svasdssvasds

นักต่อสู้หลัง 6 ตุลา 2519 ‘สหายในป่า’ สู่ ‘นักการเมือง’

นักต่อสู้หลัง 6 ตุลา 2519  ‘สหายในป่า’ สู่ ‘นักการเมือง’

รวมนักการเมืองไทย ที่เคยเป็นคนเดือนตุลา ทิ้งชีวิตในเมือง เพื่อเข้าป่าไปใช้ชื่อ 'สหาย' และในที่สุดก็เข้ามาเล่นการเมืองไทย

ตุลาคม คือเดือนที่สำคัญของการเมืองไทยอย่างแท้จริง และ ‘คนเดือนตุลา’   เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มบุคคลที่เข้าร่วมชุมนุมในเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญของประเทศไทยในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 และ 2519 โดยส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่ออกมาต่อต้านระบอบเผด็จการ การเมืองที่ไม่เป็นธรรม

ในอดีต พวกเขาคือแรงบันดาลใจ ในการต่อสู้กับระบอบนายทุน ขุนศึก และศักดินา ทว่าเมื่อเวลาเผ่านไป นักสู้เดือนตุลาหลายคน ได้  ก็ได้เติบและมีโอกาสเข้ามาเล่นการเมืองกันมากมาย บ้างอยู่ฝ่ายเดียวกัน บ้างอยู่คนละฝ่าย และขัดแย้งกันแบบสุดขั้ว  จึงทำให้คนรุ่นใหม่มองว่าสุดท้ายแประเทศไทยก็ยังมีแต่การเมืองแบบเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง ?

ต่อไปนี้ คือตัวอย่างคนเดือนตุลาส่วนหนึ่ง ที่หลัง เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 พวกเขาเลือกทิ้งชีวิตในเมือง หนีเข้าไปเป็น ‘สหาย’ ในป่า

รวมนักการเมืองที่เคยเป็นคนเดือนตุลา !

ศุภชัย โพธิ์สุ สหายแสง

ศุภชัย โพธิ์สุ

ศุภชัย โพธิ์สุ อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2  (ปี 62-66)  เขาเป็นลูกชาวนาบ้านแค ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม หลังจบ มศ.3 เข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยครูสกลนคร หลักสูตร ปกศ. หลังเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 เพื่อนสนิทชาวนครพนมได้พาหลบหนีเข้าป่าแถว อ.นาแก จ.นครพนม ก่อนถูกส่งตัวขึ้นไปเข้าโรงเรียนการเมือง-การทหารที่ฐานที่มั่นภูพาน ในเขตภาคเหนือ โดยมีชื่อจัดตั้งว่า "สหายแสง"

ศุภชัยได้ออกไปร่วมการต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยหลายครั้ง จนได้รับฉายาว่า "แสง ปืนเค" (ปืนเค-ปืนพกดาวแดง) เพราะเป้นสหายสายบู๊เต็มขั้น แต่หลังจากต่อสู้ได้ 9 ปี ไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิวัติ และพรรคคอมมิวนิสต์ไทยล่มสลาย เขาจึงออกมามาสอบบรรจุเป็นข้าราชการครู จนกระทั่งเหตุการณ์พฤษภาทมิฬเป็นแกนนำสมาพันธ์ประชาธิปไตย จ.นครพนม ก่อนจะเบนเข็มเข้าสู่การเมืองท้องถิ่น และระดับประเทศในนามพรรคภูมิใจไทยต่อไป

นักต่อสู้หลัง 6 ตุลา 2519  ‘สหายในป่า’ สู่ ‘นักการเมือง’

อดิศร เพียงเกษ

อดิศรเป็นนักศึกษา เขาร่วมชุมนุมขับไล่พระถนอม เมื่อกลางเดือนกันยายน ถึงต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2519 อันเป็นชนวนสำคัญของเหตุการณ์ 6 ตุลา หลังจากนั้นครอบครัวของเขาได้เข้าเป็นแนวร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยพำนักอยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และมีชื่อจัดตั้งว่า "สหายศรชัย" หรือ "สหายสอง"

หลังออกจาป่า  อดิศรเริ่มเข้าสู่การเมืองเมื่อปี  2515 โดยสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ หลังจากนั้นเขาก็สังกัดพรรคการเมืองอีกหลายพรรค และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมาทั้งสิ้น 4 สมัย ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปี 2535 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมปี 2539, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปี 2548, และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2548 ส่วนปัจจุบันเป็น สส บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย

นักต่อสู้หลัง 6 ตุลา 2519  ‘สหายในป่า’ สู่ ‘นักการเมือง’

ภูมิธรรม เวชยชัย

ปี 2517 ภูมิธรรม เวชยชัย นิสิตคณะรัฐศาสตร์ และเพื่อน ได้จัดตั้ง "พรรคจุฬา-ประชาชน" ถือว่าเป็นพรรคปีกซ้ายในจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย หลังความเหตุการณ์ณ์ 6 ตุลาตม 2519 ปี 2520 ภูมิธรรมในชื่อจัดตั้ง "สหายใหญ่" อยู่ที่เขตงานอีสานใต้ ก่อนจะถูกส่งตัวไปอยู่สำนักเอ 30 แขวงหลวงน้ำ สปป.ลาว สมัยรัฐบาลไทยรักไทย ภูมิธรรมเป็นเลขานุการรัฐมนตรีมหาดไทย ส่วนปัจจุบัน  ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาล แพทองธาร

พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช

พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช

สมัยเป็นนักเรียนสวนกุหลาบ หมอมิ้งเป็นสมาชิกกลุ่มยุวชนสยาม กระทั่งเป็นนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เขาได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคแนวร่วมมหิดล พรรคนักศึกษาหัวก้าวหน้า และเป็นหนึ่งในแกนนำม่วง-เหลือง ร่วมกับตัวแทนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ

แกนนำม่วง-เหลือง เปรียบเสมือนคณะเสนาธิการขบวนการนักศึกษาช่วงก่อนเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 หลังการล้อมปราบในธรรมศาสตร์ หมอมิ้งตัดสินใจเข้าร่วมการต่อสู้อาวุธในเขตงานอีสานใต้ มีชื่อจัดตั้งว่า "สหายจรัส" หลังออกจากป่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ไดดึงตัวนายแพทย์พรหมินทร์เข้ามาช่วยงานด้านกลยุทธ์ และได้เข้าร่วมทำงานกับกลุ่มบริษัทชินวัตร ปัจจุบันอยู่พรรคเพื่อไทย และเป็น เลขาธิการนายกรัฐมนตรีแพทองธาร

จาตุรนต์ ฉายแสง  

จาตุรนต์ ฉายแสง  

สมัยเป็นนักศึกษา เรียนอยู่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 2518 จาตุรนต์ เป็นรองเลขาธิการ ศนท.ฝ่ายเศรษฐกิจ ร่วมกับสวาย อุดมเจริญชัยกิจ รองเลขาธิการฯ ฝ่ายการเมือง ยุคที่เกรียงกมล เป็นเลขาธิการ ศนท.ปลายปี 2519 จาตุรนต์หรือ "สหายสุภาพ" เข้าประจำการที่สำนัก 61 ฐานที่มั่นภูพยัคฆ์ น่านเหนือ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยในสถานการณ์สู้รบที่ปฏิวัติ

เมื่อออกจากป่า เขาได้เป็น ส.ส.สมัยแรกตั้งแต่ปี 2529 กับพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่เพื่อนคนเดือนตุลาหลายคน ลงสมัคร ส.ส.เหมือนกัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ หลังจากนั้นเขาก็ดำรงตำแหน่งสำคัญขึ้นเรื่อยๆ และได้เป็นรัฐมนตรีหลายกระทวง ปัจจุบันเป็น สส. บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย

 

สงวน พงษ์มณี

สงวน พงษ์มณี

เขาเข้าร่วมการชุมนุมในเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 และหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 ต้องหลบหนีเข้าป่าบริเวณชายแดนติดกับประเทศลาว และไปเรียนหนังสือที่ เขตงาน 7 ใช้ชื่อ ‘สหายสุดเขต’ ภายหลังถูกทางการจับ และส่งไปพิษณุโลก แต่เพราะอานิสงฆ์จาก คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 66/2523 ในรัฐบาลพลเอกเปรม ทำให้ไม่ต้องถูกจับคุก

หลังจากนั้น สงวน เข้าสู่วงการการเมือง และปี 2544 ลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน และได้รับชัยชนะ ในนามพรรคไทยรักไทย ส่วนปัจจุบันอยู่ในสังกัดพรรคเพื่อไทย

นักต่อสู้หลัง 6 ตุลา 2519  ‘สหายในป่า’ สู่ ‘นักการเมือง’

เอนก เหล่าธรรมทัศน์

ช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 อเนกเป็นนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย จึงได้ร่วมเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ร่วมกับเพื่อนนิสิตจุฬาฯ และก่อตั้งพรรคจุฬา-ประชาชน

เข้าศึกษาที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา จึงได้ร่วมเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ร่วมกับเพื่อนนิสิตจุฬาฯ และก่อตั้งพรรคจุฬา-ประชาชน ปี 2519 เอนกได้รับเลือกตั้งเป็นนายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ และหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา อเนกเดินทางไปร่วมการต่อสู้ในเขตป่าที่เขตงานพัทลุง ตรัง และสตูล (เทือกเขาบรรทัด) มีชื่อจัดตั้งว่า "สหายประยูร" และต่อมาย้ายไปประจำอยู่ที่ สำนัก 61 ภูพยัคฆ์ น่านเหนือ ร่วมกับเพื่อน

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

related