svasdssvasds

ดร.อนันต์ เผยพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในไทย วัคซีนยับยั้งไวรัสได้ระดับหนึ่ง

ดร.อนันต์ เผยพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในไทย วัคซีนยับยั้งไวรัสได้ระดับหนึ่ง

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ได้โพสต์ข้อความในเฟสบุ๊คส่วนตัวว่าได้พบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในไทย และวัคซีนยับยั้งไวรัสได้ระดับหนึ่ง

ดร.อนันต์ เผยพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในไทย วัคซีนยับยั้งไวรัสได้ระดับหนึ่ง ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ได้โพสต์ข้อความใน Facebook ส่วนตัวข้อความว่า

"เรื่องเล่าจาก Lab ครับ...

เมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนผมได้รับตัวอย่างน้ำลายจากผู้ป่วยโควิดรายหนึ่ง เคสนี้น่าสนใจตรงที่ว่าเป็นเคสที่เพิ่งหายป่วยจากโควิดเมื่อประมาณไม่ถึง 3 เดือน ทำให้เป็นไปได้สูงว่าการติดโควิดซ้ำนี้น่าจะมาจากไวรัสที่มีการเปลี่ยนแปลงหนีภูมิคุ้มกันได้ดี หลังจากที่เพาะเชื้อสำเร็จ ก็ทำการโคลนยีนหนามสไปค์และส่งถอดรหัสพันธุกรรม ในขณะที่รอผลการถอดรหัส ทีมวิจัยได้ทดสอบสมมติฐานว่าไวรัสชนิดนี้หนีภูมิได้ในระดับไหน

เราได้นำไวรัสดังกล่าวมาบ่มกับแอนติบอดีชนิด monoclonal antibody ที่เป็นหนึ่งในแอนติบอดีที่สามารถยับยั้งไวรัสโอมิครอน BA.2 และ BA.5 ได้ดีมาก (ขออนุญาตสงวนชื่อทางการค้าของแอนติบอดีนะครับ) และบ่มกับตัวอย่างซีรั่มของผู้เคยติดเชื้อโควิด 2 ราย แล้วมีโอกาสได้รับวัคซีน mRNA ชนิด bivalent มาเมื่อประมาณ 1-2 เดือนที่ผ่านมา และ

สุดท้ายบ่มกับสารสกัดจากพืชชนิดหนึ่งที่ทีมวิจัยพบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเข้าสู่เซลล์ของไวรัสได้ (หนึ่งใน candidate ที่ทีมวิจัยได้ทุนวิจัยจาก วช ในการหาสารยับยั้งต้านไวรัส) โดยการบ่มแอนติบอดีหรือสารสกัด กับไวรัสใช้เวลาเท่ากัน โดยปริมาณที่ใช้จากมากไปหาน้อย หลุมที่ 1 คือ มากสุด และ หลุมที่ 5 คือน้อยสุด ส่วน หลุมที่ 6 เป็นไวรัสเปล่าๆ เพื่อเป็นกลุ่มควบคุมปริมาณไวรัสที่ใช้ และ ปล่อยให้ไวรัสติดเซลล์ประมาณ 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นทำการย้อมเซลล์ จุดดำๆที่เห็น คือ เซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส เราใช้จำนวนจุดเป็นตัวแทนจำนวนไวรัสที่ถูกยับยั้งการเข้าเซลล์ได้ เทียบกับ หลุมที่ไม่มีสารยับยั้ง"

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

"ผลที่ได้ชัดเจนว่า ไวรัสตัวที่ทีมวิจัยแยกออกมาได้หนีแอนติบอดีได้แบบ 100% คือ ความเข้มข้นสูงสุดไม่มีผลต่อการยับยั้งการเข้าของไวรัสเลย ส่วนภูมิจากวัคซีนดูเหมือนจะสามารถยับยั้งไวรัสได้ระดับหนึ่ง จุดที่ยับยั้งไวรัสได้ประมาณครึ่งนึงคือ ความเข้มข้นในหลุมที่ 2 ซึ่งคือ 1:200 ซึ่งเป็นค่าที่ไม่สูงมาก แต่ยังเพียงพออยู่ ที่น่าสนใจคือ สารสกัดสามารถยับยั้งไวรัสชนิดนี้ได้ดี ไม่แตกต่างจากไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ ซึ่งเหมือนจะบอกว่ากลไกการยับยั้งของสารสกัดอาจไม่ขึ้นกับการตำแหน่งที่สไปค์กลายพันธุ์ไปเพื่อหนีการจับของแอนติบอดี ... ความสนใจของทีมวิจัยตอนนี้คือสารกัดดังกล่าวจับสไปค์อย่างไรถึงยับยั้งไวรัสได้"

"หลังจากที่ผลการถอดรหัสออกมา ทีมวิจัยก็พบว่าไวรัส (ตั้งชื่อว่า PSD) ที่แยกได้ จริงๆ แล้วเป็นลูกหลานของไวรัส BA.2.75 แต่เป็น BA.2.75 ที่มีการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งสำคัญเพิ่มขึ้นอีก 4 ตำแหน่ง ส่งผลให้ PSD อยู่ใน Rank ที่สูงกว่า BQ.1.1 แต่ต่ำกว่า XBB ถ้าจัดตามตำแหน่ง mutation ดังภาพ ซึ่งข้อมูลนี้สอดคล้องกับผลทดสอบข้างต้น ตอนนี้สายพันธุ์ที่อยู่ในประเทศไทยมีความหลากหลายพอสมควร ไวรัสในลักษณะแบบ PSD น่าจะหาได้อีกไม่ยาก"

Cr. FB : Anan Jongkaewwattnan