เคส ยิงเลเซอร์ หาเสียงบนสะพานพระราม 8 ทำได้หรือไม่ ? สรุปไทม์ไลน์เกิดอะไรขึ้น จุดเริ่มต้นเรื่องนี้ เริ่มจากไหน ใครอนุญาต อนุญาตแค่จุดไหน แล้วใครผิด
จากกรณีโลกออนไลน์แชร์สนั่น ป้ายหาเสียงพรรคการเมืองติดหราบนสะพานพระราม 8 หรือการยิงเลเซอร์หาเสียงบนสะพานพระราม 8 นั่น เรื่องนี้ กลายเป็น ดราม่าเลือกตั้ง 66 เพราะมีการยิงเลเซอร์ประชาสัมพันธ์ชื่อและเบอร์พรรครวมไทยสร้างชาติ บนสะพานพระราม 8 หรือ ป้ายหาเสียงบนสะพานพระราม 8 ทันที เพราะว่า เรื่องนี้ พรรครวมไทยสร้างชาติออกมายืนยันว่า ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์ดังกล่าว ในขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบว่า ขัดกฎหมายหรือไม่ และเป็นการกระทำของผู้ใด ซึ่งหากบุคคลที่ดำเนินการมีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรค ก็จะดำเนินการตามมาตรการทันที
โดยหากไล่เรียงตามไทม์ไลน์แล้ว เรื่องนี้ เกิดขึ้น จาก
1. นางสาว ทิพานัน ศิริชนะ ผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อ รวมไทยสร้างชาติ ได้ทำหนังสือ ขออนุญาต ใช้สถานที่บริเวณลานริมแม่น้ำฝั่งศาลา 8 เหลี่ยมและไฟฟ้า สวนหลวงพระราม 8 ตั้งแต่ 8-12 พ.ค. 66 ตั้งแต่เวลา 20.00 -02.00 น."
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
2. ฝั่ง กทม. มีหนังสือตอบกลับ โดยลงชื่อ นายสุพจน์ หล้าจำศีล ผู้อำนวยการสำนักงานปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เลขานุการศูนย์ฯ ว่า ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้ง ส.ส. กทม. สามารถให้ใช้สถานที่บริเวณ สวนหลวงพระราม 8 เขต บางพลัดได้ และให้ใช้ในเวลา การเปิด-ปิดของสวนฯ จั้งแต่ 05.00 - 21.00 น.
3. อย่างไรก็ตาม ในช่วงเช้าของวันที่ 9 พ.ค. 2566 โลกออนไลน์ได้แชร์สนั่นกับ ภาพ การยิงเลเซอร์หาเสียงบนสะพานพระราม 8 ซึ่งทาง พรรครวมไทยสร้างชาติ ออกแถลงการณ์ว่า พรรคฯ ไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการ และได้สั่งการให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยเร่งด่วน
เมื่อพรรคฯได้ทราบข้อเท็จจริง ก็ได้ตำหนิและทำหนังสือตักเตือนพร้อมทั้งสั่งการไปยัง นางสาวทิพานัน ให้หยุดดำเนินการดังกล่าวโดยทันที
4. ด้านความเคลื่อนไหวจากฝั่ง กกต. อิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ให้ความเห็นว่า กรณีนี้ทราบเรื่องแล้วและอยู่ระหว่างการตรวจสอบว่าการยิงเลเซอร์ขึ้นหาเสียง มีการขออนุญาตถูกต้องจากหน่วยงานหรือไม่ หากได้รับอนุญาต ก็สามารถทำได้ แต่เรื่องของขนาด ที่อาจจะผิดกติกา ขอดูในรายละเอียดก่อน ส่วนการใช้สถานที่ราชการ ต้องคำนึงถึงความเป็นกลาง ต้องดูว่าอนุญาตให้ทุกพรรคหรือไม่