SHORT CUT
ประเทศที่มีค่าแรงที่แสนถูก มีแอลกอฮอล์ที่แรงและสามารถเข้าถึงได้ง่ายเพื่อกล่อมเกลาจิตใจของแรงงานที่ทุกข์ยาก
หลักฐานที่เห็นได้ชัดคือกลุ่มตัวอย่างในประเทศในเอเชีย และแอฟริกาใต้กลับยังเป็นประเทศที่ค่าแรงขั้นต่ำยังต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือประเทศในแอฟริกา อย่าง ไนจีเรีย มาลาวี ที่มีค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนไม่ถึงหลักหมื่นเสียด้วยซ้ำ
สะท้อนว่าชีวิตของแรงงานในประเทศเหล่านี้ว่าแทบจะลืมตาอ้าปากได้ยากมาจากเงินเดือนที่ค่อนข้างต่ำ
ทำไม ประเทศที่ดีกรีแอลกอฮอล์แรงถึงมีค่าแรงที่ถูก ? ร่วมหาคำตอบไปพร้อมกับ SPRiNG เพราะเรื่องนี้มีผลกระทบเชิงสังคมและสวัสดิการที่เกี่ยวข้อง
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ดื่มของมึนเมาเพื่อผ่อนคลายความเหนื่อยล้าจากงานพร้อมสังสรรค์ เช่นเดียวกับ หนู มด ลิง ที่นักวิทยาศาสตร์ลงความเห็นว่ามีลักษณะคล้ายกัน
และในความเป็นจริงแล้วนั้นคุณอาจเห็นเพื่อนร่วมงานของคุณสังสรรค์กันหลังเลิกงานเป็นเรื่องปกติ โดยที่เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าคือพฤติกรรมของมนุษย์
และคงไม่น่าแปลกอะไรที่ประเทศที่มีค่าแรงที่แสนถูก มีแอลกอฮอล์ที่แรงและสามารถเข้าถึงได้ง่ายเพื่อกล่อมเกลาจิตใจของแรงงานที่ทุกข์ยาก
SPRiNG พาไปสำรวจตัวอย่างประเทศที่มีแอลกอฮอล์แรงแต่มีค่าแรงงานที่แสนถูก สะท้อนชีวิตแรงงานผู้ยากแค้น และทำให้ภาพเห็นชัดว่าแอฟริกาและเอเชียยังเป็นเช่นนั้นอยู่
เมื่อเราพูดถึงประเทศที่ค่าแรงแพงจนเราหลายคนใฝ่ฝันว่าอยากไปทำงานย่อมนึกถึงประเทศแถบยุโรป และสหรัฐอเมริกา หรือง่ายๆ คือโลกของชาวตะวันตก
แต่ในทางกลับกันประเทศในเอเชีย รวมถึงแอฟริกาใต้กลับยังเป็นประเทศที่ค่าแรงขั้นต่ำยังต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือประเทศในแอฟริกา อย่าง ไนจีเรีย มาลาวี ที่มีค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนไม่ถึงหลักหมื่นเสียด้วยซ้ำ (ค่าแรงขั้นต่ำ / เดือนของไนจีเรียอยู่ที่ประมาณ 4,078 บาท ขณะที่ มาลาวีอยู่ที่ประมาณ 1,040 บาท)
สะท้อนว่าชีวิตของแรงงานในประเทศเหล่านี้ว่าแทบจะลืมตาอ้าปากได้ยากมาจากเงินเดือนที่ค่อนข้างต่ำ
พวกเขาจึงต้องชดเชยด้วยร่ำสุราและแอลกอฮอล์ที่มีดีกรีค่อนข้างแรง โดยที่แอลกอฮอล์ที่แรงที่สุดของประเทศไนจีเรียอยู่ที่ 60% ขณะที่แอลกอฮอล์ที่แรงที่สุดของมาลาวีอยู่ที่ 50% เลยทีเดียว
ขณะที่ประเทศในเอเชียอย่างกัมพูชาเพื่อนบ้านของเรา และอินเดียประเทศที่มีค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนน้อยนิด ก็มีแอลกอฮอล์ที่แรงมาพร้อมกับค่าแรงที่น้อยนิดเช่นกัน
เป็นภาพสะท้อนที่เห็นได้ชัดว่าประเทศที่มีค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนที่น้อย กลับมีดีกรีแอลกอฮอล์ที่แรงสวนทางกัน
งานวิจัยพบว่า ความเครียดจากการทำงานของชนชั้นแรงงานที่มักเผชิญกับสภาพการทำงานที่หนักหน่วง ความกดดัน และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การดื่มแอลกอฮอล์อาจเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการผ่อนคลายและหลีกหนีจากความเครียดเหล่านั้น
และในหลายวัฒนธรรมการดื่มแอลกอฮอล์ถูกผูกโยงกับกิจกรรมทางสังคมและการสร้างความสัมพันธ์ การดื่มร่วมกับเพื่อนร่วมงานหรือคนในชุมชนอาจเป็นวิธีหนึ่งในการสร้างความผูกพันและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ซึ่งตอบโจทย์ของการอยู่ร่วมกันของผู้ใช้แรงงาน
แอลกอฮอล์มักมีราคาถูกกว่าสินค้าอื่นๆ และหาซื้อง่าย ทำให้เป็นทางเลือกที่เข้าถึงได้สำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย
และในหนังสือเรื่อง เมา ประวัติศาสตร์แห่งการร่ำสุราของ มาร์ก ฟอร์ไซธ์ ยังอธิบายโดยสรุปไว้อย่างน่าสนใจว่า สัตว์ที่เป็นผู้ใช้แรงงาน ไม่ว่าจะมด ผึ้ง หนู รวมถึงมนุษย์ เมื่อถูกใช้แรงงานหนักและเกิดอาการเครียด แอลกอฮอล์นี่แหละคือสิ่งที่เยียวยาจิตใจที่ดีสุดสำหรับพวกเขา
นั่นหมายความว่ายิ่งแอลกอฮอล์ยิ่งแรงเท่าไหร่ ยิ่งทำให้พวกเขายิ่งเมา เพลิดเพลินและลืมความโศกเศร้าความเครียดด้วยฤทธิ์จากการเมาได้ชั่วขณะหนึ่งนั่นเอง
ข้ามผู้ใช้แรงงานมีวิธีการแก้เครียดจากการทำงานที่ไม่มากนัก เพราะพวกเขาขาดปัจจัยที่สำคัญอย่างเงินและเวลาที่จะหาความสุขเติมเต็มให้กับชีวิต
กลับกันกับนายทุน หรือผู้ที่ถูกเรียกว่าคนรวย พวกเขามีปัจจัยที่มากกว่านั่นคือเงิน ทำให้เขาสามารถหาวิธีแก้เครียดที่แตกต่างออกไปจากผู้ใช้แรงงานได้
ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย กิจกรรมทางกายช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความสุข ช่วยลดความเครียดและอาการซึมเศร้า
การทำสมาธิและโยคะ การฝึกสมาธิและโยคะช่วยให้จิตใจสงบและผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดในกล้ามเนื้อ และปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับ
การใช้เวลาอยู่ในธรรมชาติ เช่น การเดินป่า การนั่งสมาธิในสวน ช่วยลดความเครียดและเพิ่มความรู้สึกสงบ
การทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ เช่น การฟังเพลง เล่นดนตรี อ่านหนังสือ วาดรูป ช่วยให้จิตใจเบิกบานและผ่อนคลาย
การดูแลสุขภาพ การกินอาหารที่มีประโยชน์ การนอนหลับให้เพียงพอ และการตรวจสุขภาพเป็นประจำ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและสามารถรับมือกับความเครียดได้ดีขึ้น
การเดินทางท่องเที่ยว การเปลี่ยนบรรยากาศและการได้สัมผัสกับสิ่งใหม่ๆ ช่วยให้เราผ่อนคลายและมีแรงบันดาลใจ
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องมีปัจจัยที่สำคัญนั่นคือเงิน ทำให้พวกเขาสามารถมีวิธีการผ่อนคลายได้มากกว่านั่นเอง
ประโยคคลาสสิคในโฆษณาไทยที่เราจำติดหูกันได้นั่นคือ “จน เครียด กินเหล้า” กลายเป็นประโยคที่พยายามกล่อมเกลาให้เราเห็นถึงโทษของสุรารวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดต่างๆ ว่ามันทำลายทั้งสุขภาพและเงินในกระเป๋าของเรา
หากคุณยิ่งดื่มคุณก็ยิ่งจนเพราะเงินหมด กลายเป็นมายาคติที่ครอบงำสังคมไทยโดยโยนบาปไปที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
แต่ความเป็นจริงนั้นคนจนหรือชนชั้นแรงงานร่ำสุราหรือแอลกอฮอล์เพราะเป็นสิ่งที่เขาเข้าถึงเพื่อผ่อนคลายได้ง่ายที่สุดต่างจากคนรวยที่มีหลากหลายวิธี
และอันที่จริงแล้วพวกเขาจนหรือต้องทำงานหนักเพราะเข้าถึงทรัพยากรได้ยาก และไม่มีสวัสดิการที่รองรับคุณภาพชีวิตของเขาที่ทำให้เขาพวกเขาเติบโตหรือลืมตาอ้าปากได้
ดังนั้นการโยนบาปให้เหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จึงอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีสักเท่าไหร่
สุดท้ายแล้วดีกรีแอลกอฮอล์และค่าแรงขั้นต่ำก็บอกชัดเจนว่าในประเทศอะไรก็แล้วแต่ที่ค่าแรงถูก แรงงานอยู่อย่างยากลำบาก มักจะมีดีกรีแอลกอฮอล์ที่แรงเข้าถึงง่าย เพียงเพราะเป็นเครื่องมือที่พวกเขาเข้าถึงได้ง่ายและทำให้พวกเขาผ่อนคลายได้ดีที่สุดนั่นเอง
อ้างอิง
Mark Forsyth เมา ประวัติศาสตร์แห่งการร่ำสุรา / worldpopulationreview / NHK / Binghamton / kirkwooddistillery /
ข่าวที่เกี่ยวข้อง