svasdssvasds

ย้อนเลือกตั้ง 5 ครั้งหลัง คนไทยต้องเลือก ส.ส. กี่คน ต้องกาบัตรเลือกตั้งกี่ใบ

ย้อนเลือกตั้ง 5 ครั้งหลัง คนไทยต้องเลือก ส.ส. กี่คน ต้องกาบัตรเลือกตั้งกี่ใบ

ย้อนดูประวัติศาสตร์การเมือง การเลือกตั้งของไทย 5 ครั้งหลังสุด ก่อนเลือกตั้ง 2566 มาดูกันว่า การเลือกตั้งทั่วไป 5 ครั้งหลังสุดในประเทศไทย ต้องเลือก เลือก ส.ส. กี่คน ? ประชาชน ต้องกาบัตรเลือกตั้งกี่ใบ ?

หัวจะปวด เปลี่ยนบ่อย เปลี่ยนตลอดเวลา!  ย้อนดูประวัติศาสตร์การเมือง การเลือกตั้งของไทย 5 ครั้งหลังสุด ก่อนเลือกตั้ง 2566  

มาดูกันว่า การเลือกตั้งทั่วไป 5 ครั้งหลังสุดในประเทศไทย ต้องเลือก เลือก ส.ส. กี่คน  ? ประชาชน ต้องกาบัตรเลือกตั้งกี่ใบ ? ทำไมมันถึงเปลี่ยนไป ไม่นิ่งแบบนี้ 

เลือกตั้ง 2549 
ส.ส. แบบแบ่งเขต : 400 คน
ส.ส. บัญชีรายชื่อ : 100 คน
บัตรเลือกตั้ง : 2  ใบ 
ผู้ใช้สิทธิ 64.77 %  การเลือกตั้งเป็นโมฆะ    

 

การเลือกตั้ง 2549 
วิธีการเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต : แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 400 เขต แต่ละเขตมี ส.ส. 1 คน 
ประชาชน 1 คน มีสิทธิออกเสียงได้ 1 เสียง เลือก ส.ส.1 คน เป็นตัวแทนของเขตเลือกตั้งของตัวเอง ผู้สมัครที่ได้คะแนนมากที่สุดในเขตนั้นเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งเขตละ 1 คน
 
วิธีการเลือก ส.ส. บัญชีรายชื่อ : ทั้งประเทศเป็นเขตเลือกตั้งเดียว ประชาชน 1 คนมีสิทธิออกเสียงเลือกบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้นได้ 1 พรรค แต่ละพรรคส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อได้ไม่เกิน 100 คน
 
การคำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อ : เมื่อเลือกตั้งเสร็จแล้ว ให้นำคะแนนจากระบบบัญชีรายชื่อที่ทุกพรรคการเมืองได้รับทั้งประเทศมารวมกัน แล้วคำนวณเพื่อแบ่งจำนวนผู้ที่จะได้รับเลือกของแต่ละพรรคการเมืองเป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กับคะแนนรวมข้างต้น ผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อจะได้รับเลือกตามเกณฑ์คะแนนที่คำนวณได้ เรียงตามลำดับหมายเลขในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้น 
 
คะแนนขั้นต่ำของพรรคที่จะได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ : ร้อยละ 5 ของคะแนนรวมทั้งประเทศ 

การเลือกนายกรัฐมนตรี : ใช้เสียงครึ่งหนึ่งของ ส.ส. คือ 251 เสียง จาก 500 เสียง
 
คุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี : ต้องเป็น ส.ส.

อย่างไรก็ตาม หลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้น ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549

ย้อนเลือกตั้ง 5 ครั้งหลัง คนไทยต้องเลือก ส.ส. กี่คน ต้องกาบัตรเลือกตั้งกี่ใบ

เลือกตั้ง 2550   
ส.ส. แบบแบ่งเขต : 400 คน
ส.ส. บัญชีรายชื่อ : 80 คน
บัตรเลือกตั้ง : 2  ใบ 
ผู้ใช้สิทธิ 85.38 %          

วิธีการเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต : แบ่งเขตเลือกตั้งตามเขตจังหวัด จังหวัดที่มี ส.ส. 1-3 คน ให้มีเขตเลือกตั้งเดียว จังหวัดที่มี ส.ส. มากกว่า 3 คน ให้แบ่งเป็นหลายเขตเลือกตั้ง แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวน ส.ส. ไม่เท่ากัน โดยไม่เกินเขตละ 3 คน 
 
ประชาชน 1 คนมีสิทธิออกเสียงได้เท่ากับจำนวน ส.ส.ในเขตเลือกตั้งนั้น ผู้ที่เป็น ส.ส.คือ ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดตามลำดับในเขตนั้น ตามจำนวน ส.ส.ที่เขตนั้นมีได้
 
วิธีการเลือก ส.ส. บัญชีรายชื่อ : ใช้ชื่อเรียกว่า “ระบบสัดส่วน” โดยแบ่งพื้นที่ประเทศไทยออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัด แต่ละจังหวัดมี ส.ส. จากระบบสัดส่วนได้ 10 คน ให้พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครระบบสัดส่วนเป็นบัญชีรายชื่อได้ 10 คน ต่อหนึ่งกลุ่มจังหวัด ประชาชน 1 คนมีสิทธิออกเสียง 1 เสียงเพื่อเลือกบัญชีรายชื่อของพรรคใดพรรคหนึ่งในกลุ่มจังหวัดของตัวเอง
 
การคำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อ : เมื่อเลือกตั้งเสร็จแล้ว ให้นำคะแนนที่ทุกพรรคการเมืองได้รับในเขตเลือกตั้งนั้นมารวมกัน แล้วคำนวณเพื่อแบ่งจำนวนผู้ที่จะได้รับเลือกของแต่ละพรรคการเมืองเป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กับคะแนนรวมข้างต้น ผู้สมัครระบบสัดส่วนจะได้รับเลือกตามเกณฑ์คะแนนที่คำนวณได้ เรียงตามลำดับหมายเลขในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้น 
 
คะแนนขั้นต่ำของพรรคที่จะได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ : ไม่มีกำหนด

การเลือกนายกรัฐมนตรี : ใช้เสียงครึ่งหนึ่งของ ส.ส. คือ 241 เสียง จาก 480 เสียง
 
คุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี : ต้องเป็น ส.ส.

ย้อนเลือกตั้ง 5 ครั้งหลัง คนไทยต้องเลือก ส.ส. กี่คน ต้องกาบัตรเลือกตั้งกี่ใบ

ย้อนเลือกตั้ง 5 ครั้งหลัง คนไทยต้องเลือก ส.ส. กี่คน ต้องกาบัตรเลือกตั้งกี่ใบ

ย้อนเลือกตั้ง 5 ครั้งหลัง คนไทยต้องเลือก ส.ส. กี่คน ต้องกาบัตรเลือกตั้งกี่ใบ

เลือกตั้ง 2554   
ส.ส. แบบแบ่งเขต : 375 คน
ส.ส. บัญชีรายชื่อ : 125 คน
บัตรเลือกตั้ง : 2  ใบ 
ผู้ใช้สิทธิ 75.03 %  


วิธีการเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต : แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 375 เขต แต่ละเขตมี ส.ส. 1 คน 
ประชาชน 1 คน มีสิทธิออกเสียงได้ 1 เสียง เลือก ส.ส. 1 คนเป็นตัวแทนของเขตเลือกตั้งของตัวเอง ผู้สมัครที่ได้คะแนนมากที่สุดในเขตนั้นเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งเขตละ 1 คน
 
วิธีการเลือก ส.ส. บัญชีรายชื่อ : ทั้งประเทศเป็นเขตเลือกตั้งเดียว ประชาชน 1 คนมีสิทธิออกเสียงเลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่จัดทำขึ้นได้ 1 พรรค แต่ละพรรคส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อได้ไม่เกิน 125 คน
 
การคำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อ : เมื่อเลือกตั้งเสร็จแล้ว ให้นำคะแนนจากระบบบัญชีรายชื่อที่ทุกพรรคการเมืองได้รับทั้งประเทศมารวมกัน แล้วคำนวณเพื่อแบ่งจำนวนผู้ที่จะได้รับเลือกของแต่ละพรรคการเมืองเป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กับคะแนนรวมข้างต้น ผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อจะได้รับเลือกตามเกณฑ์คะแนนที่คำนวณได้ เรียงตามลำดับหมายเลขในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้น 
 
คะแนนขั้นต่ำของพรรคที่จะได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ : ไม่มีกำหนด

การเลือกนายกรัฐมนตรี : ใช้เสียงครึ่งหนึ่งของ ส.ส. คือ 241 เสียง จาก 480 เสียง
 
คุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี : ต้องเป็น ส.ส.

ย้อนเลือกตั้ง 5 ครั้งหลัง คนไทยต้องเลือก ส.ส. กี่คน ต้องกาบัตรเลือกตั้งกี่ใบ

เลือกตั้ง  2557  

ส.ส. แบบแบ่งเขต : 375 คน
ส.ส. บัญชีรายชื่อ : 125 คน
บัตรเลือกตั้ง : 2  ใบ 
ผู้ใช้สิทธิ 47.7 %  การเลือกตั้งเป็นโมฆะ 

วิธีการเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต : แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 375 เขต แต่ละเขตมี ส.ส. 1 คน 
ประชาชน 1 คน มีสิทธิออกเสียงได้ 1 เสียง เลือก ส.ส. 1 คนเป็นตัวแทนของเขตเลือกตั้งของตัวเอง ผู้สมัครที่ได้คะแนนมากที่สุดในเขตนั้นเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งเขตละ 1 คน
 
วิธีการเลือก ส.ส. บัญชีรายชื่อ : ทั้งประเทศเป็นเขตเลือกตั้งเดียว ประชาชน 1 คนมีสิทธิออกเสียงเลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่จัดทำขึ้นได้ 1 พรรค แต่ละพรรคส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อได้ไม่เกิน 125 คน
 
การคำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อ : เมื่อเลือกตั้งเสร็จแล้ว ให้นำคะแนนจากระบบบัญชีรายชื่อที่ทุกพรรคการเมืองได้รับทั้งประเทศมารวมกัน แล้วคำนวณเพื่อแบ่งจำนวนผู้ที่จะได้รับเลือกของแต่ละพรรคการเมืองเป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กับคะแนนรวมข้างต้น ผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อจะได้รับเลือกตามเกณฑ์คะแนนที่คำนวณได้ เรียงตามลำดับหมายเลขในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้น 
 
คะแนนขั้นต่ำของพรรคที่จะได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ : ไม่มีกำหนด

การเลือกนายกรัฐมนตรี : ใช้เสียงครึ่งหนึ่งของ ส.ส. คือ 241 เสียง จาก 480 เสียง
 
คุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี : ต้องเป็น ส.ส.


เลือกตั้ง 2562  

ส.ส. แบบแบ่งเขต : 350 คน
ส.ส. บัญชีรายชื่อ : 150 คน
บัตรเลือกตั้ง : 1 ใบ
ผู้ใช้สิทธิ 74.69 %  

วิธีการเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต : แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 350 เขต แต่ละเขตมี ส.ส. 1 คน 
ประชาชน 1 คน มีสิทธิออกเสียงได้ 1 เสียง เลือก ส.ส. 1 คนเป็นตัวแทนของเขตเลือกตั้งของตัวเอง ผู้สมัครที่ได้คะแนนมากที่สุดในเขตนั้นเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งเขตละ 1 คน
 
วิธีการเลือก ส.ส. บัญชีรายชื่อ : ประชาชนไม่ได้มีโอกาสเลือก ส.ส. จากระบบบัญชีรายชื่อ แต่จะนำคะแนนของ ส.ส. จากระบบแบ่งเขตมาใช้เป็นฐานในการคำนวน 
 
การคำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อ : เมื่อเลือกตั้งเสร็จแล้ว จะนำคะแนนจากระบบแบ่งเขตมาคำนวนตามสูตรคณิตศาสตร์ ดังนี้ 
 (1) นำจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งประเทศ ไม่รวมบัตรเสียเป็นตัวตั้ง หารด้วยจำนวน ส.ส.ทั้งหมด คือ 500 จะได้ผลลัพธ์เป็นตัวเลขชุดหนึ่งที่อนุมานว่า เป็นค่าเฉลี่ยของจำนวนประชากรต่อ ส.ส. 1 ที่นั่ง
(2) เมื่อจะหาจำนวน ส.ส. ของพรรคการเมืองใด ก็นำคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองนั้นได้จากการเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตมาเป็นตัวตั้ง แล้วนำตัวเลขที่ได้จากข้อ (1) ไปหาร ผลลัพธ์จะเป็นจำนวน ส.ส. ที่พรรคการเมืองนั้นควรจะมีได้ในการเลือกตั้งครั้งนี้
(3) นำจำนวน ส.ส. ที่พรรคการเมืองนั้นควรจะมีได้ จากข้อ (2) มาเป็นตัวตั้ง ลบด้วยจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตทั้งหมดที่พรรคการเมืองนั้นได้มาแล้ว ผลลัพธ์ คือจำนวน ส.ส. จากระบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะได้รับ
 
คะแนนขั้นต่ำของพรรคที่จะได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ : ไม่มีกำหนด

คุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี : ไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส. ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง ไม่จำเป็นต้องลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ต้องอยู่ในบัญชีว่าที่นายกฯ ที่พรรคการเมืองเสนอไว้ก่อนเลือกตั้ง เว้นแต่ในระหว่าง 5 ปีแรก มาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้สามารถเลือกจากคนที่ไม่อยู่ในบัญชีว่าที่นายกฯ ของพรรคการเมืองได้

related