svasdssvasds

ย้อนสถิติ ประธานสภาฯ ในช่วงเลือกตั้ง 30 ปีหลัง ส่วนใหญ่จากพรรค ส.ส. อันดับ 1

ย้อนสถิติ ประธานสภาฯ ในช่วงเลือกตั้ง 30 ปีหลัง ส่วนใหญ่จากพรรค ส.ส. อันดับ 1

ย้อนอดีต ตำแหน่ง ประธานสภาฯ ในช่วงเลือกตั้ง 30 ปีหลังสุด ในการเมืองไทย ส่วนใหญ่จากพรรค ส.ส. อันดับ 1 และหลังการเลือกตั้ง 2566 ตำแหน่งประมุชฝ่ายนิติบัญญัติ สุดท้ายแล้ว ตกเป็นของ วันมูหะมัดนอร์ มะทา

SPRiNG ขอชวน ย้อนดูการเลือกตั้ง 9 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2535 เก้าอี้ประธานสภาเป็นของพรรคอันดับ 1 ตลอด ยกเว้นเลือกตั้งปี 2562 ที่พรรคอันดับ 1 อย่าง 'เพื่อไทย' ไม่ได้ทั้งประธานสภาและนายกฯ เพราะอภินิหารจากสูตรคำนวนและ ส.ว. ทำให้พรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลเป็น 'พลังประชารัฐ' รวมทั้งให้เก้าอี้ประธานสภาฯกับพรรคร่วมอย่าง 'ประชาธิปัตย์' แทน

ภายหลังจากการเลือกตั้งนอกจากประเด็นการเลือกนายกฯ คนที่ 30 แล้ว ยังมีกระแสถกเถียงกันเรื่องเก้าอี้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะทำหน้าที่ประธานรัฐสภาในฐานะประมุขฝ่ายนิติบัญญัติที่จะทำหน้าที่เรียกประชุมเลือกนายกฯ และกำหนดวาระสำคัญๆ ในการผลักดันกฎหมายนั้น ควรจะตกกับพรรคใด ในโอกาสนี้จะย้อนกลับไปดูตำแหน่งนี้ว่าพรรคใดเป็นคนได้หลังเลือกตั้ง

หากย้อนอดีต เอากรอบเวลา ในรอบ 31 ปีที่ผ่านมา ตำแหน่งประมุข นิติบัญญัติ "ประธานสภาผู้แทนราษฎร" ล้วนมาจากพรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่งในสภาทั้งสิ้น ยกเว้นในการเลือกตั้ง 2562 ที่ นายชวน หลีกภัย จากพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ซึ่งไม่ได้เป็นพรรคมีที่นั่ง ส.ส. อันดับ 1 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานสภา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• รายชื่อประธานสภาฯ ตั้งแต่ปี 2535 - ปัจจุบัน 

เลือกตั้ง ปี 2535 มารุต บุนนาค  เป็นประธานสภาฯ จาก จากพรรคประชาธิปัตย์ ในรัฐบาลนำโดยชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์ ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 79 เสียง)


เลือกตั้ง ปี 2538 พล.ต. บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ  เป็นประธานสภาฯ จาก จากพรรคชาติไทย ภายใต้รัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา (พรรคชาติไทย ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 92 เสียง)


เลือกตั้ง ปี 2539 วันมูหะมัดนอร์ มะทา  เป็นประธานสภาฯ จากพรรคความหวังใหม่ รัฐบาลพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ์ (พรรความหวังใหม่ ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 125 เสียง)

เลือกตั้ง ปี 2539 วันมูหะมัดนอร์ มะทา  เป็นประธานสภาฯ จากพรรคความหวังใหม่ รัฐบาลพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ์ (พรรความหวังใหม่ ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 125 เสียง)

ปี 2543 พิชัย รัตตกุล พรรคประชาธิปัตย์ รัฐบาลนายชวน หลีกภัย หรือ "รัฐบาลชวน 2" (มิ.ย.- พ.ย. 2543 โดยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐบาลในเดือน พ.ย. 2540 จากการดึง ส.ส. พรรคประชากรไทย ชิงตั้งรัฐบาล หลังจากนายชวลิต ยุงใจยุทธ์ ลาออกจากนายกฯ )


เลือกตั้ง ปี 2544 อุทัย พิมพ์ใจชน  เป็นประธานสภาฯ จาก พรรคไทยรักไทย รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร (พรรคไทยรักไทย ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 248 เสียง)


เลือกตั้ง ปี 2548 โภคิน พลกุล  เป็นประธานสภาฯ จาก พรรคไทยรักไทย รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร (พรรคไทยรักไทย ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 377 เสียง


เลือกตั้ง ปี 2551 ยงยุทธ์ ติยะไพรัช เป็นประธานสภาฯ จาก พรรคพลังประชาชน รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (พรรคพลังประชาชนที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 233 เสียง)

ปี 2551 ชัย ชิดชอบ พรรคภูมิใจไทย (ก่อนหน้านั้นะหว่างดำรงตำแหน่งสังกัดพรรคพลังประชาชน) สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ หลังจากมีการยุบพรรคการเมือง 3 พรรค ได้แก่ พลังประชาชน, ชาติไทย และมัชฌิมาธิปไตย นายชัย ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเปลี่ยนขั้วมาเข้าร่วมรัฐบาลกับ ปชป.
เลือกตั้ง ปี 2554 สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์  เป็นประธานสภาฯ จากพรรคเพื่อไทย รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 265 เสียง)

ปี 2557 พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

 

เลือกตั้ง ปี 2562 ชวน หลีกภัย เป็นประธานสภาฯ จากพรรคประชาธิปัตย์ (ที่นั่งในสภา 52 เสียง พรรคอันดับ 4 ) รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรคพลังประชารัฐ 116 เสียง)  อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้ง ปี 2562 พรรคเพื่อไทย ได้เสียง ส.ส. มากที่สุด ที่ 136 เสียง 
 

เลือกตั้ง ปี 2562 ชวน หลีกภัย เป็นประธานสภาฯ จากพรรคประชาธิปัตย์ (ที่นั่งในสภา 52 เสียง พรรคอันดับ 4 ) รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรคพลังประชารัฐ 116 เสียง)  อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้ง ปี 2562 พรรคเพื่อไทย ได้เสียง ส.ส. มากที่สุด ที่ 136 เสียง 

เลือกตั้ง ปี 2566  วันมูหะมัดนอร์ มะทา  เป็นประธานสภาฯ จากพรรคประชาชาติ  ในรัฐบาลก้าวไกล ซึ่งพรรคก้าวไกลได้เสียง ส.ส. ส่วนใหญ่ 

หมายเหตุ : ไม่นับประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ​ สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน​ ที่มาจากการแต่งตั้ง หลังการเกิดรัฐประหาร

ดังนั้น หาก นับเอา การเลือกตั้ง 7 ครั้งหลังสุดของประเทศไทย  (นับการเลือกตั้ง เฉพาะที่ไม่ได้เป็นโมฆะ) ย้อนไปเลือกตั้ง 7 ครั้งหลังสุด พรรคอันดับ 1 นั่งประธานสภาฯ มาตลอด แต่ปี 2562 'ชวน หลีกภัย' เป็นข้อยกเว้น 

related