svasdssvasds

เปิดตัวเลข จำนวนแพทย์ จากแพทยสภา ชีวิต "เดอะแบก" : หมอลาออกจากระบบเพียบ

เปิดตัวเลข จำนวนแพทย์  จากแพทยสภา  ชีวิต "เดอะแบก" : หมอลาออกจากระบบเพียบ

SPRiNG ชวนเปิด ข้อมูลสถิติแพทย์ล่าสุด ของ ‘แพทยสภา’ พบว่า มีจำนวนแพทย์ ไม่เพียงพอ โดยเฉลี่ยแพทย์ 1 คน ต้องดูแลคนไข้ต่อ 2,000 คน แต่มาตรฐานโลก แพทย์ 3 ต้องดูแลคนไข้ราวๆ 1,000 คน เท่านั้น และ บางพื้นที่ รับงานโหลดทุบสถิติ 64 ชม.ต่อสัปดาห์มากถึง 9 รพ.

เปิดตัวเลข จำนวนแพทย์ ทั่วประเทศไทย จาก แพทย์สภา โดยจากข้อมูลมีการเปิดเผยข้อมูลจำนวนแพทย์ล่าสุด ช่วง เม.ย. 2566 รวมมีแพทย์อยุ่  68,725 คน อยู่ใน กทม. 3.2 หมื่นคน ในตจว.3.4 หมื่นคน ขณะที่อายุ 31 - 40 ปี มีจำนวนมากที่สุดกว่า 1.1 หมื่นคน


ข้อมูลจาก แพทย์สภา เผยข้อมูลจำนวนแพทย์ล่าสุด  เม.ย. 2566 รวม 68,725 คน อยู่ใน กรุงเทพมหานคร 3.2 หมื่นคน ในต่างจังหวัด 3.4 หมื่นคน ขณะที่อายุ 31 - 40 ปี มีจำนวนมากที่สุดกว่า 1.1 หมื่นคน
จากกรณีแพทย์ลาออกจนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคมเป็นวงกว้าง ล่าสุด จากการตรวจสอบข้อมูลจากแพทยสภา พบข้อมูลด้านจำนวนแพทย์ ของแพทยสภา เมื่อวันที่ 4 เม.ย.2566 ดังนี้

มีแพทย์ทั้งสิ้น 72,250 คน ชาย 39,207 คน หญิง 33,043 คน
แพทย์ที่เสียชีวิตแล้ว 3,503 คน ชาย 2,787 คน และ หญิง 716 คน
แพทย์ที่มีชีวิต 68,725 ชาย 36,401 คน หญิง 32,324 คน

แพทย์ที่ติดต่อได้ 
แพทย์ทำงานอยู่ใน กทม. 32,198 คน ชาย 17,039 คน หญิง 15,159 คน
แพทย์ทำงานอยู่ใน ต่างจังหวัด 34,487 คน ชาย 17,914 คน หญิง 16,573 คน

จำแนก แพทย์ ตามช่วงอายุ

อายุระหว่าง 20-30 ปี จำนวน 14,174 คน ชาย 6,601 คน หญิง 7,573 คน
อายุระหว่าง 31-40 ปี จำนวน 21,509 คน ชาย 9,573 คน หญิง 11,936 คน 
อายุระหว่าง 41 -50 ปี จำนวน 13,562 คน ชาย 6,553 คน หญิง 7,009 คน
ระหว่าง 51-60 ปี จำนวน 7,789 คน ชาย 5,130 คน หญิง 2,659 คน
ระหว่างอายุ 61-70 ปี รวม 5,422 คน ชาย 4,186 คน หญิง 1,236 คน

อายุ 70 ปีขึ้นไป รวม 4,229 คน ชาย 2,910 คน หญิง 1,319 คน 
นอกจากนี้ มีแพทย์ที่อยู่ต่างประเทศ รวม 434 คน ชาย 359 คน หญิง 75 คน

แพทย์ขาดการติดต่อ
รวม 1,606 คน ชาย 1,089 คน หญิง 517 คน

แพทย์ถูกเพิกถอนใบอนุญาต รวม 22 คน ชาย 19 คน หญิง 3 คน 
แพทย์ที่เสียชีวิตแล้ว 3,503 คน ชาย 2,787 คน และ หญิง 716 คน

เปิดตัวเลข จำนวน แพทย์  จากแพทยสภา  ชีวิต "เดอะแบก" ที่แท้ทรู  หมอลาออกจากระบบเพียบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ขณะที่ ล่าสุด (6 มิ.ย.2566)  นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าว ต่อปมปัญหาขาดแคลนแพทย์ในระบบสาธารณสุข โดยระบุว่า กรณีปัญหาการขาดแคลนกำลังคน จนเกิดแฮชแท็ก #หมอลาออก #หมอขาดแคลน นั้น ไม่ใช่แค่แพทย์ที่ขาดแคลน แต่รวมถึงพยาบาล ทันตแพทย์ นักรังสีการแพทย์ และวิชาชีพอื่นๆ ที่ สาธารณสุข ยังขาดแคลน โดยจะเสนอข้อมูลที่เพิ่งจัดทำออกมา เพื่อประกอบการแถลงข่าววันนี้ 

 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน  กล่าวว่า ตอนนี้มีแพทย์ในประเทศไทย ในระบบที่ขึ้นทะเบียนกับแพทยสภา อัตรากำลัง 50,000-60,000 คน และอยู่ในสังกัด สธ. 24,600 คน คิดเป็น 48% แต่ดูแลคนในระบบหลักประกันสุขภาพ 45 ล้านคน หรือ 70% ของประชากร ซึ่งสะท้อนถึงภาระงานเฉลี่ยแพทย์ 1 คนต่อ 2,000 คนแต่มาตรฐาน 3 ต่อ 1,000 คน

และการกระจายแพทย์ในเขตสุขภาพ เขต 13 คือ กทม. และเขตสุขภาพอื่นๆ มีประชากร 3-5 ล้านคน ดังนั้นแพทย์จำนวนหลัก 100-1,000 คน ในแต่ละพื้นที่จึงดูแลแตกต่างกัน พบว่าเขตสุขภาพที่ 7-8 และ 9 และ 10 ในภาคอีสาน ส่วนสีส้มและสีแดง เป็นของเอกชนและการประกันสุขภาพส่วนตัว

รองปลัด สธ. การผลิตแพทย์ปี 2561-2570 ภาพรวมที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กำกับมหาวิทยาลัยต่างๆ จะผลิตแพทย์ให้ได้ปีละ 3,000 คน หรืออีก 10 ปีจะมีบุคลากรแพทย์เพิ่มเป็น 30,000 คน แต่ยังให้กระทรวงสาธารณสุขผลิตแพทย์เพิ่มปีละ 1 ใน 3 ของบุคลากรหรือ 10,000 คน ภาระงานของ สธ. ไม่ใช่แค่ใช้แรงงานแพทย์ แต่ได้ร่วมผลิตแพทย์ด้วย

เปิดตัวเลข จำนวน แพทย์  จากแพทยสภา  ชีวิต "เดอะแบก" ที่แท้ทรู  หมอลาออกจากระบบเพียบ

แต่พบว่าเมื่อมีการจัดสรรแล้วจะมีแพทย์ที่เข้ามาเติมใน กระทรวงสาธารณสุข ไม่ตรงตามตัวเลขที่ขอไป เพราะยังต้องจัดสรรให้กับทางกลาโหม เช่น สธ.ขอแพทย์ 2,161 คน แต่ได้ 1,960 คน หรือเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีแพทย์เพิ่มปีละ 1,800-1ม900 อัตรา

“หากดูตัวเลขย้อนหลัง 5 ปี มีการผลิตแพทย์และที่ได้รับการจัดสรรมาดังนี้ ปี 2561 ผลิตแพทย์ได้ 2,016 จัดสรร 1,994 อัตราและ 2562 ผลิตแพทย์ 2,444 คน ปี 2563 จำนวน 2,039 คน และปี 2565 จำนวน 1,850 คน และพอคนน้อย แต่ภาระงานไม่ได้น้อยลง โดยช่วง 2-3 ปีที่ไทยเผชิญโควิด-19 และแพทย์ทำงานร่วมฝ่าวิกฤตนี้มา”

 “การเรียนแพทย์ 6 ปี และปีที่ 7 เรียกแพทย์ใช้ทุนปี 1 หรือ อินเทิร์น และแพทยสภากำหนดว่าต้องให้เพิ่มทักษะอีก 1 ปีเพื่อให้มีทักษะในการเจอเคสต่างๆ ซึ่งต่างจากยุคของตัวเองที่จบ 6 ปีแล้วลุย เรียนเอ็กเทิร์น แค่ 6 ปี และประเมินจากปี 2538 ว่าควรต้องเพิ่มพูนทักษะ จึงเป็นที่มาของเอ็กเทิร์นในปีที่ 7 คือสังกัด สธ. และทำให้เด็กจบแพทย์มาอยู่ที่ สธ. ซึ่งต้องทำหน้าที่สอนด้วย และในความคาดหวังของน้องๆ ที่แพทยสภาส่งมาคือการเพิ่มพูนทักษะ แต่ของ สธ. คือทำงานเลย แต่มาผสมกันทั้งสอนและทำงานด้วย ซึ่ง สธ. ได้จัดสรรที่นั่ง โดยมีโรงพยาบาล 117 แห่ง รองรับแพทย์ แต่ในความเป็นจริงไม่ถึง ทำให้ทุกโรงพยาบาลมีปัญหาขาดแคลน
 

แจงปมภาระงานเหตุผลิตแพทย์-จัดสรรไม่ครบ
 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รองปลัด สธ. กล่าวว่า ประเด็นที่เกิดภาระงาน ตัวเลขที่จบน้อยและจัดสรรน้อย ขณะที่การรองรับบริการทางด้านสาธารณสุขทำให้เกิดเวิร์กโหลด และทำให้ต้องพึ่งกำลังแพทย์ 20,000 คน ที่มีตัวเลขอยู่รับผิดชอบ 75%

“ก่อนหน้านี้มีการประเมินพบว่าในจำนวน 117 โรงพยาบาลที่แพทย์ต้องทำงานมากกว่า 64 ชม.ต่อสัปดาห์ถึง 9 แห่ง และ มากกว่า 59 ชม.ต่อสัปดาห์ 4 แห่ง และทำงานมากกว่า 52 ชม. ต่อสัปดาห์ 11 แห่ง และ มากกว่า 50 ชม.ต่อสัปดาห์ 8 แห่ง แต่มาตรฐานโลกต้องไม่เกิน 40 ชม.ต่อสัปดาห์ ซึ่งเขามีแพทย์มากกว่า 100,000 คน ”


• แพทย์ลาออก 10 ปี 226 คน
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ส่วนตัวเลขการลาออกในช่วง 10 ปี แพทย์บรรจุปี 255-2565 จำนวน 19,355 คน ลาออกรวมกัน 226 คน ถือว่าน้อย เพราะต้องอยู่ให้ครบตามที่แพทยสภากำหนดถึงจะเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางเฉลี่ยปีละ 2.1%
ส่วนปี 2 ที่ครบคุณสมบัติแล้วที่จะเป็นแพทย์เฉพาะทาง ไปฟรีเทรนนิ่ง เช่น แพทย์มหาวิทยาลัย ปีละ 188 คน ส่วนปี 3 ลาออก 885 คน แต่ถ้ามารวมกันแล้วประมาณ 1,500 คน ซึ่งยังไม่รวมอัตราเกษียณปีละ 150-200 คน รวมลาออก 655 คน
ตัวเลขที่ออกมาเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะยังมีโควตาในมหาวิทยาลัย แต่ที่ลาออกทั้งหมดของ สธ. 655 คน ทั้งลาออก 3 ปี 455 และอัตราเกษียณ 200 คน
 

related