All-terrain track chair วีลแชร์ขาลุย เพื่อให้ผู้พิการได้เข้าถึงสวนสาธารณะในรัฐ มินนิโซตาเปิดให้เช่าผจญภัย เส้นทางขรุขระ ชายหาด หรือแม้แต่หิมะ ด้วยการโดยลดข้อจำกัด ขยายการเข้าถึงธรรมชาติอย่างเท่าเทียมให้กับผู้พิการ
ข้อจำกัดที่ทำให้ผู้พิการ ไม่สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ ชดเชยได้ด้วยการออกแบบที่ทำให้ทุกคน สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้อย่างเท่าเทียม ตัวอย่างเช่น การเปิดตัว รถวีลแชร์ไฟฟ้า ของ กรมทรัพยากรธรรมชาติของจอร์เจียและมูลนิธิ Aimee Copeland Foundation ที่เห็นความสำคัญเพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับผู้พิการ ช่วยให้สัมผัสธรรมชาติเช่นเดียวกับคนทั่วไป โดยละลายเส้นกั้นของการเข้าถึงสภาพพื้นผิวเส้นทางสำรวจที่เป็นอุปสรรคในอดีต โดยใช้ชื่อว่า All-terrain track chair ที่สามารถตะลุยสภาพถนนได้ทุกรูปแบบ ทั้งขรุขระ ชายหาด และหิมะก็ตาม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Sony จับมือ WS Audiology ร่วมพัฒนา "เครื่องช่วยฟัง" ทำให้โลกไม่เงียบเหงา
พิมพ์หนังสือผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เพิ่มโอกาสทางความรู้ผู้พิการทางสายตา
ชัชชาติ พ่อผู้ไม่ยอมแพ้เพื่อลูก "แสนดี" จากผู้พิการการได้ยินสู่บัณฑิตใหม่
เจ้าของไอเดียริเริ่มจาก Aimee Copeland Mercier เมื่อครั้งที่ประสบอุบัติเหตุในปี 2012 ทำให้สูญเสียมือและขาทั้งสองข้าง จากการติดเชื้อแบคทีเรียที่กินเนื้อ ทำให้เธอค้นหาวีลแชร์ที่มีศักยภาพในการใช้งานจนได้มาเจอกับ โครงการของ action trackchair บริษัทนี้ก่อตั้งโดย Tim และ Donna Swenson พ่อแม่ที่ลูกชายของพวกเขาเป็นอัมพาตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
Copeland Mercier ระดมทุนผ่านมูลนิธิเป็นเงินรวม 200,000 ดอลลาร์ (คิดเป็นเงินไทยประมาณ 7,178,000) เพื่อจัดซื้อ วีลแชร์ทุกสภาพถนนนี้ที่สนนราคาตัวละ 12,500 ดอลลาร์ (คิดเป็นเงินไทยประมาณ 448,625 บาท)
เมื่อได้ทดลองใช้ก็พบว่า เธอสามารถนั่งวีลแชร์นี้สำรวจสวนสาธารณะโดยรอบที่มีทั้งกิ่งไม้ เนินสูง และหนองน้ำหรือในฤดูหนาวที่มีหิมะก็ตาม ซึ่งต่างกับเมื่อต้องใช้วีลแชร์ธรรมดาที่ต้องลงแรงและเวลาอยู่นาน หรือในบางพื้นผิวก็ไม่สามารถข้ามผ่านไปได้
ข้อจำกัดที่วีลแชร์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกนี้ไม่สามารถเข้าถึงได้ คือ ความกว้าง, ทางลาดชันมากๆ และการขึ้น-ลงบันได
โครงการของ Minnesota DNR ได้จัดหาวีลแชร์ตะลุยพื้นผิวถนนนี้ไว้ 5 ตัวสำหรับผู้ใช้งาน ซึ่งผู้สนใจจะต้องมีการแสดงหลักฐานและผ่านหลักสูตรอบรมออนไลน์ที่เมื่อผ่านแล้วจะได้รับการรับรอง เพื่อยื่นเรื่องขอเช่าวีลแชร์นี้ในบริเวณการดูแลต่อไป ซึ่งจะมีรายละเอียดและข้อแนะนำในการเข้าสู่พื้นที่เพื่อกำหนดขอบเขตให้สำหรับผู้พิการที่เช่าวีลแชร์นี้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น
ด้วยแนวคิดที่ตั้งเป้าหมายไว้คือ "เพื่อให้ทุกคน ไม่ว่าจะมีข้อจำกัดใดสามารถเข้าถึงประสบการณ์กลางแจ้งและการผจญภัยที่น่าจดจำได้อย่างเท่าเทียม แม้ไม่ต้องเดิน"
ซึ่งน่าสนใจว่า ทางเท้าไทย ที่อาจไม่ได้สร้างให้เหมาะกับการใช้วีลแชร์ธรรมดา ควรหามาทดลองใช้บ้างจะดีหรือไม่?
ที่มา