‘นครินทร์ เมฆไตรรัตน์’ อาจารย์สอนประวัติศาสตร์ที่เข้ามาเป็นตุลาการในยุค คสช. ก่อนจะได้เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่
วันที่ 10 ม.ค. 2567 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้ง 9 คน มีมติ 5: 2 : 2 ให้เลือก นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ แทนนายวรวิทย์ กังศศิเทียมประธานศาลรัฐธรรมนูญคนปัจจุบัน ที่ดำรงตำแหน่งมาแล้ว 9 ปี
ทั้งนี้ เป็นการลงคะแนนลับ ซึ่งได้ให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการจัดให้บุคคลผู้ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ประชุมร่วมกับ 1.นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ 2.นายปัญญา อุดชาชน 3.นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม 4. นายวิรุฬห์ แสงเทียน 5.นายจิรนิติ หะวานนท์ 6.นายนภดล เทพพิทักษ์ 7.นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ 8.นายอุดม รัฐอมฤต และ 9.นายสุเมธ รอยกุลเจริญ
ซึ่งผลปรากฏว่า นายนครินทร์ ได้คะแนนโหวต 5 เสียง นายปัญญา ได้ 2 เสียง และนายจิรนิติ ได้คะแนนโหวต 2 เสียง จึงทำให้นายนครินทร์ ได้รับเลือกเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่
นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เกิดวันที่ 28 กรกฎาคม 2501 จบการศึกษาปริญญาตรี “สาขาการเมืองการปกครอง” (เกียรตินิยมอันดับ 2) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบการศึกษาปริญญาโท “สาขาประวัติศาสตร์” คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบปริญญาเอก “International Studies” Waseda University ประเทศญี่ปุ่น
ในส่วนอาชีพการงานก่อนเข้ามาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ปี 2528 นายนครินทร์รับรับราชการ เป็นอาจารย์สอนหนังสือที่ ภาควิชาประวัติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากนั้นปี 2547 จึงย้ายมาเป็น อาจารย์สอนหนังสือที่ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้เลื่อนขั้นเป็นคณะรัฐศาสตร์ของ ม.ธ. ในที่สุด
นอกจากนี้ยังเคยได้รับตำแหน่งสำคัญ อาทิ
ทั้งนี้ วันที่ 11 ก.ย. 2558 ซึ่งเป็นยุคของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ได้รับเลือกให้เป็น ตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีการเสนอชื่อต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และมีการประชุมและลงคะแนนลับในปีเดียวกัน ซึ่งผลออกมา มีลงมติให้ความเห็นชอบ 158 เสียง และไม่ให้ความเห็นชอบแค่ 6 เสียง จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายนครินทร์ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 16 พ.ย. 2558
ในขณะดำรงตำแหน่ง 1 ใน 9 ตุลาการ นายนครินทร์ มีส่วนในคดีสำคัญดังนี้
"โหวตยุบพรรคไทยรักษาชาติ"
7 มี.ค. 2562 ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ยุบพรรคไทยรักษาชาติ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 ตามมาตรา 92 โดยนายนครินทร์อยู่ในคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญครั้งนั้นด้วย
"โหวตให้ ธนาธร พ้นสภาพ ส.ส."
20 พ.ย. 2562 ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 7 ต่อ 2 วินิจฉัยให้ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ พ้นจากการเป็น ส.ส. จากการเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ตามที่ กกต.ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่า เป็นการกระทำผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) ที่ห้าม "เจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ" เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งนายนครินทร์อยู่ฝั่งเสียงข้างมาก ที่ตัดสินให้ ‘ธนาธร’ มีความผิด
"โหวตยุบพรรคอนาคตใหม่"
21 ก.พ. 2563 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากคะแนน 7 ต่อ 2 วินิจฉัยให้ ยุบพรรคอนาคตใหม่ จากปม เงินกู้" ของธนาธร รุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ที่ให้กับพรรคเป็นเงินจำนวน 191.2 ล้านบาท ซึ่งนายนครินทร์อยู่ฝั่งเสียงข้างมาก">ที่โหวตให้ยุบพรรค
ซึ่งการยุบพรรคครั้งนั้น ทำให้ นายปิยบุตร แสงกนกกุล กับ นางสาวพรรณิการ์ วานิช และกก.บห. ของพรรคอนาคตใหม่รวม 11 คนต้องพ้นสภาพ ส.ส. ไปด้วย
"โหวตให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา สิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรี"
30 ก.ย.2565 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ ให้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังไม่สิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยมติ 6 ต่อ 3 ซึ่งนายนครินทร์อยู่ฝังเสียงข้างน้อยที่โหวตให้ พล.อ.ประยุทธ์ พ้นสภาพความเป็นนายกฯ เนื่องจากดำรงตำแหน่งครบ 8 ปีแล้ว
โหวตให้ ‘พิธา’ หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.
19 ก.ค.2567 ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 7 ต่อ 2 สั่งให้พิธาหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. ตั้งแต่วันนี้จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยอื่น ซึ่งนายนครินทร์อยู่ฝั่งเสียงข้างมาก
ที่มา ilaw
ข่าวที่เกี่ยวข้อง