เปิดรายชื่อ 5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่ไม่ใช่ ทหาร ในอดีต มีใครบ้าง ? และ หากสุทิน คลังแสง ได้นั่งเป็น รมว. กลาโหม ในรัฐบาลเพื่อไทย ครม. เศรษฐา1 เขากำลังจะเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่ "ไม่ใช่ทหาร" และ "ไม่ใช่นายกฯ" แต่ได้นั่งคุมกลาโหม
ตำแหน่ง รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ถือเป็นอีกหนึ่งตำแหน่งที่สำคัญ ในทุกๆคณะรัฐมนตรี เพราะนี่คือคนที่จะมาคุม กำลังพล กองทัพ , และในโผ ครม. เศรษฐา 1 ชื่อของ สุทิน คลังแสง สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ได้ถูกวางตัว ให้นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเขาจะถือเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คนที่ 42 และถือเป็น บุคคลที่ไม่ใช่ทหาร คนที่ 6 ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งนี้
โดยใน อดีตทีผ่านมา รับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 , ประเทศไทยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มาแล้ว 41 คน , และมี 5 คน ที่ไม่ได้ มียศ เป็นทหาร ได้แก่
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในช่วงเวลา 27 ส.ค. พ.ศ. 2519 - 23 ก.ย. 2519
ชวน หลีกภัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในช่วงเวลา 4 พ.ย. 2540 - 5 ก.พ. 2544
สมัคร สุนทรเวช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 6 ก.พ. 2551- 9 ก.ย. 2551
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 24 ก.ย.2551 - 2 ธ.ค.2551
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 30 มิ.ย. 2556 - 7 พ.ค. 2557
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ในเคสของ สุทิน คลังแสง ว่าที่ รมว. กลาโหมนั้น แม้เจ้าตัวจะยังไม่ยืนยันว่าจะได้นั่งเก้าอี้ รมต.คุมกระทรวงกลาโหม แต่เขารู้แค่ว่าเป็น 1 ใน 35 ชื่อ ที่เป็นรัฐมนตรีได้ แต่ก็แสดงความมั่นใจว่า พร้อมทำงานได้ทุกกระทรวง ทุกอย่างเรียนรู้ได้
"หากได้เป็นจริงก็ไม่แปลกหรอก อาจจะมีพลเรือนมานั่งเป็น รมว.กลาโหม ทั่วโลกก็มี อาจจะเป็นมิติใหม่ของบ้านเมืองเราด้วย และได้พบเห็นสิ่งใหม่ๆ" นายสุทิน คลังแสงกล่าว
และหาก สุทิน คลังแสง ได้นั่ง รัฐมนตรีกลาโหม เขาจะเป็น คนแรก ที่ไม่ได้เป็นทั้งทหาร และ ไม่ได้เป็นนายกฯ แต่ได้นั่งเป็น รัฐมนตรีกลาโหม
• ความสำคัญของ "กลาโหม"
ในช่วงเวลา 2 ทศวรรษหลัง เคยมีการเอาพลเรือนมาคุมทหาร ถูกกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ว่าเป็นการด้อยค่ากองทัพ เพราะหากย้อนไปดูประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของกระทรวงกลาโหม บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้เข้ามาเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะเป็น “ทหาร” เสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่เคยมีพลเรือนเลย เพราะนับจากปี 2540 มี “พลเรือน” ที่เคยได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็น รมว.กลาโหม มาแล้ว 4 คน
แต่หากนับทั้งหมด ประเทศไทย เคยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ไม่ใช่ทหาร มาแล้ว 5 คน ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น
• ย้อน 5 รัฐมนตรีที่ไม่ใช่ทหาร แต่ได้คุมกระทรวงกลาโหม
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
นายกรัฐมนตรี พร้อมควบเก้าอี้ รมว.กลาโหม (27 ส.ค. พ.ศ. 2519 - 23 ก.ย. 2519)
ทั้งนี้ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ไม่ได้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในตอนแรก , โดยหากย้อนเวลากลับไปในช่วงก่อน เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 , คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 37 มี พลเอก กฤษณ์ สีวะรา เป็นรัฐมนตรีกลาโหม แต่ทว่า ท่านเสียชีวิตอย่างกะทันหัน , จากนั้น มี พลเอกทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีแทน
อย่างไรก็ตาม เมื่อ พลเอกทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ประกาศลาออกจากทุกตำแหน่ง เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2519 , ทำให้ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ซึ่งเป็นนายกฯ ณ ขณะนั้น เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแทน ในระยะเวลาเกือบ 1 เดือน
นายชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี พร้อมควบเก้าอี้ รมว.กลาโหม (14 พ.ย. 2540 - 5 ก.พ. 2544)
นายชวน หลีกภัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อกระชับอำนาจทางการเมือง เนื่องจากในห้วงนั้นความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองกับกองทัพไม่ราบรื่นนัก
นายสมัคร สุนทรเวช
นายกรัฐมนตรี พร้อมควบเก้าอี้ รมว.กลาโหม (6 ก.พ. 2551- 9 ก.ย. 2551)
สมัคร สุนทรเวช หรือ "ลุงหมัก" เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อสร้างบรรยากาศไม่ให้เกิดบรรยากาศการเป็นศัตรูกับบรรดาบิ๊กทหาร ณ เวลานั้น
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
นายกรัฐมนตรี พร้อมควบเก้าอี้ รมว.กลาโหม (24 ก.ย. 2551 -2 ธ.ค. 2551)
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ ผู้เป็น "น้องเขย" ทักษิณ ชินวัตร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อสร้างบรรยากาศไม่ให้เกิดบรรยากาศการเป็นศัตรูกับบรรดาบิ๊กทหาร
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี พร้อมควบเก้าอี้ รมว.กลาโหม (30 มิ.ย. 2556 - 7 พ.ค.2557)
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว ทักษิณ ชินวัตร เป็น รมว. กลาโหม เพื่อถ่วงดุลอำนาจการเมืองกับบรรดาบิ๊กทหาร ขณะนั้นมีกระแสต่อต้านจากหลายฝ่ายในกองทัพ โดยมุ่งเป้าโจมตี ไม่มีประสบการณ์ทางการทหาร
ทั้งนี้ กลาโหม และ ผู้ที่จะมานั่งแท่นเป็นเจ้ากระทรวงนั้น จะมีบทบาทและอำนาจ คุมงานด้านความมั่นคงของประเทศ ที่มีกำลังพล 3 เหล่าทัพในสังกัด มากถึง 305,860 นาย รวมทั้งบริหารงบประมาณกระทรวงกลาโหม ถึง 198,562 ล้านบาท ตามงบประมาณปี 2567