SHORT CUT
จากประเด็นดราม่า การอัญเชิญพระเกี้ยวรูปแบบใหม่ ที่ใช้รถกอล์ฟ แทนการใช้นิสิต ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากมาย เหล่าด็อกเตอร์อาจารย์และผู้เชี่ยวชาญ ต่างออกมาออกความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้
กลายเป็นประเด็นชั่วข้ามคืนเกี่ยวกับการอัญเชิญพระเกี้ยว ที่หันมาใช้รถกอล์ฟแทนการใช้นิสิต ทำให้มีผู้ที่เป็นทั้งศิษย์เก่า และไม่ใช่ศิษย์เก่าของจุฬา ต่างออกมาแสดงความคิดเห็น อย่างคนแรกที่เราน่าจะรู้จักกันดีก็คือ
พลตรี หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล โพสต์เฟซบุ๊ก จุลเจิม ยุคล ระบุว่า ขอตราพระเกี้ยวยั่งยืนยง ผมไม่ใช่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ได้มีรุ่นลูกรุ่นหลาน ที่ได้เรียนและจบที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อได้เห็นแล้วก็อดหดหู่หัวใจแทนนิสิตจุฬาฯ รุ่นพี่ รุ่นปู่ รุ่นย่า รุ่นตา รุ่นยาย ที่ได้เห็นภาพเช่นนี้ พวกท่านๆ จะรู้สึกอย่างไรกันบ้างครับ
ผลงานดังกล่าว คือการเทิดทูนพระเกียรติพระเกี้ยว โดยการตั้งวางไว้บนหลังคารถกอล์ฟ แทนที่จะมีขบวนแห่อย่างสมพระเกียรติแบบที่ผ่านๆ มา หรือนี่มันแค่เป็นการหลู่เกียรติพระเกี้ยวกันแน่
พ.อ.รศ.นพ.วิภู กำเหนิดดี แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู เชี่ยวชาญในการรักษาโรคปวดเรื้อรัง ระบุทางเฟซบุ๊กส่วนตัวเมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ระบุว่า สวัสดีครับ น้องๆ แพทย์ใช้ทุนที่จบจากที่นี่ ผมเตือนด้วยความหวังดีว่าอย่ามาสมัครเรียนกับผมนะครับ ไม่ชอบ
ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) โพสต์เฟซบุ๊กถึงเรื่องนี้ว่า
อัญเชิญพระเกี้ยวบนหลังคารถกอล์ฟ เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง ถ้าเช่นนั้นก็ถวายพระนามจุฬาลงกรณ์คืนให้สถาบันพระมหากษัตริย์เสียเถิด แล้วก็ถวายตราพระเกี้ยวคืนให้สถาบันพระมหากษัตริย์ไปเสียเถิด
อ้ออย่าลืมถวายคืนที่ดินพระราชทานไปด้วยเลย พระราชทานให้แล้ว นิสิตจุฬาฯ หาได้ภาคภูมิและหาได้ถวายพระเกียรติให้สมกับที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณไม่ น่าอนาถใจ น่าเสียใจยิ่งนัก
นอกจากจะมีทั้งผู้ที่ไม่เห็นด้วยและผู้ที่เห็นด้วยก็ได้ออกมากล่าวเช่นกัน นำโดย ศาสตราจารย์ และ อาจารย์ ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผมเห็นด้วยนะครับว่าขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลสานสัมพันธ์ CU-TU ที่ผ่านมาเมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม 2567 อาจจะดูไม่ใหญ่โตมากนักเมื่อเทียบกับการจัดงานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ในอดีต แต่ผมคิดว่าความยิ่งใหญ่ของขบวนฯ ไม่สำคัญเท่าเจตนา ซึ่งมีแต่นิสิตผู้จัดเท่านั้นที่จะทราบได้ พวกเราก็คงทำได้แต่แสดงความเห็นของคนที่มองเข้าไป ผมคิดว่า นิสิตไม่ได้มีความคิดในทางที่ไม่เคารพตราสัญลักษณ์ของจุฬาฯ ตราสัญลักษณ์พระเกี้ยวยังคงสูงเด่นอยู่เหนือทุกสิ่งอย่าง แม้จะอยู่บนหลังคารถ (แทนที่เสลี่ยงที่ใช้ในอดีต) และน่าจะรายล้อมไปด้วยสัญลักษณ์ทางอ้อมของคณะต่างๆ อาทิเช่น ไม้บรรทัดสามเหลี่ยม กระดานสเลทคัทฉาก บิกเกอร์ (ที่เป็นปัญหา) และ หลอดทดลอง และอาจจะมีสัญลักษณ์อื่นๆ อีกที่มองไม่เห็นจากมุมนี้ครับ พระเกี้ยวคือตราสัญลักษณ์ที่เคารพของพวกเราชาวจุฬาฯ ทุกคน ที่แสดงออกถึงเจตนารมย์ในการสร้างความเสมอภาคผ่านการศึกษา
อาจารย์ เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง ด้านกฎหมายมหาชน คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ ถ้าเราให้นิสิตแบกพระเกี๊ยว เราก็จะต้องเกณฑ์แรงงานกันทุกปี ถ้าเราเอาศิษย์เก่าและผู้หลักผู้หยั่ยที่รับไม่ได้มาแบกพระเกี๊ยว เราจะมีแรงงานพอแบกจากเบตงไปแม่สอดกลับมาสักห้ารอบก็คงจะได้
รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า
ขอบอกพวกไดโนเสาร์ว่านิสิตเขาไม่ได้ทำเล่นๆ เขาตั้งใจคิดและทำกันเต็มที่ และยังให้เกียรติกับสัญลักษณ์ของจุฬาฯด้วย โดยขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวถูกรายล้อมไปด้วยสัญลักษณ์ตัวแทนแห่งองค์ความรู้ของศาสตร์แขนงต่าง ๆ ได้แก่
สัญลักษณ์เหล่านี้เปรียบเสมือนองค์ความรู้ที่อยู่คู่กับจุฬาฯ ที่ได้พัฒนาวงการต่าง ๆ ในไทยและในระดับโลก ทำให้มหาวิทยาลัยก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงแข็งแรง และอีกสิ่งประดับตกแต่งขบวนที่ทุกท่านจะเห็นได้นี้คือ “อะตอม” ที่ส่วนเล็กๆ รวมกันกลายเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เปรียบเสมือนความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของนิสิต บัณฑิต และบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ร่วมแรงร่วมใจไปสู่การเป็นสถาบันเสาหลักที่ยั่งยืน อีกทั้งขบวนยังถูกตกแต่งด้วยดอกไม้จากพลาสติกที่ใช้แล้ว กลับมาใช้ซ้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด สอดคล้องกับคอนเซ็ปท์ของงานนั่นคือ Unity to Sustainability และร้อยเรียงเป็น “พวงดอกกล้วยไม้ที่ผลิบาน” ดั่งโบราณว่า กล้วยไม้มีดอกช้า ฉันใด การศึกษาเป็นไป เช่นนั้น แต่ดอกออกคราวไร งามเด่น การศึกษาปลูกปั้น เสร็จแล้วแสนงาม จงแก่แต่กาย แต่อย่าปล่อยให้ใจและสมองแก่ตามไปด้วยเลย หัดเปิดใจรับฟังคนรุ่นใหม่บ้างเถอะ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง