ขั้นตอนการเลือก สว. 67 ย้ำ นี่คือการ ‘เลือก’ ไม่ใช่ ‘เลือกตั้ง’ เพราะมีแต่ผู้สมัคร ที่เลือกกันเอง สื่อ-ประชาชน ทำได้แค่สังเกตการณ์ และแจ้งเจ้าหน้าที่หากมีผู้สมัครฝ่าฝืนกฎ
สมาชิกวุฒิสภาชุดที่ 13 นับว่ามีที่มาที่แตกต่าง ซับซ้อน และชวนปวดหัว มากกว่าชุดอื่นๆ ในอดีตมาก เพราะครั้งนี้ไม่ใช่ทั้งการเลือกตั้งทางตรง หรือแต่งตั้งกันเองเหมือนปกติที่ผ่านมา แต่เป็นการให้ผู้สมัคร สว. ทำการเลือกกันเอง 3 ระดับ ตั้งแต่ระดับอำเภอ จังหวัด และ ประเทศ
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จึงเผยแพร่ขั้นตอนการเลือก สว. แบบเข้าใจง่ายที่สุด เพื่อให้ผู้สมัคร และประชาชนทั่วไปเข้าใจในทุกข้อสงสัย ซึ่งมีหลักๆ ดังนี้
ภายใน 5 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือก สว. ใช้บังคับ ให้ กกต. ประกาศกำหนดวันเลือกระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ
ผู้สมัครเลือกสมัครได้ 1 กลุ่มอาชีพ และ 1 อำเภอเท่านั้น โดยเริ่มสมัครไม่เกิน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือก สว. บังคับใช้ และกำหนดวันรับสมัคร ไม่น้อยกว่า 5 วัน แต่ต้องไม่เกิน 7 วัน
รอบที่ 1 : เลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกัน
ผู้สมัครเลือกกันเองในกลุ่ม เลือกตนเองได้ แต่จะลงคะแนนให้บุคคลใดเกิน 1 คะแนนไม่ได้ ผู้ได้คะแนนสูงสุดลำดับที่ 1-5 เป็นผู้ได้รับเลือกขั้นต้นของกลุ่มนั้น และเข้าไปเลือกในรอบที่ 2 (เหลือกลุ่มละ 5 คน)
รอบที่ 2 : เลือกผู้สมัครในกลุ่มอื่นที่อยู่สายเดียวกัน
ผู้สมัครเลือกผู้สมัครกลุ่มอื่นในสายเดียวกันกลุ่มละ 1 คน ห้ามเลือกกลุ่มเดียวกันหรือเลือกตนเอง ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 3 ลำดับแรก ของแต่ละกลุ่มเป็นผู้ได้รับเลือกระดับอำเภอ สำหรับกลุ่มนั้น
รอบที่ 1 : เลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกัน
ผู้สมัครเลือกกันเองในกลุ่ม เลือกตนเองได้ แต่จะลงคะแนนให้บุคคลใดเกิน 1 คะแนนไม่ได้ ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดลำดับที่ 1-5 เป็นผู้ได้รับเลือกขั้นต้นของกลุ่มนั้น และเข้าไปเลือกในรอบที่ 2 (เหลือกลุ่มละ 5 คน)
รอบที่ 2 : เลือกผู้สมัครในกลุ่มอื่นที่อยู่สายเดียวกัน
ผู้สมัครเลือกผู้สมัครกลุ่มอื่นในสายเดียวกันกลุ่มละ 1 คน ห้ามเลือกกลุ่มเดียวกันหรือเลือกตนเอง ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 2 ลำดับแรก ของแต่ละกลุ่มเป็นผู้ได้รับเลือกระดับจังหวัด สำหรับกลุ่มนั้น
รอบที่ 1 : เลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกัน
ผู้สมัครเลือกกันเองในกลุ่มได้ไม่เกิน 10 คน เลือกตนเองได้ แต่จะลงคะแนนให้บุคคลใดเกิน 1 คะแนนไม่ได้ ผู้ได้คะแนนสูงสุดลำดับที่ 1-40 เป็นผู้ได้รับเลือกขั้นต้นของกลุ่มนั้น และเข้าไปเลือกในรอบที่ 2
รอบที่ 2 : เลือกผู้สมัครในกลุ่มอื่นที่อยู่สายเดียวกัน
ผู้สมัครเลือกผู้สมัครกลุ่มอื่นในสายเดียวกันกลุ่มละไม่เกิน 5 คน ห้ามเลือกกลุ่มเดียวกันหรือเลือกตนเอง ผู้ได้รับคะแนนลำดับที่ 1-10 เป็น สว. และลำดับที่ 11-15 อยู่ในบัญชีสำรองของกลุ่มนั้น
เมื่อ กกต. ได้รับรายงานการเลือกระดับประเทศแล้ว ให้รอไว้ไม่น้อยกว่า 5 วัน เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ถ้าเห็นว่าการเลือกเป็นไปโดยถูกต้อง สุจริต และเที่ยงธรรม ให้ประกาศผลการเลือกในราชกิจจานุเบกษา
สมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ฝักใฝ่หรือยอมตนอยู่ภายใต้ของพรรคการเมืองใดๆ โดยมีคุณสมบัติดังนี้
ผู้สมัคร สว. ไม่สามารถหาเสียงได้ แต่สามารถแนะนำตัวตามแบบข้อมูลแนะนำตัวของผู้สมัคร (สว.3) โดยระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือก สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 กำหนดให้มีข้อความและข้อมูลดังนี้
สื่อสามารถรายงานข่าวได้ตามปกติ นำเสนอข้อมูลความจริงของผู้ลงสมัคร เขียนบทความวิเคราะห์ รวมถึงตรวจสอบการทุจริตของผู้สมัครได้ และ ผู้สมัครที่เป็นสื่อมวลชน สามารถจัดรายการของตัวเองได้ตามปกติ แต่ไม่สามารถเสนอข่าวช่วยหาเสียงให้ผู้สมัครได้
ส่วนประชาชนก็สามารถ ตรวจสอบ และแจ้งการทุจริตของผู้สมัครต่อเจ้าหน้าที่ได้เช่นกัน โดยสามารถแจ้งผ่านแอปพลิเคชัน ตาสับปะรด และสายด่วน 1444 ก็ได้ นอกจากนี้ในวันเลือกตั้ง ทางหน่วยงานจะเตรียมพื้นที่ไว้เพื่อให้ประชาชนมาสังเกตการณ์ได้
วันที่ 17 พ.ค. 67 ทาง กกต. เป็นประธานในการจัดกิจกรรม จัดกิจกรรม "KICK-OFF 20 กลุ่มอาชีพร่วมใจ ขับเคลื่อนประเทศไทยไปพร้อมกัน" ซึ่งมีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การเลือก สว. 2567 ระหว่างสำนักงาน กกต. โดยนายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. กับบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) โดยนายผาติยุทธ ใจสว่าง รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ เป็นตัวแทนลงนาม และกรมประชาสัมพันธ์
ภายในงานมีการเสวนาตอบทุกข้อสงสัยของการเลือกตั้ง สว. ซึ่งมีการเน้นย้ำว่า การเลือกครั้งนี้ คือการเลือก สว. ไม่ใช่ การเลือกตั้ง สว. ซึ่งมีหลายฝ่ายเข้าใจผิด และยังใช้คำว่าเลือกตั้งอยู่ ทาง กกต. จึงอยากให้ประชาชนทำความเข้าใจใหม่ และช่วยกันเป็นหูเป็นตาสอดส่องผู้สมัครที่ทุจริต