svasdssvasds

เมื่อลูกเป็น LGBTQ+ : เปิด 4 เรื่องที่ พ่อแม่ ควรปรับแนวคิด เพื่อทำความเข้าใจ

เมื่อลูกเป็น LGBTQ+ :  เปิด 4 เรื่องที่ พ่อแม่ ควรปรับแนวคิด เพื่อทำความเข้าใจ

SPRiNG ชวนเปิด 4 หัวข้อ ที่จะมาช่วย ปรับแนวคิดพ่อแม่ เมื่อลูกเป็น LGBTQ+ สิ่งที่พ่อแม่และผู้ปกครองที่ควรต้องเคารพสิทธิ และสอนให้พวกเขา รู้จักสิทธิของตนเองเพื่อการเติบโตอย่างมีคุณภาพ นี่คือ 4 วิธีนี้เป็นแนวทาง เพื่อปรับความเข้าใจเมื่อพบว่าลูกของตนเองเป็น LGBTQ+

ในวาระเดือน Pride Month เดือนแห่งความหลากหลาย , SPRiNG ชวนเปิด 4 หัวข้อ ที่จะมาช่วย  ปรับแนวคิดพ่อแม่ เมื่อลูกเป็น LGBTQ+  เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว  ไม่เพียงแค่ผู้ใหญ่ที่ต้องการ สิทธิมนุษยชน แต่เด็กเองก็เช่นกัน เด็กคนหนึ่งต่างเติบโตมาพร้อมกับ สิทธิเด็ก ตั้งแต่กำเนิด เป็นหน้าที่ของพ่อแม่และผู้ปกครองที่ควรต้องเคารพสิทธินั้น และสอนให้พวกเขารู้จักสิทธิของตนเองเพื่อการเติบโตอย่างมีคุณภาพ  นี่คือ 4 วิธีนี้เป็นแนวทาง เพื่อปรับความเข้าใจเมื่อพบว่าลูกของตนเองเป็น LGBTQ+

สำหรับ ประเทศไทย เรื่องสิทธิ ความเท่าเทียม ของกลุ่มผู้คน LGBTQ+  เป็นที่ตระหนักรู้ในวงกว้างแล้ว โดยในช่วงเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา  กลุ่ม LGBTQ ถือว่าได้รับการยอมรับในระดับดีเมื่อเทียบกลับประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน 

ถึงแม้ว่า LGBTQ จะได้รับการยอมรับจากสังคมในระดับหนึ่งแล้วก็ตาม แต่ยังมีสังคมบางส่วนที่ยังไม่เปิดรับและเข้าใจคนกลุ่มนี้มากนัก  โดยเฉพาะคนในครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยสังคมขนาดเล็กที่สุด 

แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกครอบครัวที่ พ่อแม่ หรือผู้ปกครองจะสามารถยอมรับความพิเศษของ LGBTQ+ ได้ พ่อแม่หลายคนอาจไม่ทันตั้งตัว และไม่ได้เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้มาก่อน แต่ต้องยอมรับว่าสถาบันครอบครัวเป็น หน่วยเล็กหน่วยย่อย ที่สำคัญที่สุด  และมีโอกาส ปลูกเมล็ดแห่งความคิด ความสวยงาม ลงไปในเยาวชนทุกคน

SPRiNG ชวนมาลองดูกันว่า แนวทาง แนวปฏิบัติ สำหรับ พ่อแม่ หรือผู้ปกครอง มีอะไรบ้าง เพื่อ ก้าวข้ามและเรียนรู้ไปกับลูกหลานที่เป็น LGBTQ+ 

เมื่อลูกเป็น LGBTQ+ :  เปิด 4 เรื่องที่ พ่อแม่ ควรปรับแนวคิด เพื่อทำความเข้าใจ
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เมื่อลูกเป็น LGBTQ+ :  เปิด 4 เรื่องที่ พ่อแม่ ควรปรับแนวคิด เพื่อทำความเข้าใจ

1. เด็กทุกคนมีคุณค่าในตนเอง
ตั้งแต่ภายในครรภ์ พ่อแม่ไม่ใช่ผู้กำหนดได้ว่าลูกที่เกิดมานั้นจะเป็นเพศอะไร  ไม่ว่าจะเป็น LGBTQ+ หรือไม่ ในอนาคต  แต่เด็กทุกคนก็พิเศษและมีคุณค่าเมื่อได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว 
ดังนั้น ไม่ว่าลูกจะเติบโตมาเป็นเพศใด มีรสนิยมแบบไหน มีเพศสภาพแบบใด หรือจะเป็น LGBTQ+ หรือเปล่า ก็อยากให้ พ่อแม่ รวมถึงผู้ปกครอง จำไว้เสมอว่าคุณค่าและความพิเศษนั้นไม่ได้ลดลงไปเลย

2. ไม่เปรียบเทียบ 
การเปรียบเทียบ ถือเป็นทำร้ายเด็ก ทางจิตใจอย่างหนึ่ง แม้แต่ตัวเราเองก็คงไม่ชอบหากถูกกดดันหรือเปรียบเทียบ เด็กเองก็เช่นกัน ย่อมไม่มีใครชอบถูกการเปรียบเทียบ  
การสอนลูกหรือพยายามกดดันให้เขาเปลี่ยนแปลงด้วยการเปรียบเทียบทั้งกับตนเองและผู้อื่น อาจส่งผลเชิงลบทำให้ลูกรู้สึกเครียด สูญเสียความนับถือในตนเอง ไม่กล้าแสดงออก พูดคุย และรู้สึกอึดอัดเมื่อต้องอยู่กับครอบครัว กลายเป็นคนเก็บกดและร้ายแรงถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าก็ได้
 
3. เปิดใจ สื่อสาร และสนับสนุน 
การสื่อสารพูดคุยกันบ่อยๆ เป็นสิ่งที่ดีที่จะทำให้ครอบครัวได้ใกล้ชิดและเข้าใจกันมากยิ่งขึ้น  หากครอบครัวสามารถเป็น Safe Zone ให้กับลูกได้ เด็กทุกคน ไม่ว่าจะเพศใดๆ เป็น LGBTQ+ หรือไม่ ก็จะกล้าพูดคุยเปิดเผยตัวตน และเลือกที่จะปรึกษาความไม่สบายใจนั้นกับครอบครัวก่อนคนอื่น แต่สิ่งที่สำคัญคือ “การรอคอย”  รอให้ลูกได้ค้นหาตัวตนของตนเอง ระหว่างนั้นครอบครัวเพียงแสดงความรักและการสนับสนุนที่ดี 
ไม่เร่งรัดว่าเขาต้องเป็นแบบไหน เมื่อลูกพร้อมและสบายใจ เขาจะเผยตัวตนออกมาอย่างเป็นธรรมชาติ และกลายเป็นคนมีความสุข มีความมั่นใจ มีทัศนคติที่ดีต่อครอบครัวและเพื่อนมนุษย์คนอื่น
และ ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้พูด เล่าเรื่องราว ถามสารทุกข์สุกดิบของลูกหลาน เช่น ช่วงนี้ เป็นอย่างไรบ้าง 
 
4. สอนให้เข้าใจตนเองและผู้อื่น
การสอนเด็กๆ ให้เรียนรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศ  เด็กไม่ว่าจะเพศใด เป็น LGBTQ+ หรือไม่ เขานั้นจะทำให้เขามีมุมมองที่กว้างและหลากหลาย เข้าใจตนเองและสังคมมากยิ่งขึ้น โดยอาจเริ่มจากการใช้สื่อรอบตัว เช่น หนังสือ ภาพยนตร์ ข่าว 
ทั้งนี้ เพื่อปลูกฝังให้เขารู้จักวิธีการดูแลสุขอนามัยของตนเองอย่างถูกต้อง วิธีปฏิบัติตน การเข้าสังคม และการสร้างเสริมสุขภาพจิตให้ดีเพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ เพื่อการเติบโตอย่างมีคุณภาพและเข้มแข็ง
.

related