เปิดสูตรคำนวณ จำนวน ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ ในการเลือกตั้ง 2566 ส.ส. บัญชีรายชื่อ 100 คนมาจากไหน ? สูตรคำนวณแบบหาร 100 เข้าใจง่าย , เฉลยการคิดคำนวณ ทีละขั้น ตามทันแน่นอน
• ส.ส.บัญชีรายชื่อมีที่มา อย่างไร ?
กกต. อธิบายที่มา ที่ไป วิธีการคำนวณส.ส. แบบบัญชีรายชื่ออย่างละเอียด .ในการเลือกตั้ง 2566 เข้าใจง่าย อธิบาย ที่มาของหนึ่งคะแนนเสียง จะทำให้พรรคที่ชอบได้เข้าสภาได้อย่างไร เมื่อเราใช้สิทธิเลือกตั้ง เท่ากับทำหน้าที่ ส่งผู้แทนของเราเข้าไปบริหารประเทศ
เริ่มต้น คำนวณ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ หรือ บัญชีรายชื่อ
1 . ผลคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. บัญชีรายชื่อทั้งประเทศ หาร 100 = คะแนนเฉลี่ย ส.ส. 1 คน
2 .ผลคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. บัญชีรายชื่อแต่ละพรรค หาร คะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส. 1 คน = จำนวน ส.ส. ของพรรคนั้น (จำนวนเต็ม)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• ยกตัวอย่าง การคำนวณ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ แบบให้เห็นภาพ
คะแนนรวม ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ = 40 ล้านเสียง
40,000,000 หาร 100 = 400,000 (คะแนนเฉลี่ยต่อ 1 คน)
จากนั้น
ผลคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์แต่ละพรรค หาร 400,000 = จำนวน ส.ส. ของพรรคนั้น
• ยกตัวอย่าง การหาสูตร คำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ
พรรค A ได้ คะแนน ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ 16,300,000 คะแนน
พรรค B ได้ คะแนน ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ 15,000,000 คะแนน
พรรค C ได้ คะแนน ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ 8,700,000 คะแนน
พรรค A 16,300,000 หาร 400,000 = 40.7500 ได้ ส.ส. 40 คน
พรรค B 15,000,000 หาร 400,000 = 37.5000 ได้ ส.ส. 37 คน
พรรค C 8,700,000 หาร 400,000 = 21.7500 ได้ ส.ส. 21 คน
รวมแล้วได้ ส.ส. 98 คน
หลังการคำนวณ ถ้ายังได้ ส.ส. ไม่ครบ 100 คน ให้เรียงเศษคะแนนของทุกพรรค โดยใช้ทศนิยม 4 ตำแหน่ง
พรรคที่ได้ทศนิยมมากที่สุด ได้เพิ่ม 1 คน เรียงอันดับจนครบ 100 คน
ดังนั้น พรรค A และ C ที่มีค่าทศนิยมมากสุด จะได้รับ ส.ส. เพิ่ม พรรคละ 1 คน และ ประเทศไทย ก็จะมี ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ หรือบัญชีรายชื่อ ครบ 100 คน
วิธีการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อสำหรับการเลือกตั้ง 2566 จะมีความแตกต่างกับระบบการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 ตรงที่รัฐธรรมนูญ 2540 ได้กำหนด “คะแนนขั้นต่ำของพรรคที่จะได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ” ไว้ที่ร้อยละ 5 ของคะแนนรวมทั้งประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปรากฏการณ์ “ส.ส.ปัดเศษ” หรือ ส.ส.จากพรรคที่ได้คะแนนน้อยกว่า “คะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส.บัญชีรายชื่อหนึ่งคน”
ทั้งนี้การคำนวณสัดส่วน ส.ส.บัญชีรายชื่อตามกฎหมายเลือกตั้งปี 2566 ไม่ใช่เรื่องใหม่ของประวัติศาสตร์การเมืองไทย เนื่องจากเป็นสูตรคำนวณเดียวกับการเลือกตั้งปี 2554 ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) โดยกฎหมายเลือกตั้งในขณะนั้น ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนเท่ากับกฎหมายฉบับปัจจุบัน โดยระบุเพียงว่า
“ในกรณีที่จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองได้รับรวมกันทุกพรรคการเมืองมีจำนวนไม่ครบหนึ่งร้อยยี่สิบห้าคน ให้พรรคการเมืองที่มีผลลัพธ์ตาม (๓) เป็นเศษที่มีจำนวนมากที่สุด…” แต่ในทางปฏิบัติ กกต. ก็คำนวณผลการเลือกตั้งโดยนับรวมพรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงน้อยกว่า “คะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส.บัญชีรายชื่อหนึ่งคน” เข้าด้วย ทำให้ผลการเลือกตั้งปี 2554 มี “ส.ส.ปัดเศษ” จำนวน 4 คน
• ส.ส.ปัดเศษมีลุ้นเข้าสภา แต่ความสำคัญอาจน้อยลงในการจัดตั้งรัฐบาล
แม้ว่าในปี 2566 ปรากฏการณ์ “ส.ส.ปัดเศษ” (ในที่นี้หมายถึง ส.ส.จากพรรคที่ได้คะแนนเสียงน้อยกว่าคะแนนเฉลี่ยต่อส.ส.บัญชีรายชื่อหนึ่งคน) ยังสามารถเกิดขึ้นได้ แต่มีแนวโน้มว่าบรรดา ส.ส.ปัดเศษ เหล่านี้ จะมีความสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลน้อยลง เมื่อเทียบกับการเลือกตั้งปี 2562 เนื่องจากส.ส.ปัดเศษแม้จะเกิดขึ้นได้ แต่ก็เกิดขึ้นได้ยากกว่าปี 2562 มาก เห็นได้จากตัวอย่างการคำนวณข้างต้น จะมี ส.ส.ปัดเศษเพียง 3 คน ซึ่งน้อยกว่าปี 2562 ที่มี ส.ส.ปัดเศษทั้งหมด 11 คน
นอกจากนี้ คะแนนเสียงที่พรรคการเมืองนั้นได้รับจะต้องแตะหลักแสน ต่างกับปี 2562 ที่มีพรรคการเมืองซึ่งได้รับเพียง 35,099 เสียง ก็สามารถมี ส.ส.บัญชีรายชื่อแล้ว เมื่อส.ส.ปัดเศษเกิดได้ยากขึ้นและมีจำนวนน้อยลง โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์แบบปี 2562 ที่เหล่า ส.ส.ปัดเศษ 11 คน มีอำนาจต่อรองเพื่อเข้าร่วมกับพรรครัฐบาล คงเกิดได้ยากขึ้น