ดร้อนทางการเมืองจนคนออกมาวิจารณ์กันทั่วบ้านทั่วเมือง
บ่งบอกถึงความขัดแย้งของรัฐบาลที่มีต่อแบงก์ชาติเกิดประเด็นถกเถียงเรื่องความเป็นอิสระของแบงก์ชาติที่รัฐบาลไม่ควรวิพากษ์วิจารณ์ณืด้วยความไม่เข้าใจ
แต่เชื่อไหมครับว่าหากย้อนไปในประวัติศาสตร์การเมืองไทยเรื่องความขัดแย้งทางแนวคิด ทางการเมืองระหว่างรัฐบาลกับแบงก์ชาติเป็นเรื่องที่เกิดบ่อยครั้งนั่นเป็นเพราะอะไรแลtเหตุการณ์เป็นอย่างไร ถึงขนาดปลดผู้ว่าแบงก์ชาติเลยหรือไม่ ไปชมพร้อมๆ กับ SPRiNG
"โชติ คุณะเกษม" ถูกปลดโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ.2502 ซึ่งระบุสาเหตุในครั้งนั้นว่า พัวพันกรณีจ้างต่างชาติพิมพ์ธนบัตร แต่ผลสุดท้ายก็กลับมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในสมัยรัฐบาลท่านจอมพลอีกที เอ๊ะ มีอะไรแปลกๆ ไหมนะ
“นุกูล ประจวบเหมาะ” ถูกปลดในสมัยนายสมหมาย ฮุนตระกูล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยุครัฐบาลของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ โดยนายสมหมายเสนอปลดนายนุกูล ออกจากการเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2527 โดยให้เหตุผลว่า นายนุกูลอยู่ในตำแหน่งมาครบ 4 ปีแล้ว จึงเห็นสมควรให้ผู้เหมาะสมมาดำรงตำแหน่งสืบแทน
“กำจร สถิรกุล” ถูกปลดในปี พ.ศ.2533 สมัย ประมวล สภาวสุ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยุครัฐบาลของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ด้วยสาเหตุจากปัญหาความขัดแย้งเรื่องอัตราดอกเบี้ย
ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล หรือ “หม่อมเต่า” ถูกปลดในสมัย สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในยุครัฐบาลพรรคไทยรักไทย ซึ่งมี ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ให้มีมติวันที่ 29 พฤษภาคม 2544 ไม่ระบุเหตุผล ท่ามกลางกระแสข่าวความขัดแย้งเชิงนโยบายเรื่องค่าเงินบาท ที่ฝ่ายธนาคารแห่งประเทศไทยมีแนวคิดปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด แต่รัฐบาลต้องการให้เข้าไปกำกับดูแล และรัฐบาลต้องการให้แบงก์ชาติ ผ่อนคลายเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ แต่แบงก์ชาติมีมาตรการเข้มงวด และมีประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยด้วย
เรียกได้ว่าเป็นมหากาพย์ความขัดแย้งเลยทีเดียวระหว่าง เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนปัจจุบันกับ ชาวแก๊งรัฐบาลเพื่อไทย จนอุ๊งอิ๊งประกาศลั่นว่าธนาคารแห่งประเทศไทยคือจระเข้ขวางคลองการพัฒนาเศรษฐกิจ
แหม่แต่ใช่ว่าจะมีความขัดแย้งกันแค่นี้เพราะก่อนหน้านั้นมีความขัดแย้งกันเรื่องมาอยู่แล้ว พาไปย้อนชมกัน
1. ผู้ว่าการแบงก์ชาติ แสดงชัด ไม่เห็นด้วยกับโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาล
เศรษฐพุฒิ แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการกู้เงินมาแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตมาอย่างต่อเนื่อง จนรัฐบาลปรับเปลี่ยนรูปแบบแหล่งที่มาของเงิน จากการกู้ 500,000 ล้านบาท เป็นใช้เงินงบประมาณปี 2567, งบประมาณปี 2568 และเงินสภาพคล่องจาก ธ.ก.ส.
‘แบงก์ชาติ’ ส่งหนังสือถึง ครม. 5 หน้า ย้ำว่า ไม่ได้มีปัญหากับโครงการ แต่ควรแจกเฉพาะกลุ่มอย่างคนรายได้น้อยที่ใช้เงินน้อยกว่ามาก และเงิน 500,000 ล้านบาท สามารถนำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานได้อีกหลายโครงการ
2. แบงก์ชาติ ใจสู้ ไม่ยอมลดดอกเบี้ย
ระยะเวลา 10 เดือน ที่ผ่านมารัฐบาลเศรษฐาเข้ามาบริหารประเทศ ได้ผลัดกันพูดกดดันแบงก์ชาติให้ลดดอกเบี้ยมาตลอด เพื่อช่วยเหลือประชาชนคนกู้เงิน, ลดต้นทุนให้ภาคธุรกิจ และอาจรวมถึงลดต้นทุนกู้เงินของรัฐบาลที่ต้องการมาใช้กับโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต
ถึงขนาดที่ นายกฯ เศรษฐา เรียกนายแบงก์ 4 ธนาคารใหญ่ มาพูดคุยขอร้องให้ลดดอกเบี้ยเงินกู้ ช่วยกลุ่มเปราะบาง โดยธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐ ยอมลดดอกเบี้ยเงินกู้ MRR 0.25% นาน 6 เดือน เพื่อช่วยกลุ่มเปราะบาง คนมีบ้าน และเอสเอ็มอี
3. แบงก์ชาติ ซัดไม่เห็นด้วยกับการแจกเงินช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท
การแจกเงินช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เป็นอีกโครงการที่แบงก์ชาติไม่เห็นด้วย เพราะมองว่าปัจจุบันราคาข้าวสูง ค่าปุ๋ยถูก และกังวลปัญหามอรัลฮัดซาร์ด (Moral hazard) หรือพฤติกรรมผิดๆ รอความช่วยเหลือซ้ำซ้อน
4. ฝ่ายการเมืองเดือดตั้งคำถามต่อความเป็นอิสระของแบงก์ชาติ
เรียกได้ว่าหตุการณ์เกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ เมื่อ ‘อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร’ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ขึ้นเวทีพูดถึงความเป็นอิสระของแบงก์ชาติ และเป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศ จนบุคคลหลากหลายวงการ แสดงความเห็นออกมาปกป้องแบงก์ชาติ และเห็นด้วยกับการทำหน้าที่ของแบงก์ชาติ
ความเป็นอิสระของแบงก์ชาติ ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็น แต่ความสำคัญของการเป็นอิสระ เพราะแบงก์ชาติ เป็นองค์กรพิมพ์ธนบัตรได้เอง และรัฐบาล เป็นองค์กรใช้เงิน หากไม่มีความเป็นอิสระแยกจากกัน อาจเกิดผลเสียต่อประเทศได้
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา นายกฯ เศรษฐา และผู้ว่าการแบงก์ชาติ ได้นัดคุยเป็นการส่วนตัว หารือถึงแนวทางนโยบายที่ต้องสอดประสานกันระหว่างนโยบายรัฐบาล นโยบายการคลังและการเงิน แต่ในระยะหลังไม่มีการพูดคุยหารือกันเหมือนก่อน และผู้ว่าการแบงก์ชาติ ไม่เข้าร่วมประชุมคณะเงินดิจิทัลวอลเล็ต โดยส่งตัวแทนประชุมแทน เป็นการส่งสัญญาณตอกย้ำรอยร้าวระหว่างรัฐบาลและแบงก์ชาติในเวลานี้
ทั้งหมดคือความขัดแย้งระหว่างผู้ว่าแบงก์ชาติกับรัฐบาลที่เคยเกิดขึ้นในอดีต และในช่วงนี้เองกลับมาเป็นโฟกัสทางการเมืองอีกครั้ง เพราะรัฐบาลเพื่อไทยมีแนวโน้มไม่พอใจการทำงานกับผู้ว่าแบงก์ชาติ ที่มีแนวคิดทางด้านการเงินการคลังที่ไม่ตรงกันนั่นเอง
แหล่งอ้างอิง
ธนาคารแห่งประเทศไทย / Nation / กรุงเทพธุรกิจ /
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รู้จัก 'เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ' จากเด็กนักเดินทาง สู่ผู้ว่าแบงก์ชาติคนที่ 21